Language Thailand Second

ทฤษฎีระบบ – SlideShare 

Dictionary.com

Merriam-Webster Online: Dictionary and Thesaurus

10000 general knowledge questions and answers – WordPress.com

                 ขอขมาพ่อแม่        

ธูปเทียนพานดอกไม้         ยกขึ้นไหว้เพื่อขอขมา     ซ้ำ

กรรมไดลูกเคยทำ            เลวระยำหยาบต่ำช้า       ซ้ำ

กรรมนั้นกายาวายา          เจตนาทำผิดไป             ซ้ำ

ต่อไปไม่ทำอีกแล้ว          ตั้งใจแน่วต่อพระศาสนา  ซ้ำ

แทนคุณบิดามารดา         ลูกขอลาบวชแทนคุณ     ซ้ำ

ลาแล้วลูกขอลา               สู่ร่มพ้ากาสาวะพัสตร์     ซ้ำ

ขอพรคุณพ่อแม่              โปรดได้แผ่ใจการุณ      ซ้ำ

อบรมบ่มนิสัย                  ฝึกกายใจให้ดีงาม       ซ้ำ

ทำตามพระพุทธพระธรรม  พระสงฆ์นำให้ทำดี       ซ้ำ

                 ตั้งจิตอุทิศผลไห้ดี

ข้าพเจ้าตั้งจิตอุทิศผล                       บุญกุศบนี้ไปให้ไพศาล        

ถึงมารดาบิดาและอาจารย์               บรรพบุรุษที่เราเคารพทุกท่าน                 

ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน        มีส่วนได้ในกุศลผลบุญของฉัน

ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ         ขอให้ท่านได้กุศลผลบุญนี้เทอญ ฯ

โย จ วสฺสสตํ ชีเว           ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต     

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย       ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน

ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวดีกว่า.

(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.

คนที่มีปัญญาทราม หรือคนโง่เขลา และมีจิตใจไม่คงที่ ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ นั้น มักจะทำอะไรไม่สำเร็จ คนเช่นนี้แม้จะทำงานเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่สามารถที่จะรับผิดชอบให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้ เพราะความเขลาเป็นเหตุนั่นเอง แม้เขาจะเกิดมาและมีอายุยืนยาวเป็นร้อยปีก็คงเติบโตแต่ร่างกายเท่านั้น ส่วนสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิด หาได้เจริญเติบโตไปตามรูปร่างไม่

ฉะนั้น ชีวิตของเขาจึงยากที่จะประสบความเจริญ ไม่ว่าทางคดีโลก หรือคดีธรรม แม้จะมีอายุยืนนานสักเพียงใด ก็คงใช้ชีวิตไปในทางเสื่อม เพราะไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษแล้ว ก็อาจก่อกรรมทำชั่วให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ชีวิตจึงเป็นโมฆะไร้คุณค่า ส่วนคนมีปัญญา หรือคนฉลาดนั้นให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นตลอดเวลา ฉะนั้น ชีวิตของคนใช้ปัญญาจึงเต็มไปด้วยประโยชน์ มีคุณค่าเป็นที่ต้องการของสังคมทุกแห่งหน

ด้วยเหตุนี้ ผู้หวังความเจริญก้าวหน้าและต้องการให้ตนเองมีคุณค่าพึงแสวงหาปัญญาด้วยการหมั่นศึกษาเล่าเรียนโดยเคารพเถิด พึงใช้ปัญญานั้นๆ ไปในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นตลอดไป หากทำได้อย่างนี้ชีวิตก็จะมีคุณค่าและเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน.ฯฯฯ

senghak​៧៧

16 comments on “Language Thailand Second

  1. วันนี้นำเรื่องเล่ามาฝากค่ะ เป็นเรื่องของคำพูดที่ช่วยเยียวยาจิตใจ คำพูดที่ใครคนหนึ่งอาจมองธรรมดาแต่กับใครบางคนเขารู้สึกว่ามันเป็นประโยคทอง ประโยคที่โดนใจ ช่วยให้ความทุกข์ใจที่แบกรับมานานหายไปเลย ผู้ป่วยคนหนึ่งเธอรู้สึกขัดแย้งกับลูกสาวมาตลอด เป็นปมความขัดแย้งที่สร้างทุกข์ใจให้เป็นอย่างมาก ผลก็คือทั้งเธอเองและลูกสาวก็ไม่มีความสุข ต่างก็เคืองใจกัน เหมือนมีม่านบางๆกั้นความสัมพันธ์แม่ลูกไว้ แม่ผิดหวังในตัวลูก ลูกก็คับข้องใจ ทำดีกับแม่มากมายทำไมแม่มองไม่เห็น เมื่อได้พูดคุยกับแพทย์เจ้าของไข้ในวันหนึ่ง แพทย์ได้พูดประโยคที่ว่า “ช่วงหนึ่งลูกสาวเองเขาไม่ได้อยู่กับเรา การเลี้ยงดูตอนนั้นอาจมีส่วนให้เขาเป็นแบบนี้” เมื่อเธอได้ฟังเธอบอกว่ามันโล่ง ใช่สิ เธอเลี้ยงดูมาดี ลูกไปเจอสิ่งแวดล้อมอีกแบบก็เป็นไปได้ที่ลูกจะแสดงออกอย่างนี้ได้ เธอเริ่มเข้าใจลูกมากขึ้น บอกว่าหมอเหมือนพระมาโปรด ไม่นานเธอก็ได้กลับบ้าน อีกกรณีเป็นเรื่องของลูกที่มาอยู่ต่างจังหวัดเพื่อเรียนหนังสือ เธอรู้สึกขัดแย้งในใจว่าทำไมแม่ส่งลูกสาวมาอยู่ไกลแต่ลูกชายกลับให้เรียนใกล้บ้าน มาอยู่ไกลทำให้คิดถึงบ้าน เมื่อแพทย์พูดประโยคที่ว่า “อันที่จริงการที่ให้ลูกมาอยู่ไกลแบบนี้แม่ก็คงคิดถึงลูกเหมือนกัน” ประโยคนี้มันทำให้เธอเข้าใจแม่ รู้สึกว่าแม่เสียสละ เลิกโทษแม่ รู้สึกใจเป็นสุข จะเห็นว่าปัญหาต่างๆมองได้หลายมุม มีมุมมองดีๆก็สามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้ บางทีตัวเราเองอาจคิดไม่ออกแต่เมื่อเปิดใจรับฟังมุมมองการคิดจากคนอื่นก็อาจช่วยให้ได้ฉุกคิด ไตร่ตรอง จริงอย่างที่เขาว่า ใช่จริงๆ เก็บเรื่องนี้มาเป็นทุกข์ตั้งนาน ถึงคราวปลดปล่อยเสียที ต้องขอบคุณประโยคทองที่ได้ยินครั้งนี้ ในชีวิตจริงเราอาจเป็นทั้งผู้ให้และผู้ได้รับประโยคทอง เพียงเราจริงใจ ใส่ใจ เปิดใจ ให้แง่คิด ก็ช่วยเติมใจให้กันและกันได้ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1. สภาพทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างจีนและอินเดีย ปัจจุบันได้แก่ ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก ดินแดนเหล่านี้ในอดีตเรียกกันหลายอย่าง เช่น เอเชีย-ดินแดนมรสุม ที่เรียกเช่นนี้เนื่องมาจากมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุม ซึ่งมีความสำคัญต่อดินแดนบริเวณนี้ คำว่า“เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เพิ่งเริ่มใช้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South – East Asia Command) ขึ้นในค.ศ.1943 เมื่อทำการสงครามกับญี่ปุ่น การเรียกชื่อเช่นนี้เพื่อความเด่นชัดทางด้านภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดเขตการปฏิบัติการของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร โดยหมายความถึง ภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยไม่รวมถึงฟิลิปปินส์ จนในทศวรรษ 1960 จึงรวมฟิลิปปินส์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค และในค.ศ.1984 เมื่อบรูไนได้รับเอกราชก็เข้าร่วม รวมทั้งติมอร์ตะวันออกในค.ศ.2002 สภาพภูมิศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 28 องศาเหนือ ถึง 11 องศาใต้ และลองจิจูดที่ 92 องศา ถึง 141 องศาตะวันออก มีพื้นที่ 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 9% ของทวีปเอเชีย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นแผ่นดิน และส่วนภาคพื้นน้ำคือหมู่เกาะต่างๆสภาพภูมิอากาศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนเขตลมมรสุม แต่เนื่องจากความกว้างใหญ่ทางภูมิศาสตร์ จึงมิได้มีอากาศแบบเดียวกันทั้งภูมิภาค ลักษณะของฝนเกิดขึ้นจากมรสุมที่พัดมาจากทะเล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตที่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ก็มิได้อุดมสมบูรณ์ทุกเขต ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละเขตเป็นพื้นที่ราบ มีแม่น้ำหรือไม่ บริเวณที่อุดมสมบูรณ์จะมีเฉพาะบริเวณแม่น้ำแดง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำอิระวดี ส่วนแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง น้ำไหลเชี่ยว จึงไม่เหมาะกับการเพาะปลูกมากนัก ทรัพยากรและการประกอบอาชีพ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก เชื่อกันว่าการทำนาดำเป็นเทคนิควิทยาเฉพาะที่เกิดขึ้นในดินแดนนี้ก่อน แล้วแผ่ขยายไปยังดินแดนอื่น พืชเฉพาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ กล้วย ส้ม มะนาว มะพร้าว เป็นต้น พืชที่มิได้เป็นอาหารแต่มีความสำคัญต่อชีวิตคนในภูมิภาคนี้คือ ไผ่ (แม้ว่าหน่อจะรับประทานได้) นิยมนำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างที่อยู่อาศัย จนเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างชาติว่า ประชาชนแถบนี้เป็นพวกมีวัฒนธรรมไผ่ ส่วนบริเวณภาคใต้พวกคาบสมุทรและหมู่เกาะมีปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เป็นต้น ตอนหลังเมื่อมีการเข้ามาของชาติตะวันตกจึงมีการปลูกยางพาราและทำเหมืองแร่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอินโดนีเซียเป็นแหล่งจูงใจให้เกิดสินค้าระดับโลกมาแล้วตั้งแต่อดีต เพราะผลิตผลพื้นเมืองคือ เครื่องเทศ ทำให้หมู่เกาะนี้ได้ชื่อว่าเป็นหมู่เกาะเครื่องเทศ เครื่องเทศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเก็บอาหารและเนื้อมิให้เน่าเสียได้ง่าย และใช้ในการดัดแปลงปรุงรสหรือผสมในยาบางชนิด สุมาตรามีชื่อเสียงในเรื่องพริกไทยและกำยาน แต่หมู่เกาะเครื่องเทศจริงๆ คือ เกาะอัมบอง และเกาะบันดา ตลอดทางใต้ในหมู่เกาะโมลุกกะ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลูกจันทน์และกานพลู ซึ่งใช้เป็นเครื่องเทศ ถนอมอาหาร ทำน้ำหอมและเป็นตัวยา ในอินโดนีเซียมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ ช้าง ลิงอุลังอุตัง ควายป่า และแรด พ่อค้ายินดีซื้อนอแรดในราคาสูง เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติเป็นยาและเครื่องราง การค้าเป็นสิ่งที่มีมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นเวลานาน มีทั้งการค้าภายในประเทศ การค้าระหว่างประเทศที่ค้าระหว่างกันในภูมิภาค และค้ากับพ่อค้าต่างชาติ เช่น ชาวจีน ชาวอินเดีย ชาวตะวันออกกลาง(อาหรับ เปอร์เซีย) และชาวยุโรป การค้าที่เด่นในสมัยโบราณคือการค้าทางทะเลกับชาวต่างชาติในสมัยที่ใช้เรือใบต้องอาศัยลมมรสุม(เดือนเมษายน-กันยายน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และ เดือนตุลาคม-มีนาคม คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) ควบคุมการเดินเรือทะเล ผู้ปกครองชาวพื้นเมืองมักร่วมมืออย่างแข็งขันในการทำการค้าทางทะเล เพราะจะได้รับรายได้จากภาษีศุลกากร ภาษีท่าเรือ บรรณาการ และการแต่งกองโจรสลัดไปโจมตีท่าเรือที่เป็นคู่แข่ง เชื้อสายประชากรและภาษาที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือ พวกที่มีเชื้อสายออสตราลอยด์(Australoids) ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแหลมมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย นิวกีนี จนถึงทวีปออสเตรเลีย อีกพวกคือ เมลานีลอยด์(Melaneloids) อยู่บริเวณหมู่เกาะตะวันออก ทั้งสองพวกเป็นกลุ่มชนที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ชนกลุ่มใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพวกที่อพยพเข้ามาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์มากที่สุด อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียโดยเฉพาะบริเวณประเทศจีนและทิเบต เข้าสู่บริเวณที่ราบลุ่มของภูมิภาคคือ ลุ่มแม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในภูเขาและที่ราบสูง เช่น ชาวเขาเผ่าต่างๆ บางพวกอพยพลงมาทางใต้เข้าสู่บริเวณคอคอดกระจนถึงแหลมมลายูและบริเวณหมู่เกาะ บ้างตั้งแหล่งอาศัยอยู่ถาวร บ้างอพยพย้อนกลับขึ้นบนพื้นแผ่นดินใหญ่อีก ภาษาที่ใช้ในภูมิภาคนี้ มี 3 ตระกูลภาษา คือ 1. ภาษามาลาโย-โพลีนีเชียน(Malayo-Polynesian)ใช้พูดในแหลมมลายู และบริเวณหมู่เกาะ เช่น หมู่เกาะอินโดนีเซียและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ 2. ภาษาออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic) ใช้พูดกันในผืนแผ่นดินใหญ่ เช่น ภาษาของชาวมอญ เขมร และเวียดนาม 3. ภาษาทิเบโต-ไชนีส(Tibeto-Chinese) ใช้พูดกันในบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ เช่น ภาษาพม่าและภาษาไทย ความสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำคัญทางภูมิศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่และพื้นน้ำ ส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขา 3 เทือก คือ เทือกเขาอาระกัน เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาแอนนาไมท์หรืออันนัม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแดง เป็นเส้นทางการคมนาคมการค้า และการดำรงชีวิต บริเวณเทือกเขายังมีป่าไม้และแร่ธาตุมาก รวมทั้งเป็นพรมแดนธรรมชาติ ในส่วนพื้นน้ำ มีช่องแคบหลายแห่งที่เป็นเส้นทางสำคัญในการเดินเรือ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก ความสำคัญทางการเมือง ในอดีตดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญโดยเฉพาะช่องแคบมะละกา เป็นเส้นทางการค้าทางทะเลที่เรือชาติต่างๆต้องแล่นผ่านและแวะจอดที่เมืองมะละกา ซึ่งเป็นเมืองท่าริมฝั่งของเส้นทางไปมาค้าขายระหว่างจีนและอินเดีย ผู้ใดมีอำนาจเหนือเมืองมะละกา จะสามารถแผ่ขยายอิทธิพลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจจนเข้าครอบงำบริเวณรัฐต่างๆในหมู่เกาะ เช่น ประเทศจีนสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1408-1644)เมื่อค.ศ.1403 กองเรือจีนเดินทางจากจีนมามะละกาและแสดงความมีอำนาจของจีนเหนือช่องแคบมะละกาในช่วงค.ศ.1408-1431 จีนได้ยกทัพเรือมาถึง 7 ครั้ง เพื่อบังคับให้รัฐต่างๆ แถบนี้ยอมรับอำนาจของจีน สมัยที่ชาวตะวันตกเข้ามายังดินแดนนี้ ดินแดนนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการแข่งขันและแย่งชิง แต่ละประเทศต่างมีจุดมุ่งหมายในการเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โปรตุเกส ฮอลันดา ต่างมีอาณานิคมในภูมิภาคนี้ และเมื่อญี่ปุ่นพัฒนาตนเองเป็นประเทศมหาอำนาจก็เข้ายึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และเข้าช่วงชิงอำนาจกันระหว่างโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ จนเกิดเป็นสงครามอินโดจีนนานนับสิบปี ความสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งอุดมด้านทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากเป็นเขตลมมรสุมและมีแม่น้ำที่สำคัญหลายสายเหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีพืชพรรณธรรมชาติเขตร้อนชื้นมากมาย มีผลไม้หลากหลายตลอดทั้งปี เป็นแหล่งแร่ธาตุ มีเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่ช่วงชิงกันในหมู่ประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นแหล่งพืชผลเมืองร้อนที่สำคัญ โดยเฉพาะข้าวเจ้าเป็นสินค้าออกชั้นนำของโลกจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแดง แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาระวินรวมทั้งบริเวณรอบทะเลสาบเขมร ความสำคัญทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของโลกแห่งหนึ่ง เริ่มตั้งแต่สมัยหินแล้วพัฒนาความเจริญและวัฒนธรรมของตนให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ เช่น วัฒนธรรมดองซอน ทางด้านการเกษตร มีพัฒนาการการทำนาแบบนาดำเป็นที่แรกของโลก ในบริเวณบ้านเชียง เป็นแหล่งกำเนิดการปลูกข้าวเมื่อ 5,600 ปีมาแล้ว มีการทำนาระบบกักเก็บน้ำ มีระบบชลประทานที่ก้าวหน้า รู้จักใช้วัวควายไถนาและมีความชำนาญด้านการเดินเรือ 2. ความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของรัฐต่างๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยเป็นที่ตั้งของรัฐต่างๆ ที่กำเนิดขึ้นมา โดยมีวิธีการก่อตั้งมีความเจริญรุ่งเรืองตามแบบฉบับของตน เช่น รัฐฟูนัน อาณาจักรของชาวกัมพูชา รัฐจามปา รัฐเวียดนามโบราณ รัฐทวารวดี รัฐพยู รัญพุกาม รัฐมะทะรัม รัฐศรีวิชัย รัฐมัชปาหิต รัฐมะละกา และบารังไกส์ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ความเจริฐรุ่งเรืองต่อเนื่องกันมา จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 14 จึงเสื่อมและสิ้นสุดลง หลังจากนั้นได้เกิดอาณาจักรใหม่ขึ้นแทนที่โดยพัฒนามาจากรัฐในอดีต 2.1 ฟูนัน(Funan) ฟูนันเป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนันรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในดินแดนที่ประชาชนดำรงชีวิตด้วยการเกษตร โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนันยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายกับต่างประเทศ จึงมีรายได้จากการค้าและการเดินเรือ เรื่องราวของอาณาจักรฟูนัน จากบันทึกของจีนปรากฎว่า ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ของชุมชนที่เป็นระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบบกษัตริย์ มีเมืองต่างๆมาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีการติดต่อต่างประเทศ ทั้งในเอเชียและโลกตะวันตก ชาวพื้นเมืองมีชนชั้นสูงเป็นพวกมาลาโยโพนีเซียน ชนชั้นล่างเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซีย ฟูนันมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คนเป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้านจากนั้นพัฒนาขึ้นมาจนกลายเป็นรัฐ สาเหตุที่ฟูนันพัฒนาจากสังคมเผ่ามาเป็นสังคมรัฐ สังคมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมเผ่า(Tribal Society)ต่อมาพัฒนาเป็นสังคมรัฐ(Social State) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา สำหรับฟูนัน เดิมเป็นหมู่บ้าน ต่อมาขยายออกไป เพราะมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงต้องขยายที่เพาะปลูกให้พอกินพอใช้กับจำนวนชุมชนที่ขยายขึ้น ได้พยายามหาเทคนิค วิทยาการต่างๆมาช่วย เช่น ขุดคลองกั้นน้ำ เพื่อให้อยู่ดี มีอาหารพอเพียง ต่อมาเริ่มมีโครงร่างสังคมดีขึ้นจึงพัฒนาเป็นรัฐ เหตุที่ฟูนันพัฒนาเป็นรัฐได้นั้น เพราะฟูนันมีการพัฒนาเรื่องการเพาะปลูก และเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะเมืองออกแก้ว(Oc-EO) เป็นเมืองท่าของฟูนันที่เรือต่างๆผ่านมาต้องแวะ และการชลประทานในฟูนันก็เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกทำให้ฟูนันขยายตัวเป็นรัฐแรกในภูมิภาคนี้ ความเจริญและความเสื่อมของฟูนัน ตามหลักฐานของจีน ระบุว่า ฟูนันตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธิญญะ(Kaundinya)ผู้มีอิทธิพลเหนือชนพื้นเมือง และได้แต่งงานกับเจ้าหญิงนาคี(Nagi) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ฟูนันอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ(Vyadhapura)แปลว่าเมืองของกษัตริย์นายพราน(The city of the hunter king) ซึ่งคำว่าฟูนันเป็นคำที่เทียบเคียงกับภาษาเขมร คือ พนม หรือ บนม ที่แปลว่า ภูเขา ผู้ปกครองของฟูนัน เรียกว่า กูรุง บนม(Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งพนม (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนมและมีเมืองท่าที่สำคัญคือออกแก้ว มีแม่น้ำยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ เนื่องจากเมืองหลวงอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง บริเวณที่แม่น้ำ ทะเลสาบไหลมาบรรจบกัน จึงช่วยเรื่องการระบายน้ำจากทะเลสาบไปที่ราบทางฝั่งตะวันตกซึ่งช่วยในเรื่องการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนัน ทำให้สามารถควบคุมเส้นทางช่องแคบเชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่างๆของจีนตอนใต้ ทำให้มีความมั่งคั่งและอิทธิพลทางด้านการเมือง ฟูนันมีอำนาจการปกครองเหนือลังกาสุกะ(Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ในบริเวณปัตตานีปัจจุบัน) และเมืองตามพรลิงค์(Tambralings มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือเมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ ฟูนันยังมัอำนาจเหนือเจนละ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนัน ฟูนันมีอำนาจถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 การขนส่งภายในฟูนันเป็นการคมนาคมทางน้ำ ประชากรอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ ปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง กีฬาที่ชอบคือ การชนไก่ ชนหมู ภาษีอากรจ่ายเป็นทอง เงิน ไข่มุก น้ำหอม ฟูนันมีการติดต่อการค้ากับตะวันตก เนื่องจากปรากฏเหรียญเงินรูปจักรพรรดิโรมัน แหวนจารึกภาษาอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2 ลักษณะของวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว เป็นแบบวัฒนธรรมผสมกันระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองกับวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนัน ได้สืบทอดมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติ ส่วนลักษณะทางสถาปัตยกรรมชาวฟูนั้นได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาลวะและราชวงศ์คุปตะ ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ใช้ภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นอิทธิพลจากอินเดีย ฟูนันมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ดังนั้น เรื่องราวของอาณาจักรฟูนันจึงปรากฏในเอกสารจีนเป็นจำนวนมาก ที่กล่าวไว้คือ เมืองต่างๆของฟูนันมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎร ชาวฟูนันมีผิวดำ ผมหยิก เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก ชอบการแกะสลักเครื่องประดับ การสลักหิน มีตัวอักษรใช้ มีทาสเชลยศึก มีการค้าทองคำ การค้าเงิน ค้าไหม การพิจารณาคดีความใช้แบบจารีตนครบาล มีแหล่งน้ำใช้ร่วมกัน มีการทดน้ำ เพื่อการเพาะปลูก สรุปได้ว่า เรื่องราวของฟูนันส่วนมากเป็นความรู้ที่ได้มาจากบันทึกของชาวจีนที่ชื่อ คังไถ่ ที่เดินทางมายังอาณาจักรฟูนันในคริสต์ศตวรรษที่ 3 การล่มสลายของฟูนันปรากฎในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ว่าฟูนันเสื่อมเนื่องจากแพ้พวกเจนละ กษัตริย์ฟูนันต้องหนีไปทางทิศใต้ หลังเหตุการณ์ดังกล่าวรัฐเจนละได้เข้าครอบครองฟูนัน กษัตริย์เจนละทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของฟูนันเป็นของตน และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดถือว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ วยาธปุระทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าอาณาจักรฟูนันเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา 2.2 อาณาจักรของชาวกัมพูชา (Khmer Empire หรือ Kambujadesa) ดินแดนปัจจุบันที่เป็นประเทศกัมพูชาสืบเชื้อสายมาจากรัฐโบราณหลายรัฐ เริ่มจาก ฟูนัน เจนละ นครวัด นครธม จนถึงกัมพูชา ตามลำดับ โดยมีประวัติความเป็นมาเริ่มต้นที่ฟูนัน เมื่อฟูนันอ่อนแอลงเจนละจึงเข้าครอบครองฟูนัน สำหรับเจนละเมื่อแรกก่อตั้ง น่าจะอยู่บริเวณตะวันออกของทะเลสาบเขมรและขึ้นต่อฟูนันมีเมืองสำคัญคือ นครเชษฐาปุระ แต่หลักฐานของจีนกล่าวว่า สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 กษัตริย์ของเจนละมาประทับที่เมืองอิสานปุระ เมื่อครอบครองฟูนันแล้วชาวฟูนันอยู่ปะปนกับชาวเจนละ เจนละจึงรับวัฒนธรรมฟูนันไว้ ต่อมารัฐเจนละอ่อนแอลงจนแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ เจนละบก(Upper Chenla)และ เจนละน้ำ(Lower Chenla) เมื่อหลังค.ศ.706 เล็กน้อย ต่อมาคริสต์ศตวรรษที่ 8 เจนละตอนล่างถูกโจมตี โดยราชวงศ์ไศเลนทร์(Sailendras)แห่งเกาะชวา และเจนละทั้งหมดตกเป็นเมืองขึ้นของไศเลนทร์ระยะหนึ่ง จนค.ศ.802 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ค.ศ.802-850) สามารถรวบรวมเจนละทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นรัฐเอกราชแล้วขนานนามใหม่ว่าเป็นรัฐ “นครวัด” เป็นการปลดแอกจากราชวงศ์ไศเลนทร์ และในสมัยพระเจ้ายะโสวรมัน(ค.ศ.889-900)ได้ขยายอิทธิพลไปถึงแหลมมลายู กษัตริย์แห่งรัฐในแหลมมลายูต้องส่งเครื่องบรรณาการให้ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้ายะโสวรมันคือ การสร้างเมืองนครวัดซึ่งเป็นเมืองที่มีระบบชลประทานอย่างดี มีอ่างเก็บน้ำมีลำคลองมากมายจึงมีน้ำใช้อย่างอุดม สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2(ค.ศ.1113-1150)ได้สร้างปราสาทนครวัดเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ ที่แสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของชาวกัมพูชา และแสดงออกถึงอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีต่อสถาปัตยกรรมของเขมร รัฐนครวัด สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 9 กษัตริย์องค์แรกๆเริ่มพัฒนาเทคนิคในการเกษตร ควบคุมสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างศาสนสถาน อาณาจักรจึงยังไม่ขยายไปกว้างไกลมากนัก โดยได้ครอบครอง รัฐเล็กๆในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน รัฐนครวัดพัฒนาตนเองจนเป็นใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความพยายามในการเอาชนะการขาดแคลนน้ำ เพราะในดินแดนรัฐแม้จะมีฝนตกแต่ก็แล้งยาวนานถึง 6 เดือน ชาวกัมพูชาจึงใช้เวลาหลายศตวรรษพัฒนาการเก็บน้ำ โดยพัฒนาอ่างเก็บน้ำ(เขมรเรียก บาราย)ทำให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง จนกล่าวได้ว่า ชาวนครวัดมีทักษะในงานวิศวกรรมระบบชลประทาน ทำให้พื้นที่รอบนครวัดสามารถปลูกข้าวได้ถึงปีละ 3 ครั้ง พอเพียงเลี้ยงประชากร ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ทำให้ นครวัดสามารถรองรับจำนวนประชากรจำนวนมากพอที่จะสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ ความเสื่อมของอาณาจักรนครวัด เนื่องมาจากความสนใจในการขยายอาณาเขต โดยการทำสงคราม เช่น เข้าตีรัฐจามปาเป็นนิจ จนในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้ปกครองดินแดนจามปาทั้งหมด การทำสงคราม การสร้างนครวัด ทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้น จนราษฎรก่อการจลาจล ส่วนรัฐต่างๆที่อยู่ในอำนาจของนครวัด เช่น บริเวณที่ปัจจุบันเป็นดินแดนประเทศไทย ลาว เวียดนาม ได้ทำสงครามปลดแอกจากนครวัด จนถึงขั้นเข้าทำลายระบบชลประทานของนครวัด ทำให้นครวัดเสียอำนาจให้กับพวกจาม ในค.ศ.1177 อาณาจักรกัมพูชาจึงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7(ค.ศ.1181-1219)ได้ทรงรวบรวมผู้คนขับไล่พวกจามออกจากนครวัด และสร้างราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่ “เมืองนครธม” ได้ขยายอำนาจออกไปปกครองดินแดนแม่น้ำโขงตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โปรดให้สร้างปราสาทบายนที่เมืองนครธมเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน ยอดปราสาทเป็นพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ภาพสลักภายในปราสาทเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขมร และภาพการทำสงครามระหว่างชาวเขมรกับพวกจาม เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรอ่อนแอลง ทำให้ชนชาติไทยซึ่งตั้งหลักอยู่บริเวณตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมกำลังตั้งเป็นรัฐอิสระจากเขมร คือ อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรล้านนา ต่อมาอิทธิพลขอมอ่อนลง มีการตั้งอาณาจักรอยุธยาและในค.ศ.1431 ได้ยกกองทัพไปตีนครธมโดยเจ้าสามพระยา อำนาจของเขมรที่มียาวนานกว่า 600 ปีได้สิ้นสุดลง แต่อาณาจักรเขมรยังคงอยู่โดยย้ายราชธานีไปอยู่ที่พนมเปญ เพื่อให้ห่างไกลจากราชอาณาจักรไทย เมืองนครวัดและนครธมถูกปล่อยเป็นเมืองร้าง อาณาจักรเขมรที่พนมเปญกลายเป็นดินแดนของไทยและเวียดนามผลัดกันเข้าปกครอง สมัยกรุงศรีอยุธยาเขมรตกอยู่ใต้อำนาจของไทยบ่อยๆสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ก็เช่นกันแต่เขมรก็ส่งบรรณาการให้ญวนด้วย จนต่อมาในสมัยจักรวรรดินิยมเขมรก็ตกเป็นของฝรั่งเศส 2.3 จามปา(Champa) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นดินแดนเวียดนามใต้ในปัจจุบัน เป็นรัฐที่อยู่ติดทะเล แต่มีการจัดการเรื่องระบบชลประทานภายในแผ่นดิน ดำรงชีวิตด้วยการเกษตร และรับวัฒนธรรมอินเดีย บันทึกของชาวจีนเรียกอาณาจักรนี้ว่า “ลินยี่” แต่จารึกที่พบเป็นภาษาสันสกฤตที่พบในยุคหลังเรียกว่า จามปา รัฐนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือและตะวันออกของฟูนัน สันนิษฐานว่า ตั้งขึ้นประมาณศตวรรษเดียวกับฟูนัน ถือโอกาสตอนที่ราชวงศ์ฮ การเมืองฟิลิปปินส์: เสถียรภาพทางการเมืองกับประชาธิปไตยด้อยประสิทธิภาพ Filed under : POLITICS “กล่าวได้ว่าเส้นทางความเป็นประชาธิปไตยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ดูมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน …แต่ทว่าเพราะอะไรกันทำให้กลายเป็นประเทศที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงมากประเทศหนึ่งในปัจจุบัน มีขบวนการต่อต้านอำนาจของรัฐเกิดขึ้นอย่างมาก” การเมืองการปกครองฟิลิปปินส์: เสถียรภาพทางการเมืองกับประชาธิปไตยด้อยประสิทธิภาพ วรวิทย์ ไชยทอง นิสิตปริญญาตรี ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ลักษณะเด่นและความสำคัญของการเมืองฟิลิปปินส์ หากจะถามว่าประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากตะวันตกมากที่สุด ที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบัน คำตอบคงหนีไม่พ้นฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในอาณานิคมของสเปนกว่าสามศตวรรษต่อด้วยสหรัฐอเมริกาอีกกว่าครึ่งศตวรรษ จนกระทั่งการประกาศเอกราชในปี 1946[1] วัฒนธรรมของคนฟิลิปปินส์จึงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมแบบคาทอลิกจากสเปนในช่วงการครอบครองอย่างยาวนานดังกล่าว ภายใต้สเปนและสหรัฐฯทำให้เกิดการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมือง วัฒนธรรมมุสลิม วัฒนธรรมสเปนและอเมริกัน ศีลธรรมแบบคริสศาสนาได้เข้ามาพร้อมกับการเป็นอาณานิคม และมีบทบาทอย่างมากในการครอบงำบรรทัดฐานของสังคม ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีวัฒนธรรมทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับการอุปถัมภ์ค้ำจุนซึ่งกันและกัน มีลักษณะครอบครัวที่ใกล้ชิดแบบสเปนแต่มีความทันสมัยแบบอเมริกัน สังคมและสิ่งแวดล้อมในฟิลิปปินส์ภายใต้การครอบครองของสเปนและสหรัฐฯเป็นสิ่งกำหนดให้ฟิลิปปินส์มีความเป็นอยู่เช่นปัจจุบัน ฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการปฏิวัติชาติจากอาณานิคมมีการประกาศเอกราชของตนเองแต่ก็ถูกสหรัฐอเมริกาช่วงชิงอำนาจอธิปไตยไปภายในพริบตา[2] ถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการประกาศหลักการสิทธิมนุษยชน มีการหยั่งเสียงสอบถามความเห็นทางการเมืองของประชาชนเป็นประเทศแรก ในเรื่องประเด็นความเท่าเทียม/ความเสมอภาคทางเพศนั้นฟิลิปปินส์เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่หญิงชายมีสิทธิสภาพเท่าเทียมกันมากที่สุดก็ว่าได้ เนื่องจากอิทธิพลและวัฒนธรรมเสรีประชาธิปไตยแบบอเมริกันที่เผยแพร่เข้ามาในช่วงอาณานิคมนั่นเอง ทั้งในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญรุดหน้ามากที่สุดในเอเชีย กล่าวคือในช่วงทศวรรษที่ 50-60 ซึ่งเป็นช่วงที่ฟิลิปปินส์ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและงบประมาณจำนวนมากจากประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวได้ว่าเส้นทางความเป็นประชาธิปไตยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ดูมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ฟิลิปปินส์ดูเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าจนยากที่ใครจะตามทันในห้วงขณะหนึ่ง แต่ทว่าเพราะอะไรกันทำให้ประเทศที่ดูเป็นประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในเอเชีย กลายเป็นประเทศที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงมากประเทศหนึ่งในปัจจุบัน มีขบวนการต่อต้านอำนาจของรัฐเกิดขึ้นอย่างมาก โดยรัฐขาดประสิทธิภาพในการจัดการนอกจากการประนีประนอม เกิดกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองนอกระบบอำนาจรัฐจำนวนมากที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม เกี่ยวพันกับผลประโยชน์และนโยบายสาธารณะระดับชาติจนเกิดปรากฏการณ์การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ ฟิลิปปินส์จึงเต็มไปด้วยการเมืองแบบเส้นสาย อำนาจรัฐในฟิลิปปินส์จำเป็นต้องพึ่งพิงและได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มก้อนอำนาจอิทธิพลท้องถิ่น ซึ่งอำนาจนอกระบบดังกล่าวใช้วิธีการรุนแรงอย่างยิ่งในทางการเมือง เช่นกรณีการสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและนักข่าวกว่าครึ่งร้อยในจังหวัดกินดาเนาเมื่อหลายปีก่อนเป็นต้น แต่การอธิบายว่าระบบอุปถัมภ์ที่ฝังลึกในวิถีชีวิตคนรวมทั้งบรรดาผู้นำทำให้ค่านิยมประชาธิปไตยไม่แพร่หลาย ไม่แทรกซึมเข้าสู่ชีวิตจิตใจ ก่อให้เกิดการปกครองแบบเจ้าพ่อและการทุจริตคอรัปชั่นในทุกระดับ[3] เป็นผลให้ประชาธิปไตยฟิลิปปินส์ขาดเสถียรภาพเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอในการทำความเข้าใจสังคมฟิลิปปินส์ เพราะยังขาดการเชื่อมโยงทำความเข้าใจในหลายๆมิติ เช่น มิติดด้านเศรษฐกิจเป็นต้น การเมืองแบบปิตาธิปไตย รัฐปิตาธิปไตยโดยหลักการแล้ว เป็นรัฐที่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางอำนาจของผู้ที่ต้องการเข้ามามีอำนาจ ขาดระบบราชการที่เข้มแข็ง แต่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากภายนอกอย่างในกรณีประเทศฟิลิปปินส์ที่ได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา รการทำความเข้าใจจุดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญจนนำฟิลิปปินส์มาสู่การเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นการเมืองแบบปิตาธิปไตยอย่างในปัจจุบัน อาจเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจการเมืองยุคประธานาธิบดีมาร์กอส มาร์กอสที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีครั้งแรกใน ค.ศ. 1965 ด้วยความเฉลียวฉลาดในการบริหารประเทศทำให้ประเทศฟิลิปปินส์ในยุคมาร์กอสช่วงแรกก่อนการประกาศกฎอัยการศึกเกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากสหรัฐอเมริกา ในการเลือกตั้งครั้งที่สอง ปรากฏว่ามาร์กอสได้ใช้เงินซื้อเสียงจำนวนมาก[4] เกิดการคอรัปชั่นโดยเฉพาะเพื่อนพ้องบริวารของมาร์กอสเองจึงทำให้เกิดการประท้วงจากประชาชน มาร์กอสจึงใช้โอกาสนี้ประกาศกฎอัยการศึกจัดการกับความวุ่นวายดังกล่าว ควบคุมสิทธิ เสรีภาพแ
  2. การขยายอิทธิพลของตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 พ่อค้าต่างชาติที่เดินทางเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ คือ จีน อินเดีย อาหรับ โดยเฉพาะพ่อค้าอาหรับได้ผูกขาดสินค้าเครื่องเทศ ซึ่งเป็นสินค้าที่ชาวตะวันตกนิยม เพราะสามารถนำไปใช้ปรุงอาหารและถนอมอาหารมิให้เน่าเสียเร็ว การผูกขาดเครื่องเทศของพ่อค้าอาหรับ ทำให้สินค้าประเภทนี้ในยุโรปมีราคาสูงมาก พ่อค้าชาวยุโรปต้องการสินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาค้าขายได้โดยตรง เพราะยังไม่ทราบเส้นทางเดินเรือจากยุโรปมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกพ่อค้ายุโรปได้แต่เดินทางค้าขายกับอินเดียและจีน โดยใช้เส้นทางการค้าทางบกที่ทุรกันดารเท่านั้น มูลเหตุที่ชาติตะวันตกต้องการเดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุปได้ดังนี้ 1.พ่อค้าชาวยุโรปต้องการซื้อสินค้าเครื่องเทศจากแหล่งผลิตโดยตรง โดยไม่ตรงผ่านมือพ่อค้าคนกลาง คือ ชาวอาหรับ 2.การค้าทางเรือเสียค่าใช้จ่ายน้อย มีความเสี่ยงน้อยกว่าการค้าขายทางบก 3.สันตะปาปาที่กรุงโรม ทรงมีนโยบายสนับสนุนกษัตริย์ของประเทศในยุโรป ซึ่งนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะโปรตุเกส สเปน และฝรั่งเศส ให้ส่งมิชชันนารีเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาในต่างแดน 4.เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรมีอยู่มากและเจริญรุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมอยู่แล้ว 5.ยุโรปก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สามารถต่อเรือเดินทางทะเลขนาดใหญ่ ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการเดินเรือที่ทันสมัยและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งพระมหากษัตริย์ในทวีปยุโรปสนับสนุนการค้นหาดินแดนที่อยู่ห่างไกล จึงกระตุ้นนักเดินเรือให้สนใจเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ การขยายอิทธิพลของประเทศต่างๆ โปรตุเกส โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่สามารถแล่นเรือจากยุโรปมายังอินเดีย โดยอ้อมแหลมแอฟริกามาถึงเมืองกาลิกูฏในอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2041 ต่อมาได้เข้ายึดครองเมืองกัว ในอินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศที่สำคัญในสมัยนั้น โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการค้าเครื่องเทศ จึงขยายอำนาจของตนเข้าไปในดินแดนหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน เช่น หมู่เกาะโมลุกกะหรือหมู่เกาะเครื่องเทศ และสร้างความยิ่งใหญ่ทางด้านกองทัพเรือ สามารถทำลายระบบการค้าแบบผูกขาดของชาติอาหรับได้สำเร็จ และได้ผูกขาดการค้าในภูมิภาคนี้แทนอาหรับ รวมทั้งได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของอาณาจักรต่างๆ เช่น เป็นทหารอาสาสมัครในกองทัพไทยและพม่า เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาการแก่ชาวพื้นเมืองโดยเฉพาะด้านการทหารแบบสมัยใหม่ นอกจากนั้นโปรตุเกสยังส่งมิชชันนารีเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น โปรตุเกสได้ขยายอิทธิพลไปถึงจีนและญี่ปุ่น จัดตั้งศูนย์กลางการค้าที่มาเก๊าเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคนี้ โปรตุเกสมีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออกได้นานเกือบ 100 ปี จึงเสื่อมอำนาจลงเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 22 เนื่องจากฮอลันดาและอังกฤษมีความเข้มแข็งทางกองทัพเรือเหนือกว่าโปรตุเกส และได้มีนโยบายขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โปรตุเกสทำสงครามพ่ายแพ้แก่ฮอลันดาหลายครั้ง จนต้องสูญเสียมะละกาให้แก่ฮอลันดา สเปน สเปนได้ส่งนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อ แมกเจลแลน นำกองเรือออกจากสเปนอ้อมทวีปอเมริกาเข้ามหาสมุทรแปซิฟิกมาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2064 ต่อมาเกิดขัดแย้งกับชาวพื้นเมืองถึงขั้นสู่รบกัน แมกเจลแลนถูกฆ่าตาย ลูกเรือที่เหลือจึงนำเรือหนีออกจากฟิลิปปินส์เดินทางกลับผ่านช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย อ้อมแหลมแอฟริกากลับไปถึงสเปนได้สำเร็จ นับเป็นการเดินทางโดยทางเรือรอบโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมากษัตริย์สเปนได้ส่งเรือรบพร้อมด้วยกำลังทหารเดินทางมายังฟิลิปปินส์อีกหลายครั้งและเข้ายึดเกาะต่างๆ สเปนได้เข้าปกครองชาวฟิลิปปินส์ และได้เผยแผ่คริสต์ศาสนาแก่ชาวพื้นเมืองบาทหลวงชาวสเปนได้เข้าไปสอนศาสนาชาวพื้นเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังนับถือผีสางเทวดา และได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวฟิลิปปินส์ ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือและสร้างวัฒนธรรมแบบสเปนแก่ชาวพื้นเมือง ทำให้ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ของประเทศหันไปนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นบางเกาะทางภาคใต้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ฮอลันดา ฮอลันดาจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก เพื่อค้าขายและขยายอำนาจในดินแดนโพ้นทะเล ฮอลันดาสนใจการค้าเครื่องเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะหมู่เกาะอินดัสตะวันออกหรือหมู่เกาะอินโดนีเซียในปัจจุบันซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเครื่องเทศ เรือสินค้าฮอลันดสพร้อมด้วยเรือรบคุ้มครองได้ขยายอำนาจในอินโดนีเซียด้วยการค้าขายกับชาวพื้นเมือง พร้อมทั้งถือโอกาสเข้าแทรกแซงทางการเมืองด้วยการช่วยเหลือทางทหารแก่สุลต่านซึ่งเป็นผู้ปกครองเกาะ ฮอลันดาจึงได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและเข้าไปปกครองเกาะบางเกาะ ด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นผลทำให้ฮอลันดาสามารถผูกขาดการค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซีย และขยายอิทธิพลทางการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ภายหลังเมื่อฮอลันดาทำสงครามทางเรือชนะโปรตุเกสและอังกฤษ ฮอลันดาก็สามารถยึดครองหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซียไว้ใต้อำนาจของตนได้หมดสิ้น อังกฤษ อังกฤษจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเพื่อค้าขายในดินแดนโพ้นทะเล และเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังฮอลันดา 5 ปี ในระยะแรกพ่อค้าอังกฤษไม่สามารถค้าขายแข่งขันกับฮอลันดาได้ ประกอบกับกองทัพเรืออังกฤษยังไม่เข้มแข็งเท่าฮอลันดา อังกฤษจึงต้องถอนตัวออกจากการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปช่วงระยะหนึ่ง ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเพื่อทำหน้าที่ค้าขายและขยายอำนาจ เช่นเดียวกับอังกฤษและฮอลันดา นอกจากฝรั่งเศสสนใจการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ฝรั่งเศสยังสนใจเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เช่นเดียวกับโปรตุเกสและสเปนอีกด้วย ในระยะแรก ชาติตะวันตกขยายอิทธิพลมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและเผยแผ่ศาสนา จึงเกิดสงครามเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์กัน ต่อมาชาติตะวันตกเห็นว่าหากคิดแต่จะรบพุ่งกันเอง ก็มีแต่ความเสียหายจึงเริ่มเจรจากัน โดยยอมรับเขตอิทธิพลและเขตแสวงหาผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย ทำให้ชาติตะวันตกสามารถขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่ตนต้องการได้อย่างสะดวก แผนที่ประเทศไทยสร้างโดยนักภูมิศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาอยุธยา พ.ศ. 2229 สมัยจักรวรรดินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นไป ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยจักรวรรดินิยม เพราะชาติตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่มุ่งติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนา มาเป็นการมุ่งยึดครองและเข้าปกครองดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะเป็นดินแดนอาณานิคม ทั้งนี้เพราะปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1.ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมทำให้ชาติตะวันตกสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ได้เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องขยายตลาดการค้าและแหล่งวัตถุดิบให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 2.ประเทศต่างๆ ในยุโรปเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจมาเป็นแบบทุนนิยม รัฐบาลมีหน้าที่ส่งเสริมบริษัทเอกชนเข้าไปลงทุนในดินแดนอาณานิคม ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องเข้าไปปกครองอาณานิคมโดยตรง เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในอาณานิคมส่งกลับไปบำรุงเมืองแม่ 3.ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการคมนาคมขนส่งทางเรือ โดยเฉพาะการใช้เรือกลไฟบรรทุกสินค้าข้ามทวีป ตลอดจนความสำเร็จในการขุดคลองสุเอซ ทำให้เรือสินค้าสามารถแล่นติดต่อระหว่างยุโรปกับเอเชียได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องแล่นเรืออ้อมแหลมแอฟริกาเหมือนแต่ก่อน ทำให้สินค้าราคาถูก เศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมตามมา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 มหาอำนาจตะวันตกได้เข้ามายึดครองหรือคุกคามดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้ อังกฤษ พม่า ใน พ.ศ. 2367 อินเดียซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลอังกฤษเกิดวิวาทกับพม่าเกี่ยวกับปัญหาชายแดน จนนำไปสู่การทำสงครามระหว่างพม่ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ อังกฤษเป็นฝ่ายชนะและได้ยึดครองดินแดนพม่าตอนล่างในระหว่าง พ.ศ. 2393-2396 พม่าเกิดเหตุวิวาทกับอังกฤษอีก มีผลทำให้อังกฤษยึดครองตอนกลางของพม่าได้ใน พ.ศ. 2405 อังกฤษรวมดินแดนของพม่าที่ยึดได้เป็นมณฑล พม่าอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษโดยใช้กรุงย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงใน พ.ศ. 2417 อังกฤษได้ผนวกดินแดนพม่าที่ยังเหลือ และปกครองพม่าในฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ คาบสมุทรมลายู รัฐต่างๆ ของมลายูมักทะเลาะวิวาทและสู้รบกันเองอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้อังกฤษเข้าแทรกแซงทางการเมือง บางรัฐขอให้อังกฤษเข้ามาอารักขา อังกฤษได้ขอเช่าเกาะปีนังจากสุลต่านรัฐไทรบุรีหรือเกดะห์เป็นศูนย์กลางการค้า และให้ความคุ้มครองแก่สุลต่านผู้ปกครองรัฐมลายู จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอังกฤษเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใน พ.ศ. 2439 อังกฤษได้รวมเประ สลังงอร์ ปะหัง และเนกรีเซมบีลัน เป็นสหพันธรัฐมลายูภายใต้การปกครองของอังกฤษ นอกจากนี้อังกฤษยังได้ครอบครองเกาะสิงคโปร์ และสร้างสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าและฐานทัพสำคัญของอังกฤษเพื่อควบคุมผลประโยชน์ในเอเชียตะวันออก ไทย ในช่วงเวลาเดียวกันอังกฤษได้เริ่มคุกคามไทยด้วยการส่ง เฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) เป็นทูตมาเจรจาเกี่ยวกับรัฐต่างๆ บนคาบสมุทรมลายู ชัยชนะที่อังกฤษมีต่อพม่า ทำให้ไทยตระหนักว่าอังกฤษมีอำนาจทางทหารเหนือกว่า ไทยจึงยอมรับข้อเสนอของอังกฤษใน พ.ศ. 2398 อังกฤษได้ทำสัญญาการค้าที่เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เป็นผลให้ไทยต้องเสียผลประโยชน์ทางการค้าและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่อังกฤษ ต่อมาประเทศตะวันตกอื่นๆ ก็ได้ขอสิทธิเช่นเดียวกับอังกฤษจากไทยใน พ.ศ. 2451 ไทยต้องยอมมอบสิทธิที่มีเหนือไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ให้แก่อังกฤษแลกกับอำนาจทางการศาล เพื่อให้ไทยสามารถพิจารณาตัดสินคดีความที่คนในบังคับอังกฤษทำผิดในประเทศไทยได้ ฝรั่งเศส เวียดนาม เขมร และลาว ในช่วงทศวรรษ 2360 ฝรั่งเศสพยายามติดต่อค้าขายและขอเผยแผ่คริสต์ศาสนาในเวียดนาม และได้โอกาสเพราะสนับสนุนพระเจ้ายาลอง (Gia Long) ขึ้นครองอำนาจ และรวมประเทศเวียดนามเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทำให้ฝรั่งเศสได้รับสิทธิพิเศษในการเผยแผ่คริสต์ศาสนาและค้าขายในเวียดนาม แต่ต่อมากษัตริย์เวียดนามไม่โปรดปรานฝรั่งเศส และต่อต้านศาสนาคริสต์อย่างรุนแรง จึงเกิดการกระทบกระทั่งกลายเป็นสงครามซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2399 สงครามระหว่างสองฝ่ายดำเนินไปหลายปี จนกระทั่งฝรั่งเศสสามารถยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศ สำหรับเขมร ใน พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสบีบบังคับให้เขมรเป็นรัฐอยู่ใต้อารักขาของฝรั่งเศส และต่อมาขอให้ไทยยุติการอ้างสิทธิเหนือเขมร หลังจากนั้นได้ใช้วิธีรุนแรงขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนลาว ซึ่งนำไปสู่การกระทบกระทั่งกับไทยที่ปกครองลาวในฐานะประเทศราชจนเกิดวิกฤตการณ์ รศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นผลให้ไทยต้องเสียดินแดนลาวให้กับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสได้เวียดนาม เขมร และลาวไว้อำนาจแล้ว ฝรั่งเศสได้รวมดินแดนทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันเรียกว่า อินโดจีนฝรั่งเศส โดยตั้งข้าหลวงใหญ่ทำหน้าที่ปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงปารีส ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าไปในดินแดนประเทศราชของไทย โดยขอเข้าไปอารักขาเขมร ทางฝ่ายไทยต้องยินยอมแต่โดยดีเพราะไม่อาจต้านทานอำนาจของฝรั่งเศสได้ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนลาว ฝรั่งเศสใช้วิธีทุกอย่างทั้งวิธีการเจรจาและใช้เรือรบมาปิดปากน้ำเจ้าพระยาและคุกคามอธิปไตยของไทยใน พ.ศ. 2436 ไทยพยายามต่อต้านด้วยการใช้กำลังทหาร แต่ไม่อาจต่อต้านได้ ทำให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องยกดินแดนลาวทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ ฮอลันดา หมู่เกาะอินโดนีเซียใน พ.ศ. 2367 อังกฤษกับฮอลันดาได้ตกลงแบ่งเขตอำนาจในน่านน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฮอลันดายอมยกมะละกาให้อังกฤษเพื่อแลกกับเมืองท่าที่อังกฤษมีในสุมาตรา และตกลงกันว่าอังกฤษจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับหมู่เกาะอินโดนีเซีย ส่วนฮอลันดาก็ตกลงจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคาบสมุทรมลายู นับเป็นการแบ่งเขตอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสองประเทศ เป็นผลให้ฮอลันดาขยายอิทธิพลในบริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียได้สะดวก โดยปราศจากการแข่งขันจากชาติอื่น ใน พ.ศ. 2372 ฮอลันดาพยายามครอบครองเกาะชวาทั้งหมด หลังจากนั้นก็เริ่มใช้ “ระบบเพาะปลูก” บนเกาะชวาด้วยการบังคับให้ชาวชวาปลูกพืชผลที่ตนต้องการ โดยเฉพาะกาแฟซึ่งเป็นพืชที่ตลาดโลกต้องการ สเปน หมู่เกาะฟิลิปปินส์ สเปนยังคงเป็นผู้ปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์แต่ผู้เดียวอยู่เช่นเดิมโดยไม่มีมหาอำนาจอาณานิคมอื่นเข้าไปแก่งแย่ง จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2441 เกิดสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกา สเปนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องทำสัญญายกฟิลิปปินส์ให้แก่สหรัฐอเมริกา เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าปกครองฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกาได้ใช้รูปแบบการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ตามแบบอย่างที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนด ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในดินแดนอาณานิคม การที่ชาวตะวันตกสร้างลัทธิจักรวรรดินิยมโดยเข้าไปปกครองดินแดนอาณานิคม ก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในดินแดนอาณานิคม ดังนี้ 1.ชาวตะวันตกประกาศใช้กฎหมายเพื่อเก็บภาษีประชาชนอย่างรุนแรง ยิ่งกว่าช่วงระยะที่ชาวพื้นเมืองปกครองกันเอง รายได้จากการเก็บภาษีส่วนใหญ่ผู้ปกครองอาณานิคมส่งไปบำรุงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองแม่ 2.กลุ่มนายทุนชาวตะวันตกเข้ายึดครองพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ และกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติจากดินแดนอาณานิคม แล้วนำไปแปรรูปเป็นสินค้าอุตสาหกรรมส่งไปขายทั่วโลกสร้างความร่ำรวยแก่กลุ่มนายทุนตะวันตก 3.ชาวตะวันตกบังคับและเกณฑ์แรงงานพื้นเมืองไปทำงานหนัก บังคับให้ชาวพื้นเมืองปลูกพืชตามที่ต้องการ และบังคับให้ชาวพื้นเมืองขายผลิตผลแก่พ่อค้าชาติตะวันตกในราคาถูกๆ เพื่อประโยชน์ของชนชั้นปกครองและผลประโยชน์ของบริษัทตะวันตก 4.ชาวตะวันตกได้อพยพชาวจีนจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก มาทำงานเป็นลูกจ้างในสวนยางพาราและโรงงานอุตสาหกรรมของชาติตะวันตก ชาวจีนสร้างปัญหาพิพาทกับชาวพื้นเมืองในเวลาต่อมา 5.ชาวตะวันตกได้เปลี่ยนสภาพเศรษฐกิจของชาวพื้นเมืองจากรูปแบบดั้งเดิมมาเป็นแบบทุนนิยม ทำให้เกิดกิจการอุตสาหกรรมใหม่ๆ ธนาคารและระบบการกู้ยืม ทำให้ชาวพื้นเมืองมีหนี้สินและยากจนลงกว่าเดิม 6.การปกครองของชาวตะวันตกได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและค่านิยมของชาวพื้นเมือง ทำให้ชาวพื้นเมืองหันมารับวัฒนธรรมตะวันตกและดำเนินชีวิตแบบฟุ่มเฟือยตามแบบตะวันตก 7.ชาวตะวันตกนำรูปแบบการศึกษาและเผยแพร่ความคิดแบบสมัยใหม่ คือ ความคิดในระบบเสรีนิยมและประชาธิปไตยเป็นการกระตุ้นให้ชาวพื้นเมืองเกิดความคิด “ชาตินิยม” ขึ้น ลัทธิชาตินิยมในสหรัฐอเมริกา ลัทธิชาตินิยม หมายถึง ความคิดและการสร้างรูปแบบเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ความมีอิสระและเสรีภาพแก่ประชาชน รวมไปถึงการสร้างความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มมีความคิดในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและของชาติ การชื่นชมในวัฒนธรรมของชาติ และท้ายที่สุด คือความต้องการสร้างเอกราชและความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ ความคิดชาตินิยมได้เริ่มขึ้นในหมู่ประชาชนฟิลิปปินส์ก่อนประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2439 สเปนลงมือปราบปรามพวกชาตินิยมฟิลิปปินส์ซึ่งเรียกร้องเอกราชจากสเปน ในระยะต่อมาความคิดชาตินิยมได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนในดินแดนอาณานิคมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุที่ก่อให้เกิดความคิดชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุปได้ ดังนี้ 1.ความรู้สึกไม่พอใจระบบการปกครองของประเทศตะวันตกในดินแดนอาณานิคม ซึ่งใช้กฎหมายบังคับชาวพื้นเมืองให้ปฏิบัติตาม โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความสงบและความมั่นคงในดินแดนอาณานิคม ซึ่งเป็นผลให้ชาติตะวันตกได้รับอภิสิทธิ์และผลประโยชน์ต่างๆ เหนือกว่าชาวพื้นเมือง 2.ชาวพื้นเมืองรู้สึกหวงแหนทรัพยากรของชาติ ที่ถูกชาวตะวันตกกอบโกยไปสร้างความมั่นคงให้แก่ตนเอง 3.ชาวพื้นเมืองรู้สึกโกรธเคืองเมื่อชาวตะวันตกใช้วิธีกดขี่ ข่มเหง ดูหมิ่น เหยียดหยาม และทำลายวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง 4.การที่ชาวตะวันตกนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาแบบสมัยใหม่มาเผยแพร่ในดินแดนอาณานิคม ทำให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวในความคิดแบบสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดในระบบเสรีนิยม 5.ในสมัยที่ชาวตะวันตกปกครองอาณานิคม บ้านเมืองเกิดความสงบมั่นคง ชาวพื้นเมืองมิได้รบพุ่งกันเองเหมือนแต่ก่อน ประกอบกับชาวตะวันตกนำรูปแบบการคมนาคมขนส่งสมัยใหม่ เช่น รถไฟ เรือกลไฟ โทรเลข โทรศัพท์ มาใช้ในอาณานิคม อีกทั้งชาวตะวันตกใช้ภาษาของตนในการปกครองอาณานิคม เช่น สหรัฐอเมริกาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการปกครองชาวฟิลิปปินส์ เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวทำให้ชาวพื้นเมืองสามารถติดต่อไปมาหาสู่ หรือสื่อสารได้สะดวกรวดเร็วขึ้น 6.ชาวพื้นเมืองได้รับแนวความคิดและตัวอย่างการแสดงออกถึงความเป็นชาตินิยมจากประเทศที่อยู่นอกดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนรู้สึกชื่นชมและต้องการแสดงออกซึ่งความเป็นชาตินิยมด้วย ดังเช่น กรณีญี่ปุ่นซึ่งมีความคิดชาตินิยมอย่างแรงกล้า พัฒนาประเทศจนก้าวไปสู่ความทันสมัยและมีความเข้มแข็งทุกด้านสามารถทำสงครามชนะรัสเซียซึ่งเป็นมหาอำนาจได้ อีกกรณีหนึ่ง คือนักชาตินิยมจีนภายใต้การนำของ ดร. ซุน ยัตเซ็น สามารถก่อการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2454 เพื่อต่อต้านราชวงศ์แมนจู ซึ่งเป็นราชวงศ์ต่างชาติที่เข้ามาปกครองประเทศจีนในขณะนั้นได้สำเร็จ ชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอน1 ขบวนการชาตินิยมในเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนวความคิดในการต้อสู้แบบชาตินิยม ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) เป็นแนวความคิดหรือลัทธิที่เป็นความจงรักภักดีที่มีต่อชาติมากกว่าสิ่งใด ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นครอบครัว กลุ่มคนวงศาคณาญาติ หรือ ประชาชาติอื่น คำว่า ลัทธิชาตินิยม มาจากคำว่า เสรีนิยม ( Liberalism) หมายถึง เสรีภาพส่วนบุคคลและการมีกฎหมายรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ เน้นความเชื่อว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่ รัฐชาติ( Nation- state) ส่วนคำว่า ชาติ (Nation) หมายถึงการมี ภาษา และวัฒนธรรมร่วมในเผ่าพันธุ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกันว่า “เรา” เป็นการรวบรวมความหมายของเสรีนิยมและชาตินิยมว่าประชาชนในเผ่าเดียวกันต้องการปกครองตนเอง โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าอื่น 1. มูลเหตุที่ทำให้เกิดขบวนการชาตินิยม มีสาเหตุดังนี้ 1) ความต้องการเอกราช – การที่ชาวตะวันตกขยายอิทธิพลเข้ามา ทำให้ชาติที่ตกเป็นอาณานิคมเกิดความรู้สึกต่อต้านและต้องการเอกราช ต่อมาเมื่อเห็นตัวอย่างจากการที่ญี่ปุ่นต้องการขับไล่ชาติตะวันตกออกไปจากทวีปเอเชียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ยิ่งเป็นกำลังใจให้คนในภูมิภาคนี้มีความสำนึกในความเป็นชาติของตน เพราะญี่ปุ่นได้แสดงให้เห็นว่า ชาติตะวันตกไม่สามารถเอาชนะชาติในเอเชียได้ตลอด จากตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดกำลังใจ และคิดว่าถ้าร่วมใจกันขับไล่ชาติตะวันตกออกไปก็จะได้เอกราชคืนมา ในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 องค์การสันนิบาติชาติ เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อรักษาสันติภาพ ได้สนับสนุนการสร้างความเสมอภาคของชาติต่างๆและได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาความรู้สึกรักชาติตน และต้องการให้ชาติตนเป็นใหญ่เหนือชาติอื่นในทุกด้าน จากคำประกาศ 14 ข้อ ของประธานาธิบดี วูดโร วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีข้อหนึ่งระบุไว้ว่า ให้ทุกประเทศมีอัตตาวินิจฉัย คือ การปล่อยให้ประเทศอาณานิคม ตัดสินใจในอนาคตของตนเอง ทำให้บรรดาประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการเอกราช และปกครองตนเอง ชนชั้นนำและปัญญาชน ได้รวมตัวกันในรูปขบวนการหรือพรรคโดยมีจุดประสงค์ทางการเมือง การเรียกร้องขอสิทธิในการปกครองตนเอง ซึ่งต้องดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนต่อไปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยึดครองเอเชียตะวันออเฉียงใต้ ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกมาก่อน ญี่ปุ่นตั้งคำขวัญว่า”เอเชียเพื่อชาวเอเชีย” เพื่อเป็นการปลุกใจแก่ขบวนการชาตินิยมให้ปลดแอกชาติตะวันตก และญี่ปุ่นก็ช่วยให้อาณานิคมบางแห่งได้รับเอกราช แต่รัฐบาลยังตกอยู่ภายใต้การดูแลของญี่ปุ่น ทำให้ชาตินิยมบางกลุ่มไม่พอใจญี่ปุ่น เพราะเกรงว่าจะตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นต่อไป จึงทำการต่อต้านญี่ปุ่น 2) แรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจ – ชาติตะวันตกเข้ามาจับจอง อาณานิคม แสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า พัฒนาด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เป็นผลให้เศรษฐกิจในประเทศอาณานิคมขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว มีฐานะดีขึ้น จากการติดต่อการค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้สามารถส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ พวกปัญญาชนเหล่านี้ได้เห็นการปกครองและความเจริญของชาวยุโรป และมองเห็นปัญหาที่เกิดจากความล้าหลังในประเทศของตนว่า เกิดจากการเมืองที่เมืองแม่ไม่สนใจที่จะพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน มากไปกว่าตักตวงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ปัญญาชนเหล่านี้จึงคิดแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาน เช่น การเสียเปรียบทางการค้า โดยการตั้งกำแพงภาษี และอภิสิทธิ์ทางการค้าของเมืองแม่ ด้วยการเรียกร้องให้เมืองแม่ปฏิรูป การปกครอง และเศรษฐกิจ เพื่อชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวอาณานิคม 3) ความก้าวหน้าทางการศึกษา – หลังจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ประชากรได้เรียนรู้สังคมประเพณีตะวันตกว่าเป็นชาติที่รักเสรีภาพ แต่ยังกดขี่ประเทศที่ด้อยพัฒนาและยังเผยแพร่วัฒนธรรมของตน ซึ่งอาจทำให้ความเป็นชาติในภาคนี้สาบสูญไปได้ นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาภาษาตะวันตก และยังได้ศึกษาแนวการเมืองการปกครองแบบตะวันตก ได้อ่านผลงานของนักปรัชญาทางการเมือง และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองออทำให้เกิดความคิดทีจะปฏิวัติยึดอำนาจจากชาติตะวันตก และดำเนินการเรียกร้องที่จะปกครองตนเอง 4) ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม – ชาติตะวันตกที่เข้ามาปกครอง ได้นำวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ เช่น คริสต์ศาสนา ภาษา การปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการดดำเนินชีวิต เป็นต้น วัฒนธรรมต่างๆ เหล่านี้แตกต่างจากวัฒนธรรมพื้นเมืองโดยสิ้นเชิง คือ ศาสนาที่ชาวอาณานิคมนับถือ อยู่ก่อน ได้แก่ พุทธศาสนา และศาสนาอิสลาม ถึงแม้หลักธรรมของทุกศาสนาจะสอนให้ละเว้นความชั่วและประพฤติในสิ่งที่ดีงาม ผุ้นับถือศาสนาแต่ละศาสนาต่างก็มีสิ่งเคารพสักการะของตน นอกจากนี้ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรม และพิธีกรรม ก็เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับศาสนา และเป็นที่หวงแหนของชาวพื้นเมือง เมื่อคริสต์ศาสนาเข้ามา คณะมิชชันนารีได้สอนศาสนาและควบคู่ไปกับวิทยาการด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ ภาษา สาธารณสุข ชาวอาณานิคม ยอมรับการเรียนรู้ภาษา และวิทยาการด้านต่างๆ แต่การเผยแพร่ศาสนาเป็นไปได้น้อยมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีศาสนาประจำชาติอยู่แล้ว แต่ประเทศ ฟิลิปปินส์ มีประชากรกระจายอยู่ตามเกาะ ต่างๆ บ้างก็นับถือศาสนาอิสลาม แต่บางกลุ่มนับถือภูติและวิญญาณ ตามธรรมชาติ เหมือนชาวพื้นเมืองทั่วไปในภูมิภาค คนเหล่านี้รับคริสต์ศาสนาได้ง่าย และเมื่อยอมรับก็กลายเป็นศาสนาประจำชาติต่อมา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เหมือนกัน และมีวัฒนธรรมอันเดียวกัน เป็นการแสดงถึงความรักชาติ เมื่อวัฒนธรรมตะวันตกแตกต่างกับวัฒนธรรมพื้นเมือง ดั้งเดิม จึงไม่เป็นที่ยอมรับ ชาวพื้นเมืองยังคงวัฒนธรรมเดิมไว้ ดังนั้นความแตกต่างกันด้านวัฒนธรรม เป็นแรงผลักดันให้เกิดลัทธิชาตินิยมเพื่อเรียกร้องเอกราชของตน 2. รูปแบบของขบวนการชาตินิยม 1. ขบวนการทางศาสนา – การต่อด้านวัฒนธรรมตะวันตก มีหลายฝ่าย รวมทั้งนักบวช และพระ เช่น ฟิลิปปินส์ สเปนประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ศาสนา ทำให้ชาวฟิลิปปินส์เลื่อมใสนับถือ และบวชเป็นพระ แต่สเปนกลับปฏิบัติต่อชาวพื้นเมืองอย่างไม่เป็นธรรม มีการกีดกันผิวและเลื่อน ตำแหน่งสงฆ์ใน ศาสนจักร จึงทำให้ชาวพื้นเมืองที่เดือดร้อนจากการปกครองของสเปน คือ ถูกเกณฑ์แรงงานและเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม กับพระร่วมมือกัน ก่อกบฏในท้องที่ต่างๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในอินโดนีเซีย ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ได้ให้การสนับสนุนขบวนการชาตินิยม และร่วมมือส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมอินโดนีเซีย มุสลิมในเกาะสุมาตรา และชวา มีการจัดตั้งสมาคมเขตอิสลามขึ้น โดยมีจุดประสงค์ ที่จะต่อต้านศาสนาคริสต์ ทำนุบำรุงศาสนาอิสลาม ควบคุมเศรษฐกิจของประเทศส่งเสริมการค้าภายใน ต่อต้านการค้าภายนอก องจีนและดัตซ์ ทำให้ประชากรดีขึ้น การรวมตัวทางศาสนาได้ผลสำเร็จอย่างรวดเร็วมีสมาชิกเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ขบวนการศาสนาในเวียดนาม เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1926 เป็นขบวนการทางศาสนา ที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมือง คือ องค์การเกาได๋ (Cao Dai) มีนโยบายต่อต้านฝรั่งเศส โดยใช้แนวทางของการปฏิบัติ เพราะโครงการของกลุ่มชาตินิยมที่เดินทางสายกลางได้รับการปฏิเสธจากฝรั่งเศส องค์กรเกาได๋ เป็นองค์กรที่นับถือศาสนาทุกศาสนาในโลก รวมทั้งการนับถือเทพเจ้า นักปรัชญา และนักการเมืองที่สำคัญของโลก โดยเผยแพร่ขบวนการด้วยการเอาคำสอน คติธรรม ของศาสนาต่างๆ มาสอน นอกจากนี้ยังมี”นิกายหัวเหาHua Hau) เป็นกลุ่มความคิดค่อนข้างนิยมตะวันตก ด้วยการพัฒนาประเทศให้เป็นแบบตะวันตก เป็นขบวนการทางศาสนา ที่นิยมความรุนแรงเช่นเดียวกับเกาได๋ เป็นพวกที่ต้องการปฏิรูปพุทธศาสนา เน้นการเสียสละของบรรพบุรุษ และวีระบุรุษของชาติ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความสำนึกในชาติ นักชาตินิยมในพม่า ต้องการรื้อฟื้นวัฒนธรรมเก่าๆ ของพม่ามาใหม่ ได้มีขบวนการที่สำคัญ คือ การก่อตั้งสมาคมชาวพุทธขึ้นที่ย่างกุ้ง ใน พ.ศ. 2477 ต่อมามีสมาคมใหม่ ชื่อว่า สมาคมหนุ่มชาวพุทธ(The Young Men’s Buddhist Association) มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างความรู้สึกชาตินิยมต่อต้านชาวตะวันตก รวมทั้งส่งเสริมให้มีการสอนในโรงเรียนเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเก่าแก่ของพม่า เพื่อให้ชาวพม่าเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของชาติตน 2) ขบวนการชาวนาและชาวชนบท – เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านชาติตะวันตก จะเห็นได้ว่า เมื่อแมกเจลแลนคุมขบวนเรือสเปนเดินทางเพื่อพิสูจน์ว่าโลกกลม เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะแม็กตัน อยู่ใกล้ๆ เกาะเซบู ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวพื้นเมืองต่อต้านชาวตะวันตก แม้ว่า ฟิลิปปินส์จะตกเป็นอาณานิคมในเวลาต่อมาก็ตาม ชาวนาได้มีส่วนร่วมในการปฏิวัติในชนบท ต่อต้านการปกครองของสเปน โดยให้การสนับสนุน สมาคมกาติปูนัน ของ อังเดรส โบนิฟาซิโอ และเอมิลิโอ อากินัลโด ทำการต่อสู้เพื่อเอกราชอย่างรุนแรง ในพ.ศ. 2439 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม เรียกร้องเอกราชจนสำเร็จในเวลาต่อมา แนวคิดชาตินิยม จากปัญญาชนกระจายสู่ชนบท ได้โดยการ อาศัยสื่อมวลชน ทุกรูปแบบ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ ชาวนาเวียดนาม ก็เป็นสมาชิกขบวนการชาตินิยม ต่อต้านฝรั่งเศส เช่นเดียวกับอินโดนีเซียและในประเทศอื่นๆ 3) ขบวนการนักศึกษา – มีบทบาทสำคัญมากในการเรียกร้องเอกราช เพราะได้เรียนรู้ภาษาของชาติตะวันตก เดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ และเห็นตัวอย่างขบวนการชาตินิยมใน จีน ที่ต่อต้านชาติตะวันตก ในพ.ศ. 2442 และ ชัยชนะของญี่ปุ่นในสงครามกับรัสเซีย พ.ศ. 2448-2449 การปฏิวัติในจีน ใน พ.ศ. 2454 ขบวนการชาตินิยมในอินเดีย ภายใต้การนำของมหาตมะคานธี ที่เริ่มมีบทบาทมากใน พ.ศ. 2462 ทำให้นักศึกษาร่วมมือกับป
  3. การจัดสรรงบประมาณ งบประมาณ คืออะไร งบประมาณ คือจำนวนเงินที่ประมาณว่าจะได้รับ (รายรับ) และจะใช้จ่าย (รายจ่าย) เพื่อการต่าง ๆ ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เงินรายได้จากทุกแหล่งจะเป็นตัวกำหนดขีดจำกัดการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายไป เพื่อการบริหารและการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ในปีการศึกษานั้น ๆ งบประมาณแสดงให้เห็นแผนการปฏิบัติงานของโรงเรียนในรอบปี การเงินอันเป็นผลจากรายรับและรายจ่ายที่วางแผนไว้ ซึ่งจะเป็นตัววัดผลการดำเนินการทางด้านการเงินของโรงเรียและหน่วยงานทั้งหลายในโรงเรียน รายได้และรายจ่ายจะถูกกำหนดอย่างชัดเจน โรงเรียนอาจทำงบประมาณในรูปของรายได้แต่ละประเภทแยกจากกัน หรืองบปรมาณรวมงบเดียวของทุกแหล่งรายได้ก็ได้ ไม่ว่าโรงเรียนจะทำงบประมาณ 3 งบ หรืองบเดียว การตัดสินใจในการจัดทำงบประมาณทั้งหมดต้องทำในเวลาเดียวกันและอยู่บนพื้นฐานข้อมูลเดียวกัน เหตุผลในการจัดทำงบประมาณ เหตุผลที่ต้องพัฒนาโครงสร้างงบประมาณที่ดีในแต่ละโรงเรียน คือ งบประมาณแสดงให้เห็นแผนทางการเงิน ซึ่งโรงเรียนสามารถนำไปใช้วิเคราะห์การปฏิบัติงานทางด้านการเงินเพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียน งบประมารทำให้เจ้าหน้าที่ ผู้ปครอง เกิดความตระหนักถึงแหล่งเงินที่โรงเรียนจะจัดหารายได้มาใช้ งบประมารช่วยกำหนดการแบ่งส่วนและวงจำกัดของการใช้จ่าย งบประมาณช่วยกำหนดลำดับความสำคัญของงาน/กิจกรรมของโรงเรียน งบประมาณช่วยพัฒนาความร่วมมือและการติดต่อสื่อสารระหว่างครู ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และกลุ่มองค์กรของผู้ปกครอง งบประมาณช่วยพัฒนาความสนใจในผลประโยชน์และความมีอิสระของเจ้าหน้าที่ การเตรียมการเพื่อจัดทำงบประมาณ ด้วยเหตุที่งบปรมาณเป็นการวางแผนทางการเงินว่าโรงเรียนจะบรรลุจุดมุ่งหมายทางการ ศึกษาได้อย่างไร งบประมาณจึงเป็นส่วนประกอบหลักในการวางแผนงานของโรงเรียน โรงเรียนไม่อาจทำงบประมาณได้ดีหากไม่กำหนดจุดมุ่งหมายของโรงเรียนให้ชัดเจนและจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ เสียก่อน ดังนี้ การกำหนดลำดับความสำคัญ ผู้อำนวยการและสภาโรงเรียนเป็นผู้กำหนดจุดมุ่งหมายและจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียน โดยต้องจัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเหล่านั้น ต้นทุนของงาน/กิจกรรมทางการศึกษาของโรงเรียน งานจัดการศึกษาหรือหลักสูตรขการศึกษาที่โรงเรียนเป็นผู้กำหนดนั้น จะต้องแสดงให้เห็นในลักษณะที่เป็นสินค้าและบริการที่ต้องการโดยแสดงในรูปของตัวเงิน สินค้าและบริการมี 2 ประเภท คือ สิ่งของสิ้นเปลืองที่ใช้แล้วหมดไป เช่น วัสดุประกอบการศึกษา ตำรา ปกกา เครื่องเขียนทั่วไป และบริการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าสิ้นเปลืองหรือค่าใช้จ่ายประจำที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในทุกปี อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์ ทัศนอุปกรณ์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จัดเป็นทรัพย์สิน โรงเรียนควรจัดทำคำเสนอของบประมาณรายจ่ายแยกตามหลักสูตร พร้อมคำบรรยายอย่างกว้าง ๆ สำหรับรายการขาองใช้สิ้นเปลืองและต้นทุนของแต่ละรายการ สิ่งของที่เป็นทรัพย์สินต้องบอกรายการที่มีอยู่แล้วและแผนการจัดซื้อทรัพย์สินมาเปลี่ยนใหม่สำหรับปีต่อ ๆ ไป พร้อมกับคำบรรยายสั้น ๆ ว่าค่าใช้จ่ายที่ประมาณไว้นั้นเกี่ยวข้องกับการจัดลำดับความสำคัญอย่างไร และทำไมจึงจำเป็นต้องจ่าย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายบางอย่างไม่อาจแยกได้ว่าเป็นของโครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายในการดเนินงานตามปกติของโรงเรียนที่เรียกว่าค่าโสหุ้ย ได้แก่ ค่าไปรษณีย์ ค่าทำความสะอาด ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน ค่าใช้จ่ายบางอย่างอาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานหลาย ๆ โครงการร่วมกัน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการบริหารนี้ควรนับเป็นหนึ่งโครงการในการจัดทำคำเสนอของบประมาณ การประเมินคำของบประมาณ ตัวเลขในคำเสนอของบประมาณ มักจะมากกว่าเงินที่ได้รับจัดสรรวิธีการแก้ไข คือ จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ ปรับตัวเลขในงบประมาณใหม่โดยพิจารณาใหม่โดยพิจารณาอย่างจริงจัง เพื่อลดค่าใช้จ่ายไปสู่ระดับที่ต้องการ วิธีพิจารณาปรับตัวเลขก็ขึ้นกับโรงเรียน ซึ่งวิธีการที่ใช้กันโดยปกติ คือ การปรึกษาหารือร่วมกันและการเจรจาต่อรองกับครูใหญ่ ผู้อำนวยการ หรือคณะกรรมการที่ปรึกษาทางการเงินของโรงเรียน รายได้ รายได้ทั้งหมดมาจากเงินช่วยเหลือของรัฐบาล จากการจัดหาทุน แลเก็บค่าธรรมเนียม การจัดสรรเงินช่วยเหลือของรัฐบาลมีสูตรที่แน่นอนในการคำนวญ จึงสามารถทราบจำนวนเงินที่แน่นอนได้ ส่วนเงินที่ได้จากการจัดหาทุนต้องประมาณการจากประสบการณ์และคาดหมายจากแผนงานที่ได้กำหนดไว้ สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงขึ้นอาจทำให้มีเงินใช้จ่ายด้ากขึ้นก็จริง แต่ผู้ปกครองจะต้องต่อต้านกันมากขึ้นด้วย จำนวนค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมคือจำนวนที่ลงตัวระหว่างความจำเป็นของโรงเรียนกับความสามารถในการจ่ายเงินของผู้ปกครองนักเรียน การอนุมัติงบประมาณ งบประมาณโรงเรียนจะต้องผ่านการอนุมัติจากสถาโรงเรียน หลังจากที่คณะรรมการที่ปรึกษาทางการเงินของโรงเรียนตรวจสอบแล้ว หลังจากการได้รับอนุมัติแล้ว การใช้จ่ายต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัด การปรับงบประมาณภายในระหว่าปีงบประมาณ งบประมาณถูกจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดแนวทาง และควบคุมการใช้จ่ายเงินให้ดำเนินไปสู่จุด มุ่งหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นหากจุดมุ่งหมายเปลี่ยนไปในระหว่างปีก็ย่อมมีผลถึงงบประมาณด้วย อย่างไรก็ตาม หากยืดหยุ่นมากเกินไป การควบคุมงบประมาณก็จะเสีย ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นหรือค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มว่าจะสูงเกินกว่างบประมาณที่จัดสรร ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในหน่วย งานนั้นต้องขอให้จัดสรรเพิ่มอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมหลักฐานประกอบการขอ การรายงาน ส่วนประกอบที่เป็นหัวใจสำคัญของระบบการจัดทำงบประมาณคือ ต้องสามารถรายงานตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงของรายได้ รายจ่าย และเงินทุนที่ก่อหนี้ผูกพันไว้ โดยเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ ผู้บริหารแต่ละคนต้องการได้รับรายงานที่ต่างกัน ดังนั้น รายงานจึงควรอ่านเข้าใจได้ง่าย แต่รายละเอียดที่ควรมีก็ไม่ขาดตกบกพร่อง รายงานที่ดีที่สุดต้องให้ข้อมูลที่ผู้บริหารแต่ละระดับต้องการ โดยจัดทำขึ้นอย่างน้อยเดือนละครั้ง 5. วัตถุประสงค์ 1. พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและประสานงานระหว่างสถาบันในภาคีเพื่อเป็นกรณีศึกษาต้นแบบในการร่วมกันใช้ทรัพยากร สำหรับเป็นข้อมูลต่อทบวงมหาวิทยาลัย และกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาอื่น 2. ศึกษาหาแนวทางและวิธีการในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ดำเนินการใช้ทรัพยากรร่วม แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรร่วม ตลอดจนสรรหาแนวทางและวิธีการเสริมพลังกันให้ภารกิจร่วมได้ประสิทธิผลเพิ่มขึ้นและประหยัดงบประมาณพร้อมกันไป 3. จัดตั้งและดำเนินโครงการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในลักษณะทวิหรือพหุภาคีเพื่อเป็นรากฐาน ในการสร้างความร่วมมือในวงกว้างอย่างยั่งยืนต่อไป 6. ขอบเขตของการดำเนินการ สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 5 แห่งในจังหวัดนครราชสีมาร่วมมือกันเป็น “ภาคีอุดมศึกษานครราชสีมา” เพื่อหาแนวทางการ “ร่วมใช้” ทรัพยากรในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านบุคลากร การเรียนการสอน การวิจัย อาคารสถานที่ สารสนเทศ และ เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น ทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคี ตราบเท่าที่การใช้ทรัพยากรร่วมกันนั้นไม่กระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการศึกษา นอกจากนี้จะส่งเสริม สนับสนุน ภารกิจซึ่งกันและกัน ภายหลังจากได้พัฒนาแนวทาง และ กำหนดข้อตกลงในรายละเอียดต่างๆ แล้ว สถาบันในภาคีจักดำเนินการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และศึกษาหาวิธีการให้การใช้ร่วมกันนั้นมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น รวมทั้งการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย ในส่วนของการ “ร่วมทำ”นั้น จักได้แสวงหาแนวทางการดำเนินภารกิจต่างๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาความเจริญและความเข้มแข็งชุมชนในระดับพื้นฐาน และการพัฒนาความเข้มแข็งสถาบันร่วมกันในทุกด้าน โดยในระยะเริ่มแรกของภาคีจะประเดิมด้วยการจัดตั้งโครงการเฉพาะกิจขึ้น 5 โครงการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนพื้นฐาน 7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ประหยัดงบประมาณของชาติในระยะยาวจากการร่วมใช้ทรัพยากร 2. เพิ่มความเจริญและความเข้มแข็งให้สังคมระดับพื้นฐาน 3. เพิ่มความเข้มแข็งให้กับสถาบันในภาคี จากการเสริมพลังซึ่งกันและกัน 4. เป็นกรณีศึกษาต้นแบบให้แก่สถาบันศึกษาอื่นทั่วประเทศ ”ความคิดทางการเมือง:ประชาธิปไตย ตามแนวคิดพระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตโต)” ดร.สุรพล ยะพรหม (2548) ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันก็ล่วงเลยมาถึงกว่า ๗๒ ปีแล้ว แต่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เสมอว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยของไทยที่เต็มใบหรือยัง เพราะหากศึกษาจากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ของไทยช่วงระยะเวลา ๗๐ กว่าปีที่ผ่านมานี้ พบข้อเท็จจริงว่า มีการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลบ่อยครั้งมาก๑ มีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญซ้ำแล้วซ้ำอีกจนมีผู้กล่าวกันว่า รัฐธรรมนูญไทยไม่มีร่องรอยให้เห็นพัฒนาการสักเท่าไรเลย เพราะมีการฉีกทิ้งฉบับแล้วฉบับเล่า ไม่มีลักษณะของการใช้ที่ต่อเนื่อง ที่มีการพัฒนาจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง๒ สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดในระบอบประชาธิปไตยของไทยก็คือ การเลือกตั้งที่ยังมีสภาพเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไขได้ เพราะเมื่อดูจากอดีตของการเลือกตั้งก่อนปี ๒๕๔๔ จะพบข้อเท็จจริงว่า มีการใช้วิธีการที่ไม่ สุจริต ไม่โปร่งใส มีการใช้อามิสสินจ้างมาเป็นตัวกำหนด ทำให้ระบบการเมืองของไทยพิกลพิการ ดังที่เคยเป็นมาในอดีต นี้เป็นเพียงเรื่องตัวอย่างไม่กี่ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประเทศไทยใช้อยู่ ยังไม่มีความสมบูรณ์ดังที่ควรจะเป็น เมื่อกล่าวเฉพาะกรณีเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจของไทยล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ยิ่งทำให้มองเห็นชัดว่า ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย เพราะเหตุไรจึงทำให้เกิด ปัญหาในบ้านเมืองได้ และคำถามที่เจ็บปวดสำหรับนักนิยมประชาธิปไตยก็คือว่า เป็นเพราะระบบ ประชาธิปไตยมือใครยาวสาวได้สาวเอาหรือเปล่าที่ทำให้ไทยต้องประสบวิกฤตในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทยทั้งชาติ โดยเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า มีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอว่า ประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาทบทวนรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่เคยใช้ปฏิบัติกันมา เพราะความล้มเหลวที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันในเรื่องนี้ นักวิชาการจึงเสนอทางออกร่วมกันว่า แน่ละ ไทยยังคงต้องปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อไป เพราะถือว่า เป็นการปกครองที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นการปกครองที่แม้มิใช่การปกครองที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุด แต่การปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยสถานเดียวยังไม่เพียงพอ ควรที่จะมีหลักการปกครองอื่นมาผสมผสานด้วย หลัก ที่ว่านั้น บ้างก็เรียกธรรมรัฐก็มี ธรรมาภิบาลก็มี หรือในภาคราชการไทยเรียกเวลานี้ว่า หลักการ ปริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตรงกับที่โลกตะวันตกใช้คำว่า “Good Governance” นั่นเอง ซึ่งเมื่อจะดูความหมายที่นักวิชาการพูดถึงกันแล้วให้สรุปก็คือ การปกครองด้วยประชาธิปไตย ที่ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ความชอบธรรม ความเป็นธรรมและความดีงามเป็นส่วนสำคัญในการปกครองด้วย๓ อาจกล่าวได้ว่า นี่แหละสอดคล้องกับหลักธรรมาธิปไตย (ธัมมาธิปไตย) ทางพระพุทธศาสนานั่นเองที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้นำเสนอต่อสาธารณะเสมอว่า ธรรมาธิปไตยจะเป็นแกนจริยธรรมของประชาธิปไตย เพราะธรรมาธิปไตยจะเป็นรากฐานทำให้ประชาธิปไตยได้บรรลุภารกิจของหลักการปกครอง ที่นำมาใช้เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดสันติสุขและความผาสุกที่แท้จริงของชาวโลกและสังคมไทย ได้ตลอดไป พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นพระนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ที่มีมุมมองต่อการแก้ไขปัญหาสังคม โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน พระธรรมปิฎกได้ให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากผลงานทางวิชาการทั้งในรูปแบบของงานนิพนธ์ การแสดงปาฐกถา และบรรยายธรรม ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการผสมผสานแนวความคิดทางพระพุทธศาสนา ที่จะนำมาประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ในการนำผลแก้ไขปัญหาสังคมไทยที่เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา พระธรรมปิฎก มีพื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อได้ บวชเรียนภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนาแล้ว ได้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์คือ เปรียญธรรม ๙ ประโยค และสำเร็จการศึกษาเป็นพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) เกียรตินิยม อันดับ ๑ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ในสมัยนั้น) และต่อมามีตำแหน่งปกครองทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร และได้เป็นอาจารย์สอนประจำ พร้อมทั้งเป็นผู้บริหารระดับสูง ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งในระหว่างที่ทำหน้าที่ทั้งสองอย่าง ดังกล่าว พระธรรมปิฎก ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งทางการบริหารของคณะสงฆ์ เพื่อไปทำหน้าที่ในแวดวงวิชาการคือ งานเผยแผ่ธรรมะแก่สังคมโลกเป็นส่วนรวม๔ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๗) พระธรรมปิฎกเมื่อได้ย้ายไปอยู่วัดที่ สร้างใหม่คือ วัดญาณเวศกวัน ที่มีผู้สร้างถวายและมีการจดทะเบียนวัดเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวันตราบเท่าทุกวันนี้ แม้จะดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์อยู่ พระธรรมปิฎกก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาส่วนนี้อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากผลงานทางวิชาการที่มีการตีพิมพ์แล้วร่วม ๒๐๐ เรื่อง ซึ่งนับว่ามากที่สุดกว่าบุคคลใดๆ ที่ผลิตผลงานทางวิชาการในประเทศนี้ แน่นอนทีเดียว ผลงานทางวิชาการที่ล้ำค่าของพระธรรมปิฎกมีมากเล่ม แต่เล่มที่สังคมยอมรับว่าเป็นผลงานทางวิชาการที่ยอดเยี่ยม นั่นก็คือ “พุทธธรรม” ซึ่งเป็นการประมวลสาระสำคัญของพระพุทธศาสนาจากหลักฐานของพระพุทธศาสนาโดยตรง จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ กว่า ๑๐๐ เล่ม โดยการนำเสนออย่างเป็นระบบ ทันสมัย อ่านเข้าใจง่าย และสามารถสืบค้นคว้าต่อไปได้ง่ายอีกด้วย๕ เกียรติคุณของพระธรรมปิฎก มิใช่มีเพียงเฉพาะงานทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ มีจริยาวัตรและปฏิปทาที่งดงามยิ่งนัก สมดังที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้ ประทานวรสัมโมทนียกถา ในคราวที่กระทรวงศึกษาธิการในนามของรัฐบาลจัดงานเชิดชูเกียรติและแสดงมุทิตาจิต ที่พระธรรมปิฎกได้รับการถวายรางวัลการศึกษา เพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก ความตอนหนึ่งว่า “…ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก หรือท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ของเรา ท่านเป็นผู้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงให้แก่เรา ให้แก่ประเทศชาติของเรา ให้แก่คณะสงฆ์ของเราอย่างมากมาย ที่จริงก่อนที่องค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห- ประชาชาติจะถวายรางวัลการศึกษาหรือสันติภาพ ท่านเจ้าคุณท่านก็เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติยศของคนไทย ของไทย ของพระสงฆ์ไทยอยู่ตลอดมาแล้ว เพราะท่านเป็นคนดีจริง เป็นพระดีจริง ผู้ที่รู้จักท่านหรือไม่ได้ยินกิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่าน นิยมยกย่อง สรรเสริญเป็นอันมาก…”๖ ผลงานทางวิชาการของพระธรรมปิฎกที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความคิดทางการเมือง เท่าที่ผู้เขียนศึกษาและค้นคว้ามีจำนวนมากเล่มด้วยกัน ดังตัวอย่างเช่น ๑. รัฐกับพระพุทธศาสนา ถึงเวลาชำระล้างหรือยัง ๒. การสร้างสรรค์ประชาธิไตย ๓. มองให้ลึก นึกให้ไกล : ข้อคิดจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ ๔. กระบวนการเรียนรู้หรือพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย ๕. เราจะกู้แผ่นดินกันอย่างไร ๖. ธรรมกับไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน ๗. สิทธิมนุษยชน : สร้างสันติสุขหรือสลายสังคม ๘. สลายความขัดแย้ง นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ แนวพุทธ ๙. นิติศาสตร์แนวพุทธ ๑๐. พระพุทธศาสนากับสังคมไทย ประชาธิปไตย แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า Demokration ในภาษากรีก แปลว่า การปกครองของประชาชน ดังที่อดีตประธานาธิบดี ลินคอนของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้เป็นเสมือนคำคมว่า “รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน” ซึ่งหมายถึงระบบการปกครองตามอุดมคติ ระบบหนึ่ง ที่รัฐบาลในระบบประชาธิปไตยจะให้โอกาสอันเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิต การแสวงหา ความสุข เป็นต้น๗ นอกจากนี้ “ประชาธิปไตย” คำนี้ใช้ใน ๓ ความหมายใหญ่ๆ ซึ่งถ้ากำหนดเป็น วงกรอบหรือฐานะใหญ่ๆ ได้ ๓ ฐานะด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ๑) เชิงความคิด ๒) รูปแบบการ ปกครอง และ ๓) วิถีชีวิต โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมโดยสังเขปคือ ๑. ในฐานะเป็นปรัชญา (Phi-osophy) ทฤษฎีหรืออุดมการณ์ทางการเมือง ประชาธิปไตยในความหมายนี้ มุ่งเน้นไปในเรื่องของความคิด เป็นสภาพทางมโนกรรมทั้งของผู้นำและคนทั่วไป คือ ทั้งของผู้บริหารประเทศ และ พลเมืองทั่วไป ๒. ในฐานะเป็นรูปแบบการปกครอง (Forms of Government) เป็นการพิจารณาประชาธิปไตยในเชิงโครงสร้างของรัฐบาลแบบประชาธิปไตย เช่น เป็นระบบรัฐสภา เป็นระบบประธานาธิบดี ๓. ในฐานะเป็นวิถีชีวิต (Way of -ife) หมายถึง ๓.๑ วิถีทางแห่งการยอมรับเสียงข้างมาก ๓.๒ ความมีใจกว้าง ๓.๓ การมีขันติธรรม ๓.๔ การไม่ใช้ความรุนแรง ๓.๕ การเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง (การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง) อันเป็นเรื่องการประพฤติในสังคม๘ จากที่ได้นิยามความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย มาโดยสังเขปนั้น ก็พอจะประมวล ลักษณะที่สำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เป็น ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ ๑. ประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐ อาจใช้อำนาจทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ๒. ประชาชนทุกคนในรัฐ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจน มีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ๓. การดำเนินการต่างๆ ของรัฐนั้น คือ เอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐ จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทำนองคลองธรรม ๔. กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน เป็นต้น พระธรรมปิฎกได้นิยามคำว่า ประชาธิปไตยไว้อย่างน่าฟังยิ่งว่า เมื่อพูดถึงประชา- ธิปไตย ถ้ากล่าวถึงความหมาย มีวิธีพูดง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ ยกเอาวาทะของประธานาธิบดี ลินคอล์น มาอ้าง เพราะคนชอบ และรู้จักกันมาก คือวาทะที่ว่า “ประชาธิปไตยเป็นการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” วาทะนี้คนจำได้แม่น เวลาพูดกัน คนมักมองความหมายในแง่ของความรู้สึกตื่นเต้นว่า ตนเองจะได้ เช่น จะได้สิทธิ ได้อำนาจ หรือ ได้ความเป็นใหญ่ในการที่จะเป็นผู้ปกครอง แต่อีกแง่หนึ่งที่ไม่ค่อยได้มองคือ “ความรับผิดชอบ” ดังนั้น จากวาทะลินคอล์นนั้น พระธรรมปิฎกมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ที่ว่า ประชา- ธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนนั้น เป็นการเตือนให้รู้สึกตัวด้วยว่า คุณภาพของประชาธิปไตยอยู่ที่คุณภาพของประชาชน เพราะว่า โดยปกติ คุณภาพของการปกครองย่อมขึ้นต่อคุณของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ด้วยว่าในสมัยก่อนการ ปกครองอยู่ในกำมือของผู้ปกครองโดยตรง คุณภาพของประชาธิปไตย ก็วัดได้จากผู้ปกครองนั่นเอง แต่ในสมัยนี้ ในเมื่อประชาชนมาเป็นผู้ปกครอง บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ประชาธิปไตยจะมีคุณภาพแค่ไหน ก็อยู่ที่คุณภาพของประชาชนเป็นสำคัญ๙ จึงกล่าวสรุปได้ว่า พระธรรมปิฎกได้นิยามประชาธิปไตยโดยให้ความสำคัญในแง่ คุณภาพของประชาธิปไตยเป็นหลัก โดยเน้นว่า “ถ้าประชาชนมีคุณภาพดี ประชาธิปไตยก็มีคุณภาพดีด้วย ถ้าประชาชนมีคุณภาพต่ำ ประชาธิปไตยก็จะเป็นประชาธิปไตยอย่างเลวด้วย เพราะว่า คุณภาพของประชาธิปไตย ขึ้นต่อคุณภาพของประชาชน แล้วคุณภาพของประชาชนขึ้นต่ออะไร ก็ขึ้นต่อการศึกษา”๑๐ ความเข้าใจของคนไทยทั่วไปที่มีต่อภาพลักษณ์ของประชาธิปไตยนั้น ก็คือ ในสังคมของคนหมู่มาก ต่างคนก็ต่างมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป เกณฑ์ตัดสินอำนาจสูงสุดของความต้องการหรือความประสงค์ของคนในระบอบนี้ก็คือ เสียงข้างมากของประชาชนนั่นเอง พระธรรมปิฎกเห็นว่า การตัดสินใจเช่นว่านี้ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากตัดสินถูกก็ดีไป ถ้าตัดสินผิดก็อาจเกิดความเสื่อมความพินาศทุกอย่างทุกประการ การที่จะตัดสินใจผิดหรือตัดสินใจถูก ก็อยู่ที่ความเป็นคนดี มีปัญญา คือ มีคุณธรรม และมีความรู้ความเข้าใจ เฉลียวฉลาด สามารถในการคิด เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ประชาชนควรจะมี ถ้าประชาชน เป็นคนดี ตั้งใจดี มีความรู้ความเข้าใจ มีปัญญาชัดเจน คิดเป็น มองเห็นความจริง ก็ตัดสินใจได้ถูกต้อง๑๑ ดังนั้น จากแนวคิดเรื่องดังกล่าวนี้ ทำให้เห็นได้ว่า ประชาธิปไตยจะดี ก็อยู่ที่ประชาชน ที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจนั้นว่า จะต้องเป็นคนดีและมีปัญญา โดยที่ว่า ประชาชนเป็นใหญ่ มีอำนาจตัดสินใจนี้ การตัดสินใจที่ว่านั้น วินิจฉัยด้วยเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ในเรื่องนี้พระธรรมปิฎกให้ข้อสังเกตไว้ ๒ ประการด้วยกันคือ ๑. ถ้าคนส่วนใหญ่เป็นคนโง่ เสียงข้างมากที่วินิจฉัยก็จะเป็นการตัดสินใจเลือกอย่าง โง่ๆ หรือแม้แต่เลือกไปตามที่ถูกเขาหลอกล่อ ทำให้ผิดพลาดเสียหาย แต่ถ้าคนส่วนใหญ่เป็นคนดี มีปัญญา ก็จะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจเลือกได้ถูกต้อง บังเกิดผลดี จึงต้องให้ประชาชนมีการศึกษา หรือจะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจอย่างผู้มีปัญญา ๒. ความจริงของสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นอย่างที่มันเป็น มันย่อมไม่เป็นไปตามการบอก การสั่ง การลงคะแนนเสียง หรือตามความต้องการของคน ดังนั้น คนจะไปตัดสินความจริง ไม่ได้ แต่เป็นหน้าที่ของคนเองที่จะต้องตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นจริง จึงต้องให้ประชาชนมี การศึกษา เพื่อจะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจเลือกเอาสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง พระธรรมปิฎกย้ำว่า เสียงข้างมากตัดสินความจริงไม่ได้ อันนี้เป็นหลักธรรมดา เราตัดสินใจ ไม่ใช่ตัดสินความจริง ถ้าเอาเสียงข้างมากมาตัดสินความจริง ก็เป็นไปไม่ได้๑๒ เพราะฉะนั้น ตามหลักการแล้วไม่สามารถเอาเสียงข้างมากมาตัดสินความจริงได้ ถ้าอย่างนั้น จะเอาเสียงข้างมากตัดสินอะไร ประเด็นนี้ พระธรรมปิฎก ให้ความเห็นว่า เราเอาเสียงข้างมากมาตัดสินความต้องการ คือบอกว่าจะเอาอย่างไร ในแง่นี้สามารถบอกได้ว่า ประชาชนต้องการอะไร จะเอาอย่างไร แล้วมีมติเป็นที่ตกลงกันว่าจะเอาอย่างนี้ ซึ่งรวมความ ปัญหาอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจะให้ความต้องการที่ว่าจะเอาอย่างไรนั้น ไปประสานกับความมุ่งหมายที่ดี โดยมีสติปัญญาที่รู้เข้าใจว่า อะไรเป็นความจริง ความถูกต้อง แล้วตัวประโยชน์แท้ที่ควรจะเอา คือ ต้องให้ความต้องการนั้น ไปตรงกับความจริง ความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ที่แท้จริง มิฉะนั้นความต้องการนั้นก็ผิด เมื่อคนตัดสินใจด้วยความต้องการที่ผิด การตัดสินใจนั้นก็ผิด จะเลือกผิด เอาผิด และก่อให้เกิดผลร้าย เพราะฉะนั้น จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องทำให้คนมีความรู้ มีสติปัญญา จึงต้องเน้นกันว่า คนจะต้องมีวิจารณญาณ หรือจะใช้คำศัพท์ให้ลึกลงไปกว่านั้น ก็คือ ต้องมีโยนิโสมนสิการ ด้วยเหตุนี้ การใช้เสียงข้างมากมาตัดสิน จึงต้องเป็นเสียงแห่งสติปัญญา ที่แสดง ถึงความต้องการอันฉลาดที่จะเลือกเอาสิ่งที่ดีงามถูกต้องเป็นประโยชน์แท้จริง พระธรรมปิฎกสรุปว่า การศึกษาจำเป็นต่อประชาธิปไตย หรือพัฒนาประชาชนให้ ทำหน้าที่หรือใช้อำนาจตัดสินใจอย่างได้ผลดีใน ๒ ประการ๑๓ คือ ๑. ให้เสียงข้างมากที่จะใช้วินิจฉัย เกิดจากการตัดสินใจของคนที่เป็นบัณฑิต คือ คนดีมีสติปัญญา ๒. ให้การตัดสินใจของคนที่เกิดจากความต้องการที่มาประสานกับปัญญาที่รู้ และให้เลือกเอาสิ่งที่ถูกต้องดีงามจริงแท้ และเป็นประโยชน์แท้จริง เมื่อพิจารณาจากแนวคิดเรื่องเสียงข้างมาก ในประชาธิปไตยตามแนวของพระธรรมปิฎก จึงเห็นได้ชัดว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งวิถีพุทธ ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยของไทยจึงควร ที่นำแนวคิดในเรื่องของการตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ตามแนวของพระธรรมปิฎกมาประยุกต์ใช้ ก็จะทำให้ระบบการเมืองไทย ได้เสียงข้างมากที่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของระบอบประชาธิปไตย ที่แน่นอน กล่าวคือ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของสังคมไทยโดยรวมนั่นเอง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บัญญัติไว้ว่า รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจ อันดี และความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งการสนับสนุกการนำหลักธรรมของศาสนามา ใช้เพื่อส่งเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต๑๔ เรื่องดังกล่าวนี้ พระธรรมปิฎกได้แสดงทัศนะให้เห็นว่า โดยหลักการแล้ว การที่รัฐสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนานั้น สรุปได้ ๒ ลักษณะด้วยกันคือ ๑. เป็นความสัมพันธ์เชิงหน้าที่เกี่ยวกับธรรม หรือหน้าที่ต่อธรรม คือ รัฐโดยเฉพาะผู้ปกครองที่ดี ย่อมเป็นผู้ใฝ่ธรรม แสวงหาธรรม และเป็นผู้เชิดชูธรรม พระสงฆ์ หรือทางฝ่ายศาสนานั้น เป็นผู้ดำรงไว้ซึ่งธรรม เป็นผู้เผยแผ่ และสืบต่อ สืบทอดธรรมให้ดำรงอยู่ ในโลก ในสังคม เพราะฉะนั้น รัฐก็ทำหน้าที่ในการที่จะช่วยผู้ดำรงรักษาสืบทอดธรรม เผยแผ่ธรรมนี้ ให้ทำหน้าที่นั้นด้วยดี การกระทำอย่างนั้น ก็เท่ากับรัฐได้เชิดชูคุณธรรมด้วย สืบเนื่องจากหน้าที่ที่เกี่ยวกับธรรมเช่นนี้ พระธรรมปิฎกให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หน้าที่เกี่ยวกับธรรมของรัฐนั้น ก็ทำให้พระมหากษัตริย์หรือทางรัฐมีหน้าที่ต่อไปอีก คือ จะต้องพยายามให้ศาสนาบริสุทธิ์ เพื่อให้มีธรรมดำรงอยู่สืบต่อไปในสังคม หรือในโลกนี้ การทำ สังคายนาก็ดี การกำจัดชำระล้างมลทินของศาสนาในบางสมัยก็ดี เป็นเรื่องที่จัดได้ว่า อยู่ในหน้าที่ข้อนี้ เมื่อมีเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยเกิดขึ้นในวงการศาสนา รัฐก็เข้ามาอุปถัมภ์คณะสงฆ์ ในการทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัย เพื่อรักษาธรรมที่บริสุทธิ์ไว้ สังคายนาต่างๆ โดยมาก ก็มีพระเจ้าแผ่นดิน หรือทางรัฐเข้ามาเป็นผู้อุปถัมภ์ ทั้งในประเทศอินเดีย ในศรีลังกา ตลอดจนกระทั่งในประเทศไทยหลายครั้ง หลายสมัย นอกจากนี้ ในกรณีปลีกย่อย เมื่อปรากฏว่ามีคนของรัฐ หรือพลเมืองคือ คนของ บ้านเมืองที่เป็นคนร้าย คนไม่ดีเข้าไปซุกซ่อนตัวแอบแฝงอยู่ เข้าไปบวช เข้าไปเบียดเบียนทำลายศาสนา ซึ่งเท่ากับทำลายผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนด้วย ทางรัฐหรือทางพระเจ้า แผ่นดิน ก็ช่วยรักษาความบริสุทธิ์ของพระศาสนาด้วยการเอาคนของรัฐ หรือพลเมืองของตนเองที่เป็นคนไม่ดีที่เข้าไปทำลายศาสนานั้นออกมา ข้อนี้ถือว่าเป็นการชำระล้างพระศาสนาด้วยการเอาคนร้าย พลเมืองไม่ดีของตนเองกลับออกมาเสีย ไม่ให้เข้าไปหรืออยู่ทำลายพระศาสนาอีกต่อไป๑๕ ๒. เป็นความสัมพันธ์เชิงหน้าที่ในฐานะที่ผู้ปกครองหรือรัฐ เป็นตัวแทนของประชาชน ควรแสดงน้ำใจตอบแทนต่อทางฝ่ายสงฆ์ หรือทางศาสนา โดยนัยนี้ พระธรรมปิฎกเห็นว่า ตามปกติพระภิกษุสงฆ์ หรือทางฝ่ายศาสนาเป็นผู้แนะนำสั่งสอนประชาชนให้ดำรงอยู่ในศีลธรรม ให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงาม ให้พัฒนาทางจิตใจ ทางปัญญา ให้พระสงฆ์ทำ เช่นนี้ ประชาชนก็จะมีการศึกษาดี มีความรู้ ประพฤติดี มีจิตใจที่มีคุณภาพดี ก็จะเป็น พลเมืองที่ดี ผลประโยชน์ก็ตกแก่รัฐด้วย ช่วยให้รัฐนั้นเจริญรุ่งเรือง มีความสงบสุข รัฐสำนึก ในพระคุณฝ่ายสงฆ์ หรือทางศาสนานั้น เป็นการตอบแทนคุณความดี หรือบูชาคุณของฝ่าย ศาสนา หรือฝ่ายสงฆ์นั่นเอง และทำหน้าที่ดังกล่าวแทนประชาชน คือ อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนา แทนประชาชน๑๖ ดังนั้น จากการที่รัฐจำจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อฝ่ายพระสงฆ์ หรือฝ่ายพุทธจักร และในขณะเดียวกัน ฝ่ายของพระสงฆ์หรือฝ่ายพุทธจักรเองก็ต้อ
  4. พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระราชฐานะ พระราชสถานภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไม่มากนัก กล่าวคือ ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ทรงเป็นผู้ที่มิอาจถูกละเมิดได้ ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นจอมทัพไทย การดำรงไว้ซึ่งพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละเรื่อง มิได้เหมือนกับพระมหากษัตริย์ในแถบยุโรปและประเทศอื่น ๆ แต่มีความละเอียดอ่อนแฝงเร้นไปด้วยปรัชญา การเมือง การปกครองแบบไทย ๆ ที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน คือ ประการที่หนึ่ง ทรงเป็นพระประมุขที่คอยแบกความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน เหมือนบิดามารดาเลี้ยงดูบุตร ต้องทรงตรากตรำพระวรกายและทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมืองท่ามกลางฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ประการที่สอง ทรงเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทั้งชาติ อันเป็นไปโดยสายเลือดและความศรัทธาเลื่อมใสในพระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจ และทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ประการที่สาม ทรงมิอยู่ในฐานะจะถูกละเมิดหรือถูกฟ้องร้องใด ๆ ได้ การใช้พระราชอำนาจบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์จะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อันได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานองคมนตรี เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้อง เนื้อหาสาระที่สามารถตรวจสอบได้ ชี้แจงได้ ประการที่สี่ ดำรงพระราชสถานะเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ตามนิติราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล วิธีการอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ ก็มีแตกต่างกันไปแต่ในศาสนาพุทธ ยึดหลักการถวาย สมณศักดิ์และค่านิตยภัตต์ให้แก่พระเถรานุเถระ เพื่อไปปกครองดูแลสงฆ์ เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ฯลฯ ประการที่ห้า ดำรงพระราชสถานะ “จอมทัพไทย” เป็นมรดกตกทอดมาจากพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยต้องต่อสู้รบพุ่งเพื่อปกปักรักษาคุ้มครองเอกราชของชาติ และปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญฯ ยังได้ถวายพระราชอำนาจเหนือบรรดาทหารทั้งปวงด้วย ที่กล่าวมาในตอนนี้ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระราชสถานะที่ชัดเจนแตกต่างกับพระมหากษัตริย์ของชาติใด ๆ ในโลกนี้ พระราชอำนาจตามนิติราชประเพณี นิติราชประเพณีทางการเมืองการปกครองของไทย มีมากมายและมีมานานช้า เป็นนิติราชประเพณีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ยังมิได้มีนักรัฐศาสตร์ผู้ใด มหาวิทยาลัยใดหยิบยกขึ้นมาพิจารณาว่า มีนิติราชประเพณีใดบ้างที่สามารถนำมาใช้อย่างเหมาะสมพอดีกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 7 ก็กล่าวไว้ว่า “ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั่นก็หมายความว่า ประเพณีการปกครองเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงและต้องศึกษากำหนดให้ชัดเจน ในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทย เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นและมีกรณีต่าง ๆ ที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ก็ทรงใช้นิติราชประเพณีในอดีตที่มี มาปรับใช้อย่างแนบเนียนกลายเป็นวัฒนธรรมอำนาจอย่างหนึ่ง วัฒนธรรมการคิดเรื่องอำนาจของยุโรป – สหรัฐอเมริกา จะเน้นที่หลักความเป็นปัจเจกนิยม (Individualism) แบบตัวใครตัวมัน ตั้งอยู่บนความเสมอภาค (Equality) ตามนิติธรรม (The Rule of Law) และมีการแบ่งแยกปริมณฑลแห่งอำนาจ (Separation of Spheres) ซึ่งแตกต่างกับวัฒนธรรมอำนาจของไทยที่มีมาแต่โบราณกาลซึ่งยึดหลักการใช้อำนาจด้วยธรรมะ ด้วยเมตตา และด้วยความสัมพันธ์ที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน วัฒนธรรมอำนาจแบบไทย ๆ เช่นนี้สามารถทำความเข้าใจร่วมกันได้จากนิติราชประเพณีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และคนไทย กล่าวคือ ประการแรก คนไทยทั้งประเทศมีความสำนึกร่วมกันว่า พระมหากษัตริย์ของไทยเกือบทุกพระองค์เป็นประดุจบิดาที่คอยปกป้องคุ้มครองชีวิตของตนเอง ความรู้สึกเช่นนี้ยังฝังแน่นอยู่ในสายเลือดของคนไทย จนเกิดความผูกพันอันแน่นแฟ้นที่คนไทยจะขาดเสียซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์มิได้ และคนไทยที่แท้จริงต่างปลงใจศรัทธามีความเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ได้แสดงปาฐกถาไว้ตอนหนึ่งว่า “…ในวัฒนธรรมเดิมของคนไทยเรานั้น พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ดุจพ่อเมือง เป็นผู้นำออกรบพุ่งในเวลามีศึกสงคราม ทั้งเป็นพ่อผู้ปกครอง เป็นทั้งตุลาการของราษฎรในเวลาปกติ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนเป็นไปอย่างสนิทสน” คำกล่าวนี้ยังคงใช้กับคนไทยได้ในสมัยปัจจุบัน ประการที่สอง นิติราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างจำกัดต่อคนไทยในชาติ ดังเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์จะทรงตรากฎหมายมาใช้บังคับราษฎรต้องขอโทษกันแล้วขอโทษกันอีก ต้องชี้แจงแสดงเหตุผลอย่างละเอียดพิสดาร อ้างถึงความจำเป็นเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร อ้างบาลีจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ที่มโนสาราจารย์ไปได้มาจากขอบจักรวาล มิได้ออกกฎหมายมาบังคับใช้ตามอำเภอใจ นอกจากนี้ยังทรงออกกฎมณเฑียรบาลมายับยั้งการใช้พระราชอำนาจของ พระองค์เอง ผิดกับวัฒนธรรมของตะวันตกที่ออกกฎหมายมาตามใจของผู้เป็นรัฐาธิปัตย์ ดังกรณีเมียซีซ่าสมัยกรุงโรมที่กล่าวไว้ว่า เพราะฉันต้องการอย่างนี้ เพราะฉันชอบอย่างนี้ จงไปออกเป็นกฎหมาย หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กล่าวว่า เรานี่แหละรัฐ นิติราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงถือเอาราษฎรเป็นสำคัญเช่นนี้ ได้เป็นมรดกตกทอดกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ได้ถือเป็นหลักการปกครองราษฎรโดยไม่ได้ทรงยึดมั่นและผูกขาดอยู่ในพระราชอำนาจเด็ดขาดที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอยู่ กลับพยายามเตรียมการต่าง ๆ ให้ราษฎรได้มีส่วนในการใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 5 6 และ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ต้องยอมรับว่า นิติราชประเพณีที่ถือเอาราษฎรเป็นสำคัญนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่เฉพาะในสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ประการที่สาม นิติราชประเพณีที่ถือเอาธรรมะเป็นเครื่องมือในการ ปกครองราษฎร ดังจะเห็นได้จาก ความมีใจกว้างขวางให้ราษฎรมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ความมีเมตตาแก่สรรพสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และการให้อภัย การเอาชนะโดยธรรม การควบคุมตนเอง การเป็นที่พึ่งพิง การละอบายมุข การทำหน้าที่ทางสังคมด้วยความถูกต้องดีงามของแต่ละฝ่าย การตรวจสอบดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยวัฒนธรรมนี้ พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์จึงต้องทรงมีความรู้ ( ราชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ) ทรงเป็นคนดี ทรงอุทิศตนเพื่อผู้ใต้ ปกครองทุกหมู่เหล่าได้มีความสุข ทรงส่งเสริมธรรมะ คนดี สิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทรงสร้างความร่มเย็นเป็นสุขและทรงห่วงใยใกล้ชิดประชาชน ประการที่สี่ นิติราชประเพณีในการรักษาไว้ซึ่งเอกราชความเป็นไท และคนไทยที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา ปรากฏมาแล้วจากการสูญเสียเอกราชอธิปไตยในสมัยกรุงศรีอยุธยา 2 ครั้ง ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต้องพยายามกอบกู้เอกราชคืนมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงทำศึกป้องกันประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ต้องยอมเสียดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งอธิปไตย ความเป็น เอกราชของชาติจากการคุกคามของจักรวรรดินิยม สมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้ทรงถูกบีบบังคับให้เข้ารีตนับถือคริสตศาสนาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ก็ทรงใช้ปรีชาญาณเอาตัวรอดด้วยพระราชดำรัสว่า “ขอบพระทัยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเป็นนักหนาที่มีความสนิทเสน่หาในข้าพเจ้า แต่การที่เปลี่ยนศาสนาที่เคยนับถือมา 2,229 ปีแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นขอให้บาทหลวงทำให้ราษฎรของข้าพเจ้าเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ให้หมดเสียก่อน แล้วข้าพเจ้าจะเข้าตามภายหลัง อีกประการหนึ่งเล่าทรงประหลาดพระทัยเป็นหนักหนาว่า เหตุใดพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงก้าวก่ายอำนาจของพระเจ้า เพราะการที่มีศาสนาต่าง ๆ ในโลกนั้น มิใช่ความประสงค์ของพระเจ้าดอกหรือ จึงมิได้บันดาลให้มี เพียงศาสนาเดียวในเวลานี้ พระเจ้าคงปรารถนาให้ข้าพเจ้านับถือพระพุทธศาสนาไปก่อน เพราะฉะนั้น จะรอคอยความกรุณาของพระองค์บันดาลให้นับถือ คริสตศาสนาในวันใด ก็จะเปลี่ยนไปนับถือคริสตศาสนาเมื่อนั้น จึงขอฝากชะตากรรมของข้าพเจ้าและกรุงศรีอยุธยาไว้ให้อยู่ในความบันดาลของพระเจ้าด้วย ขอพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสสหายของข้าพเจ้า อย่าได้น้อยพระทัยเลย” ประการที่ห้า นิติราชประเพณีที่ปรากฏมาก็คือ พระมหากษัตริย์ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติและประชาชน ยิ่งกว่าพระองค์เองและพระราชวงศ์ต้องเสด็จพระราชกรณียกิจการสงครามบ้าง ประพาสเยี่ยมเยียนราษฎรบ้าง เพื่อนำเอาความทุกข์ยากเดือดร้อนเข้ามาแก้ไข โดยเฉพาะพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่ทรงถือเอาราษฎรคือบุคคลที่สามารถเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดกับพระองค์มากกว่าข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ ประการที่หก นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ได้เกิดมีนิติราชประเพณีใหม่ขึ้นมาในสถาบันพระมหากษัตริย์ที่จะต้องเป็นกลางทางการเมือง ปลอดจากการเมือง ปราศจากฝักฝ่าย พรรคการเมืองใดขึ้นมาบริหารราชการแผ่นดินก็ต้องเป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทั้งสิ้น แม้รัฐบาลจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนกันบริหารประเทศ ก็มิได้เกิดปัญหากับสถาบันพระมหากษัตริย์ นิติราชประเพณี ทั้ง 6 ประการที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าไม่มีนิติราชประเพณีใดขัดหรือแย้งกับแนวความคิดอุดมการณ์ในการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่กลับสนับสนุน ส่งเสริมวัฒนธรรมการปกครองแบบไทย ๆ เราที่จะต้องปรับการใช้ อำนาจ สิทธิ และปัจเจกนิยม ให้สอดคล้องกับ ธรรมะ ความเมตตา และความสัมพันธ์ที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน วัฒนธรรมความคิดทางการปกครองของไทยปัจจุบันเริ่มมีอิทธิพลต่อการนำความคิดแบบตะวันตกในทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจเข้ามาใช้ จึงทำให้การปกครองของไทยมีปัญหา แม้จะแก้ระบบให้ดีอย่างใดต่อไปอีกก็จะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติเสมอ ดังเช่น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ดูแล้วดี แต่วันนี้สร้างปัญหาทำให้เกิด การเมืองรัฐสภาที่ผูกขาด ไม่สามารถตรวจสอบได้ สร้างความวิตกห่วงใยขึ้นในหมู่คนไทยว่าจะเกิดวิกฤติการณ์รัฐธรรมนูญขึ้นอีก ในที่สุดคนไทยก็คงต้องพึ่งพระบรมเดชานุภาพของพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ทรงแก้ไขเยียวยาให้ เหมือนวิกฤติการณ์ทุกครั้งที่ผ่านมา พระราชอำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ปกครองมาแต่โบราณกาลนับตั้งแต่ยุคต้นของประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำชาติไทยทั้งในยามศึกและยามสงบ ทรงปกป้องคุ้มครองภยันตรายแก่ประชาชน และทรงเป็นผู้รวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นมาโดยตลอด แม้จะทรงมีพระราชอำนาจอย่างล้นพ้นแต่ก็ทรงใช้เพื่อประโยชน์สุขของทวยราษฎร์และความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติอย่างแท้จริง นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจดังกล่าวนี้ต้องทรงตรากตรำพระวรกายเป็นอย่างมากแต่ก็มิได้ทรงย่อท้อต่อความยากลำบาก และมิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใดจึงกล่าวได้อย่างแท้จริงว่า พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างในการยังความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงมาสู่ประเทศชาติเสมอมา นับว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมไทย ทำให้สังคมไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและแตกต่างจากสังคมอื่น พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย กล่าวคือ สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงเป็นนักรบแล้วในทางการเมืองการปกครองก็เป็นพระประมุขที่ปกครองราษฎรเหมือนพ่อปกครองลูก เสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่เรียกว่า “พ่อขุน” โดยมีธรรมะเป็นหลักในการปกครอง และเป็นตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นระหว่างราษฎรกันเองหรือกับ “ลูกเจ้าลูกขุน” ราษฎรจึงมีความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย สมัยอยุธยา เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากพ่อปกครองลูกเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยเปลี่ยนคำเรียกผู้ปกครองจาก “พ่อขุน” มาเป็น “พระมหากษัตริย์” โดยพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในฐานะต่างๆ กันดังนี้ ประการแรก ในฐานะทรงเป็นเจ้าชีวิต หมายความว่า ทรงมีพระราชอำนาจเหนือชีวิตคนทุกคนเพราะกฎหมายทั้งหลายล้วนมาจากพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้นและบุคคลอื่นจะใช้อำนาจนั้นได้ ก็ต่อเมื่อได้รับพระราชทานอาญาสิทธิ์ จากพระมหากษัตริย์ก่อน ประการที่สอง ในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน หมายความว่า ทรงสามารถใช้พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วพระราชอาณาจักรจะพระราชทานที่ดินให้แก่ผู้ใดก็ได้ หรือจะทรงเรียกคืนเมื่อใดก็ได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังทรงเป็นจอมทัพในการศึกสงครามทำให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจที่จะทำการใด ๆ ก็ได้ ประการที่สาม ในฐานะธรรมราชา หมายความว่า ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกในพุทธศาสนาและทรงใช้พระราชอำนาจปกป้องรักษาสถาบันแห่งพระพุทธศาสนา ตลอดจนศีลธรรมแห่งศาสนาด้วย ประการสุดท้าย ในฐานะเทวราช หมายความว่า เมื่อมีพระบรมราชโองการแล้ว พระบรมราชโองการนั้นถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะขัดขืนมิได้ แม้แต่จะวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นในทางใด ๆ ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น ดังนั้น พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา จึงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงดำรงอยู่ในลักษณะสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีการยกเลิกฐานะสมมติเทวราชของพระมหากษัตริย์โดยการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้น ไปในทางที่อำนวยประโยชน์สุขแก่ราษฎรมากกว่าที่จะทรงกระทำตามพระราชหฤทัย ดังจะเห็นได้จากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแนวความคิดในการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จากการที่ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดสมบูรณ์ทุกประการไปสู่การกระจายพระราชอำนาจและการยอมรับให้ขุนนางหรือข้าราชการทั้งปวงมีสิทธิมีส่วนในการบริหารประเทศร่วมกับพระมหากษัตริย์ แนวคิดนี้ปรากฎเป็นรูปธรรมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจะเห็นจากทรงจัดระเบียบการบริหารราชการเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางได้จัดตั้งกระทรวง กรม ต่าง ๆ ขึ้นมีเสนาบดีประจำแต่ละกระทรวงรับผิดชอบและบังคับบัญชา ส่วนการบริหารราชการส่วนภูมิภาคนั้นได้จัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีเทศาภิบาลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางปฏิบัติหน้าที่บังคับบัญชาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้นแต่ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 พระมหากษัตริย์ต้องทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ที่ทรงใช้ในฐานะองค์อธิปัตย์แต่เดิมถูกบทบัญญัติรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องทรงใช้ภายใต้ “คำแนะนำและยินยอม” ของสถาบันทั้งหลายที่รัฐธรรมนูญกำหนด นับเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองอย่างแท้จริงของการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีเวลาสั้นมากเพียงปีเศษ พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงสละราชสมบัติ และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระมหากษัตริย์แทบจะมิได้ทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญด้วย พระองค์เอง หากแต่ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนเกือบตลอดรัชสมัยของพระองค์ จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองหลายครั้ง มีการร่างรัฐธรรมนูญอยู่หลายฉบับแต่ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนแปลงไปกี่ฉบับก็ตาม โดยหลักใหญ่ใจความแล้วพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีอยู่ตามลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญมิได้มีการเปลี่ยนแปลงจะมีการแก้ไขบ้างก็เพียงเล็กน้อยโดยโน้มไปในทางที่จะถวายพระเกียรติยศหรือเพิ่มพูนพระราชอำนาจให้มากขึ้น “พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์” นั้นทรงเป็นล้นพ้นแสดงให้เห็นปรากฏเป็น 2 นัย คือ นัยแรกเป็นความหมายทางกฎหมาย นัยที่สองเป็นความหมายทางธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมา นอกจากนั้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ยังหมายความรวมถึงพระราชอำนาจตามประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมา จนถือว่าเป็นพระราชอำนาจที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทรงใช้ได้จริงเพราะองค์กรในรัฐธรรมนูญยอมรับเช่นนั้น เช่นพระราชอำนาจที่จะทรงพิจารณาฎีกาที่ประชาชนผู้เดือดร้อนทูลเกล้าฯ ถวาย พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยมีมากมายหลายด้าน ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏในรัฐธรรมนูญและทั้งส่วนที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติดังต่อไปนี้ ก. พระราชอำนาจที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นพระราชอำนาจที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ พระราชอำนาจในฐานะพระประมุข พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติยศและความยุติธรรม พระราชอำนาจตามพระราชอัธยาศัย และพระราชอำนาจในด้านอื่นๆ 1. พระราชอำนาจในฐานะพระประมุข รัฐธรรมนูญทุกฉบับบัญญัติไว้เหมือนกันหรือมี นัยเดียวกันทุกฉบับที่เป็นการรับรองพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ 1.1 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติเพิ่มเติมว่า “ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ ในทางใด ๆ มิได้” 1.2 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก 1.3 พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 1.4 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 บัญญัติเพิ่มเติมว่า “ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหารทั้งปวง” ส่วนการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นพระประมุขของประเทศนั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดหลักการสำคัญไว้ในมาตรา 3 ว่า”มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย “แต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” เป็นการให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทยเพียงพระองค์เดียว โดยทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 บัญญัติให้ “อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย” และไม่ระบุแบ่งแยกอำนาจเป็น 3 อำนาจอีกโดยที่พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นพระประมุขของประเทศ แทรกอยู่ในหมวดต่าง ๆ หลายหมวดได้แก่ ในหมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ หมวด 6 ว่าด้วยรัฐสภา หมวด 7 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี หมวด 8 ว่าด้วยศาล ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติเพิ่มเติมพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในหมวด 10 ว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและหมวด 11 ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน จึงได้นำมาจัดแบ่งเป็นส่วนๆ ได้ดังนี้ ส่วนที่ 1 พระราชอำนาจทางฝ่ายบริหาร พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทางฝ่ายบริหารสาระสำคัญส่วนใหญ่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เหมือนกันทุกฉบับ ดังต่อไปนี้ 1. ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ก่อนที่พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติจะมีการหยั่งเสียง ซึ่งทำได้หลายวิธีและมีกระบวนการแตกต่างออกไปตามแต่ละสมัยเช่น มีการหารือระหว่างหัวหน้าพรรคการเมืองเพื่อหาผู้เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี ในการหยั่งเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักเลือกคนที่พรรคการเมืองเห็นว่าเหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นจะนำขึ้นทูลเกล้าฯให้ทรงแต่งตั้ง ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งตามที่ผู้มีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการถวายคำแนะนำ แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เช่นในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะพระประมุขโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อประโยชน์และความสงบของบ้านเมืองได้ 2. ทรงแต่งตั้งรัฐมนตรี ภายหลังจากที่ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้วนายกรัฐมนตรีก็จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วไปดำเนินการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อได้บุคคลที่จะประกอบกันเป็นคณะรัฐมนตรีแล้ว ก็นำความขึ้นกราบบังคมทูลแนะนำ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและนำคณะรัฐมนตรีที่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีแล้ว พระมหากษัตริย์ยังทรงให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ ตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ 3. ทรงตราพระราชกำหนด พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการ พิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน มีผลบังคับใช้ดังเช่น พระราชบัญญัติ แล้วเสนอให้รัฐสภาอนุมัติ 4. ทรงตราพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของ คณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ 5. พระราชอำนาจในด้านการต่างประเทศ ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นชาติ และทรงเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นผู้แทนประชาชนชาวไทย ในการติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ และพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก สัญญาอื่นกับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา นอกจากนั้นยังทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำในประเทศอื่น และเสด็จออกรับพระราชสาส์นตราตั้ง คือ อักษรสาส์นตราตั้ง จากเอกอัครราชทูตประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้งมาสู่ราชสำนัก ส่วนที่ 2 พระราชอำนาจทางฝ่ายนิติบัญญัติ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทางฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ดังนี้ 1. ทรงแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา รัฐธรรมนูญบัญญัติสาระสำคัญไว้เหมือนกันทุกฉบับให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งยกเว้นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง โดยนายกรัฐมนตรีจะนำรายชื่อสมาชิกวุฒิสภาขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง ส่วนใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2517 ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้นำรายชื่อสมาชิกวุฒิสภาขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง 2. ทรงแต่งตั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญบัญญัติสาระสำคัญไว้เหมือนกันทุกฉบับ โดยในการประชุมคราวแรกของแต่ละสภาสมาชิกจะทำการคัดเลือกประธานและรองประธาน หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรี จะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง ในการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 บัญญัติให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง 3. ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญบัญญัติสาระสำคัญไว้เหมือนกันทุกฉบับคือ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้ง ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เป็นต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 4. ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 กับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 เรียกว่า”ผู้ตรวจการรัฐสภา” พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของรัฐสภา โดยประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรียกว่า”ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาโดยมีประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง 5. ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้บัญญัติไว้เพียงฉบับเดียวคือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยมีประธานวุฒิสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง 6. ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและปิดประชุม รัฐธรรมนูญบัญญัติสาระสำคัญไว้เหมือนกันทุกฉบับคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ ทุกคราวที่มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ เมื่อมีการเปิดสมัยประชุมสามัญประจำปีสมัยแรกภายหลังการเลือกตั้งนั้น ซึ่งย่อมหมายความว่า เป็นสมัยประชุมครั้งแรกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เพิ่งจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยจึงควรจะให้โอกาสสมาชิกรัฐสภาเหล่านั้น ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพิธีเปิดสมัยประชุม ซึ่งโดยปกติแล้วกำหนดจัดรัฐพิธีนี้ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมพระราชวังดุสิต และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดสมัยประชุม ส่วนการเรียกประชุมสมัยวิสามัญ แยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีรัฐบาลเห็นสมควรเรียกประชุมสมัยวิสามัญก็ให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่ถ้าเป็นกรณีสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าชื่อกันร้องขอให้เรียกประชุมสมัยวิสามัญ โดยให้ทำเป็นพระบรมราชโองการเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา โดยประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นอกจากนี้การขยายระยะเวลาประชุมสมัยสามัญของรัฐสภาหรือการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนด ก็ให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกาเช่นเดียวกัน 7. การยุบสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญบัญญัติสาระสำค
  5. หลักกฎหมายปกครองวันละเรื่อง
    พระราชอำนาจและพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ตามระบบการปกครองประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

    ***เคยเขียนเรื่องพระมหากษัตริย์ไว้ 3 ตอน ตอนที่ 2 เรื่อง พระราชอำนาจและพระราชฐานะ ไว้นานแล้ว พอดีมีประเด็นการขอสภาประชาชนพระราชทานและนายกรัฐมนตรีพระราชทาาน ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องและไม่สมควร จึงนำบทความนี้มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อให้เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ทรงทำตามที่ร้องขอไม่ได้****

    พระมหากษัตริย์ : พระราชฐานะ และพระราชอำนาจ
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    2. พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์

    พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) มิได้มีพระราชอำนาจจำกัดเฉพาะแต่ที่บทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น พระมหากษัตริย์ยังมีพระราชอำนาจทางธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ (convention) ที่มีสถานะเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอีกด้วย นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ยังมีพระราชอำนาจที่เกิดจากพลังทางสังคมที่ยอมรับจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ที่เรียกว่า พระราชอำนาจทางสังคม ซึ่งพระราชอำนาจทางสังคมจะมากหรือจะน้อยขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมขณะนั้นกับราชกิจจานุวัตรขององค์พระมหากษัตริย์ประกอบกัน

    การที่รู้และเข้าใจว่า พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์มีเพียงใด จึงมิได้ศึกษาเฉพาะแต่รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเท่านั้น แต่จะต้องศึกษาธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ และพระราชอำนาจทางสังคมด้วยจึงจะครบถ้วน ดังนี้

    2.1 พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ

    พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยตามที่บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรนับแต่เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ได้รับการบัญญัติต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ และรัฐธรรมนูญทุกฉบับกำหนดในหมวดของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญห้ามมิให้แก้ไขในส่วนของระบอบการปกครอง รูปแบบรัฐ และหมวดพระมหากษัตริย์ จนทำให้ยอมรับว่า เป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ในหลายหมวด มิไดมีเฉพาะหมวดพระมหากษัตริย์เท่านั้น พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์มีทั้งพระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐ ในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร ในฐานะใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลการ ซึ่งมีรายละเอียดแยกพิจารณาได้ดังนี้

    1. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล

    2. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ตามพระราชอัธยาศัย

    3. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งราชสมุทรองค์รักษ์ตามพระราชอัธยาศัย

    4. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

    5. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ (รวมถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ) ซึ่งรัฐสภาลงมติให้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

    6. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ

    7. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐธรรมนูญหรือข้าราชการตามกฎหมายอื่นกำหนด

    8. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้กฎอัยการศึกตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก

    9. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

    10. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ

    11. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ

    12. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนด และพระราชกฤษฎีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ

    13. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพะราชบัญญัติเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย

    พระราชอำนาจในข้อที่ 1 เป็นไปตามหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย คือ พระมหากษัตริย์ทรงผู้แทนของปวงชนชาวไทยในการใช้อำนาจอธิปไตย แต่พระองค์จะใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

    พระราชอำนาจในข้อที่ 2 และข้อ 3 เป็นพระราชอำนาจที่กระทำในฐานะประมุขของรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์ ที่จะต้องมีที่ปรึกษาส่วนพระองค์และผู้ที่จะรักษาความปลอดภัยประจำพระองค์

    พระราชอำนาจในข้อที่ 4 เป็นพระราชอำนาจที่กระทำในฐานะประมุขของรัฐและเป็นเป็นพระราชอำนาจที่กระทำในฐานะส่วนประกอบของรัฐบาล ที่เป็นส่วนประจำถาวรอันเป็นที่มาของเกียรติยศ

    พระราชอำนาจในข้อที่ 5 และข้อที่ 6 เป็นพระราชอำนาจที่กระทำในฐานะประมุขของรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์ในการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ (นิติกรรมทางนิติบัญญัติ) ในการทรงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติเห็นชอบและทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย

    พระราชอำนาจในข้อที่ 7 ถึงข้อที่ 13 เป็นพระราชอำนาจที่กระทำในฐานะส่วนประกอบของรัฐบาล ที่เป็นส่วนประจำถาวรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจฝ่ายบริหาร

    เหตุที่ไม่การกล่าวถึง พระราชอำนาจกระทำในฐานะประมุขของรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์ในการใช้อำนาจฝ่ายตุลาการ เพราะ ตุลาการใช้อำนาจตุลาการในนามประปรมาภิไธย การทำคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดผลเหตุคดี (นิติกรรมทางตุลาการ) ถือว่าเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในนามพระมหากษัตริย์ แต่เนื่องจากการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีมีจำนวนมากไม่อาจที่ทูลเกล้าฯ ถวายคำแนะให้พระมหากษัตริย์ลพระปรมาภิไธยทุกกรณีได้ รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติให้การใช้อำนาจตุลาการของตุลาการ ผู้พิพากษากระทำในนามพระปรมาภิไธย

    2.2 พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามในทางธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ

    ในทางรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษ ได้มีการอธิบายในทางตำราของนายแบทชอท (Bagehot) และเป็นที่ยอมรับกันว่า ในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ พระมหากษัตริย์ทรงมีสิทธิในทางธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ (convention) ในการที่จะได้รับการปรึกษาหารือ ทรงมีสิทธิสนับสนุน และทรงมีสิทธิที่จะตักเตือนได้ แม้ว่าจะไม่ได้มีการบัญญัติเป็นเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญก็ตาม ซึ่งประเทศไทยก็ถือเอาเป็นแบบอย่างในทางธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญเช่นกัน สิทธิดังกล่าวประกอบด้วย

    (1) สิทธิที่จะได้รับการปรึกษาหารือ (the right to be consulted)
    ในบรรดาราชการแผ่นดินสำคัญ ๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับต่างประเทศ คณะรัฐมนตรีย่อมจะไม่ดำเนินการให้เรื่องเด็ดขาดแต่จะปรึกษากับพระมหากษัตริย์เสียก่อน พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐและเป็นพระมหากษัตริย์ที่ถาวรต่างกับคณะรัฐมนตรีที่ผลัดกันเข้ามาดำรงตำแหน่งตามวิถีทางการเมือง ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงอาจจัดเจนในราชการแผ่นดินในกรณีสำคัญ ๆ คณะรัฐมนตรีจะต้องไปเข้าเฝ้าของรับการปรึกษาหารือจากพระมหากษัตริย์และพระราชทานคำปรึกษาอย่างใดแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องรับมาพิจารณาโดยความเคารพ การที่พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะได้รับการปรึกษาหารือนี้หมายความว่าในราชการแผ่นดินที่สำคัญ และคณะรัฐมนตรียังไม่กระทำการใด ๆ ให้เป็นการผูกพันหรือถึงที่สุด แต่จะต้องมาเฝ้ากราบทูลข้อเท็จจริง และขอรับการปรึกษาหารือก่อน

    (2) สิทธิที่จะทรงสนับสนุน (The right to encourage)
    กล่าวคือ พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะทรงสนับสนุนคณะรัฐมนตรีของพระองค์ ทำให้คณะรัฐมนตรีเกิดกำลังน้ำใจในอันที่จะปฏิบัติราชการแผ่นดินนั้น ๆ

    (3) สิทธิที่จะตักเตือน (The right to warn)
    พระมหากษัตริย์ย่อมทรงครองราชย์เป็นการถาวร จึงมีความชัดเจนในรัฐกิจต่าง ๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่ละคณะได้ดำเนินการมาแล้ว ฉะนั้น พระมหากษัตริย์ย่อมอยู่ในฐานะที่จะทรงตักเตือนคณะรัฐมนตรีของพระองค์ว่า รัฐกิจที่คณะรัฐมนตรีดำริจะจัดทำนั้น อาจนำผลร้ายมาให้แก่ประเทศอย่างเดียวกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้ประสบมาแล้ว ถ้าคณะรัฐมนตรีจะจัดทำรัฐกิจการหรือบริหารราชการแผ่นดินอย่างเดียวกันนั้นอีกก็ต้องหาทางป้องกันผลร้ายนั้นเสียก่อน เป็นต้น

    จากธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ทรงมีสิทธิทั้ง 3 ประการนี้ จะเห็นได้พระราชอำนาจที่แท้จริงของพระมหากษัตริย์ในทางรัฐธรรมนูญคือ พระราชอำนาจที่จะได้รับการกราบบังคมทูลและการปรึกษานั้นเอง (the right to be informed and the right to be consulted)
    แต่การที่พระมหากษัตริย์จะทรงใช้สิทธิตามพระราชอำนาจทั้งสามประการดังกล่าวได้ ในกรณีปัญหาสำคัญ ๆ หรือเกี่ยวกับการผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น รัฐทูต ฯลฯ ย่อมเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่จะถวายเรื่องต่าง ๆ ให้พระมหากษัตริย์ทรงทราบก่อนหน้าที่คณะรัฐมนตรีจะได้ตัดสินใจเด็ดขาดเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ในการเข้าเฝ้าของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีนั้นต่อหน้าพระมหากษัตริย์คณะรัฐมนตรีย่อมปรากฏออกมาในฐานะที่เป็นเอกภาพ (unity) แม้ว่าจะมีวามเห็นแตกต่างกันของบุคคลในคณะรัฐมนตรีก็ตาม แต่เมื่อจะเข้าเฝ้าทราบบังคมทูลเพื่อว่าพระมหากษัตริย์จะได้ทรงปรึกษาหารือแนะนำตักเตือนก็ต้องกราบทูลข้อเท็จจริงทรงทราบทุกทางและอย่างตรงไปตรงมา เพื่อว่าพระมหากษัตริย์จะได้ทรงปรึกษาหารือแนะนำตักเตือนได้โดยรอบคอบยิ่งขึ้น เมื่อพระมหากษัตริย์ได้รับทราบข้อความต่าง ๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินแล้วก็อาจทรงเรียกนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปเพื่อให้อธิบายและชี้แจงความคิดเห็น พระมหากษัตริย์อาจให้คำปรึกษาว่า นอกจากจะดำเนินนโยบายตามที่คณะรัฐมนตรีดำริแล้วยังอาจมีนโยบายทางอื่นเผือเลือก (alternative policy) อีก ในกรณีที่ทรงเห็นด้วยก็จะได้ทรงสนับสนุนให้กำลังใจ และในกรณีที่ไม่เสียต่อการวางพระองค์เป็นกลาง พระมหากษัตริย์อาจทรงร่วมมือปฏิบัติการกับรัฐบาล เช่น ทรงชักชวนให้ราษฎรประหยัดทรัพย์ในเวลาที่รัฐกำลังผจญกับปัญหาเรื่องการเงินได้ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่ทรงเห็นด้วย ก็จะทรงทักท้วงตักเตือนให้เห็นภัยของการดำเนินตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงทักท้วงเช่นนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะต้องประชุมปรึกษาหารือกันใหม่ คณะรัฐมนตรีอาจยืนยันตามความเห็นเดิมได้ซึ่งพระมหากษัตริย์ก็ต้องทรงยอมรับ เพราะคณะรัฐมนตรีต่างหากเป็นผู้รับผิดชอบต่อรัฐสภา

    สิทธิที่ทรงจะแนะนำนี้ สำหรับประเทศไทยเป็นที่มาของโครงการตามพระราชดำริ คือ พระมหากษัตริย์ทรงแนะนำให้คณะรัฐมนตรีทราบ และคณะรัฐมนตรีได้ปรึกษาหารือ ถ้าเห็นว่าไม่ควรจะปฏิบัติตามคำแนะในโครงการที่พระมหากษัตริย์แนะนำ ก็ไม่ปฏิบัติตาม แต่ถ้าเห็นชอบตามที่พระมหากษัตริย์แนะนำก็นำคำแนะนำไปปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติในโครงการพระราชดำรินี้ มิใช่เป็นการกระทำของพระมหากษัตริย์ แต่เป็นการกระทำของคณะรัฐมนตรีเองโดยตรง ดังนี้โดยแท้จริงแล้ว งานต่างๆที่เป็นโครงการพระราชดำริทั้งหลาย มิใช่งานที่พระมหากษัตริย์ทรงกระทำ แต่เป็นงานของฝ่ายบริหารที่กระทำและอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร

    2.3 พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทางสังคม

    พระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์เป็นพระราชอำนาจที่สืบเนื่องมาจากพระราชอำนาจตามธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญในทางการที่จะทรงได้รับการปรึกษาหารือแนะนำตักเตือน โดยที่นำแนะนำตักเตือนของพระมหากษัตริย์จะมีผลให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ตุลาการ พรรคการเมือง ราษฎร เชื่อฟังยอมรับและน้อมนำไปปฏิบัติตามเพียงใดขึ้นอยู่พระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ โดยพระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์จะเกิดขึ้นและจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้

    (1) ความจงรักภักดี

    พระมหากษัตริย์บางพระองค์ราษฎรรักมากบางพระองค์ราษฎรรักน้อย ฉะนั้นอำนาจในทางสังคมของพระมหากษัตริย์ในการที่จะทรงแนะนำทักท้วงหรือตักเตือนคณะรัฐมนตรี รัฐสภา ตุลาการ จึงขึ้นอยู่ที่ว่า ราษฎรมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์มากน้อยเพียงใด โดยเหตุนี้ตำรารัฐธรรมนูญที่เขียนโดยบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายซ้ายของประเทศอังกฤษ จึงพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่าการมีพระมหากษัตริย์ไม่มีประโยชน์อะไรนัก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ราษฎรมีความจงรักภักดี เพราะพวกฝ่ายซ้ายได้ระแวงว่าพระมหากษัตริย์จะเป็นฝ่ายนายทุน ส่วนหนังสือพิมพ์ที่เป็นฝ่ายทุนก็ได้พยายามที่จะสร้างและทวีความจงรักภักดีของราษฎรยิ่งขึ้น โดยการพิมพ์รูปพระมหากษัตริย์และพระประยูรญาติที่ไปงานสังคมและงานสงเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อให้ราษฎรเกิดความเลื่อมใส อำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์อันเนื่องจากความจงรักภักดีของราษฎรนี้ เกิดจากการที่คณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำพรรคการเมืองเกรงว่า ถ้าจะแสดงตนเป็นปรปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์แล้ว ในการเลือกตั้งคราวหน้าพรรคการเมืองของตนจะไม่ได้เป็นฝ่ายข้างมากในรัฐสภา และโดยเหตุนั้นพรรคการเมืองนั้นจะไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลอีก
    สำหรับประเทศไทย ความจงรักภักดีของราษฎรที่มีต่อพระมหากษัตริย์มิได้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้นหรือปัจจุบันทันด่วน ความจงรักภักดีของราษฎรที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยได้มีสืบเนื่องมายาวนานในหลายรัชสมัยทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ไทยต่อละพระองค์ได้สะสมคุณงานความดีแก่ราชวงศ์จักรีสืบเนื่องมาก และรัฐสยามหรือรัฐไทยได้ก่อเกิดขึ้นโดยพระรากิจจานุวัตรของพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะอย่างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ที่ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 42 ปี ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงราชย์ยาวนานก็ยิ่งเป็นการสร้างสะสมพระบารมีและนำพาประเทศไปสู่ความเจริญมาขึ้น และสืบเนื่องจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงราชย์ยาวนานเกินกว่า 60 ปี โดยตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ประกอบพระราชกิจจานุวัตรเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนชาวสยามหรือชาวไทยมาโดยตลอด ก็ยิ่งเป็นสะสมความจงรักภักดีของราษฎรที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยมากยิ่งขึ้นกว่าความจงรักภักดีของราษฎรต่อพระมหากษัตริย์ในบางประเทศ พระราชอำนาจทางสังคมพระมหากษัตริย์ไทยก็จะมีมากขึ้นตามความจงรักภักดีของราษฎรที่มากนั้นเอง

    (2) พระราชบุคลิกลักษณะและพระราชกิจจานุวัตรของพระมหากษัตริย์

    การปรึกษาหารือหรือสนับสนุนหรือตักเตือนของพระมหากษัตริย์จะมีอำนาจในทางสังคมเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับพระราชบุคลิกลักษณะและพระราชกิจจานุวัตรของพระมหากษัตริย์ส่วนหนึ่งด้วย บุคลิกลักษณะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงฉลาดและเจนจัดนั้นมีผลทำให้คณะรัฐมนตรีน้อมรับนำปฏิบัติ แต่จะต้องประกอบด้วยพระราชกิจจุนวัตรที่งดงามทั้งด้านการเมือง สังคมและพระราชจริยานุวัตรส่วนพระองค์ด้วย

    ก. พะราชบุคลิกลักษณะ

    พระราชบุคลิกลักษณะขององค์พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ย่อมแตกต่างมากน้อยกันไป แต่ถ้าบุคลิกลักษณะของพระมหากษัตริย์มีความเฉลียวฉลาดและมีจัดเจนในงานบริหารราชการแผ่นดินก็ย่อมทำให้พระราชอำนาจทางสังคมมีมากขึ้นด้วย จึงต้องพิจารณาในสองประการ คือ

    ประการแรก ความเฉลียวฉลาด การที่องค์พระมหากษัตริย์มีความฉลาดไหวพริบ ย่อมจะทำให้คำแนะนำของพระมหากษัตริย์ย่อมมีความประสงค์จะได้ผลสำเร็จของการบริหารราชการแผ่นดินของตนเพื่อพรรคการเมืองที่ตนสังกัดจะได้คงเป็นฝ่ายข้างมากในการเลือกตั้งคราวหน้า โดยเหตุนี้ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงแนะนำนโยบายที่จะให้ประโยชน์มากกว่านโยบายของตน คณะรัฐมนตรีก็คงจะต้องกระทำ องค์พระมหากษัตริย์ที่ฉลาดจะรู้จักวิธีติดต่อกับคณะรัฐมนตรี และอาจทรงใช้อิทธิพลพระราชบารมีให้คณะรัฐมนตรีมีความเห็นคล้อยตามไปโดยไม่รู้สึกก็ได้ พระมหากษัตริย์บางพระองค์อาจมีพระทัยเข้มแข็งและอาจทำให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติตามพระราชประสงค์ได้มาก บางพระองค์ก็อ่อนแอปล่อยให้คณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำแต่ฝ่ายเดียว

    ประการที่สอง ความจัดเจน การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขถาวร ในรัชสมัยหนึ่ง ๆ มีคณะรัฐมนตรีหลายชุดผลัดเปลี่ยนกันเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ฉะนั้นจึงทรงมีความจัดเจน (experience) ในราชการแผ่นดินมากกว่าคณะรัฐมนตรี องค์พระมหากษัตริย์อาจทรงรับสั่งว่าในสมัยที่นายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นอยู่นั้น ได้เคยมีกรณีอย่างนี้และได้เคยดำเนินนโยบายอย่างนั้นอย่างนี้ผิดแผกแตกต่างกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้คิดถึงนโยบายนั้น ๆ หรือไม่ และในกรณีที่นโยบายอันก่อนนั้น ๆ เคยได้นำผลดีมาให้ พระมหากษัตริย์อาจทรงแนะนำให้ไปพิจารณาเปรียบเทียบดูว่า ผลดีที่จะพึ่งเกิดจากนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันกับผลที่ดีจะเกิดจากนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดก่อนอย่างไหนจะมากกว่ากัน แต่ถ้านโยบายอย่างเดียวกันกับนโยบายเดิมซึ่งเคยนำผลร้ายมาให้ พระมหากษัตริย์อาจทรงตักเตือนให้ระงับนโยบายนั้นเสีย หรือถ้าจะบังคับใช้นโยบายนั้นก็ให้ทางระวังและป้องกันผลร้ายที่จะพึงบังเกิดนั้นเสีย ก่อนหน้าที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายนั้น

    ข.พระราชกิจจานุวัตร

    พระราชอำนาจทางสังคมขององค์พระมหากษัตริย์จะมีมากน้อยเพียงใด นอกจากบุคลิกลักษณะแล้วจะต้องพิจารณาถึงพระราชกิจจานุวัตรขององค์พระมหากษัตริย์องค์นั้นๆ ด้วย หากพระราชกิจจานุวัตรงดงามแล้ว พระบารมีย่อมมาก พระราชอำนาจทางสังคมย่อมมากตามไปด้วย พระราชกิจจานุวัตรขององค์พระมหากษัตริย์สามารถแบ่งได้ 3 ประการคือ

    ประการแรก พระราชกิจจานุวัตรทางการเมือง
    คือ การวางพระองค์เป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อพระราชบารมีที่มีผลต่อพระราชอำนาจทางสังคม เพราะหากไม่วางตัวเป็นกลางทำการเกลียกกลั้วทางการเมืองทำการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพรรคการใดพรรคการเมืองชัดเจนก็ยิ่งทำให้พระบารมีลดน้อยถอยลง หากวางพระองค์เป็นกลางกับทุกฝ่าย เมื่อทรงแนะนำตักเตือนหรือไกล่เกลี่ยปัญหาทางการเมืองก็ยิ่งทำให้ทุกฝ่ายเชื่อฟัง

    ประการที่สอง พระราชกิจจานุวัตรทางสังคม
    คือ การสงเคราะห์ (Charity) ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์จะต้องปฏิบัติต่อราษฎรอย่างต่อเนื่อง หากองค์พระมหากษัตริย์ให้การสงเคราะห์ทางสังคมมากเพียงใด ไม่ละเลยที่จะสงเคราะห์แก่ราษฎรอย่างทั่วถึง พระราชบารมีก็ย่อมมีมาก พระราชอำนาจทางสังคมก็มีมากขึ้นตามไปด้วย หากแต่พระมหากษัตริย์พระองค์ใดเอาแต่ความสุขสบายส่วนพระองค์ไม่สนใจที่สงเคราะห์แก่สังคม ก็ยิ่งเป็นการห่างเหินจากราษฎรของพระองค์เอง ก็จะทำพระราชอำนาจทางสังคมลดน้อยเพราะราษฎรจะขาดความจงรักภักดีนั้นเอง

    ประการที่สาม พระราชจริยานุวัตรส่วนพระองค์
    คือ พระมหากษัตริย์จะต้องมีพระราชจริยานุวัตรส่วนพระองค์ที่งดงาม ไม่ประพฤติเสื่อมเสียพระเกียรติยศแห่งวงศ์สังคมกษัตริย์ เพราะราษฎรย่อมจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชจริยาวัตรที่งดงามเท่านั้น การประพฤติเสื่อมเสียพระเกียรติยศในเรื่องตัวพระองค์ ย่อมลดทอดความจงรักภักดีของราษฎรลงเท่ากับลดพระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นเอง

    บุคลิกลักษณะและพระราชกิจจานุวัตรของพระมหากษัตริย์ก่อให้เกิดความจงรักภักดีของราษฎรมากขึ้นและส่งผลต่อเนื่องถึงพลังทางสังคมที่ส่งเสริมพระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์มีมากตามไปด้วย

    (3) บุคลิกลักษณะของคณะรัฐมนตรี

    บุคลิกลักษณะของคณะรัฐมนตรี จะเป็นข้อชัดว่าพระราชอำนาจทางสังคมพระมหากษัตริย์มีมากน้อยเพียงใดด้วย โดยที่คณะรัฐมนตรีอันเป็นทำหน้าที่ฝ่ายบริหารที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีมีอุปนิสัยและความเฉลียวฉลาดมีรัฐมนตรีที่ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีที่ดี โอกาสที่จะทำน้อมนำพระราชดำรัสแนะนำตักเตือนมาปฏิบัติก็มากหรือน้อยลงแล้วแต่ว่าจะเป็นพระราชดำรัสแนะนำตักเตือนที่ดีหรือไม่ แต่โดยปกติหากนายกรัฐมนตรีเข้มแข็งและเฉลียวฉลาด โอกาสที่พระมหากษัตริย์จะทรงแนะนำตักเตือนน้อยลง พระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ก็จะน้อยลง แต่ถ้านายกรัฐมนตรีอ่อนแอและไม่เฉลียวฉลาด โอกาสที่พระมหากษัตริย์จะทรงแนะนำตักเตือนมีมากขึ้น พระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่การที่ทั้งพระมหากษัตริย์ทรงฉลาดเข้มแข็งและนายกรัฐมนตรีก็ฉลาดเข้มแข็ง การแนะนำของพระมหากษัตริย์ก็จะได้รับการปฏิบัติมากขึ้น พระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ก็มีมากด้วย และนายกรัฐมนตรีก็จะมีบารมีทางการเมืองมากตามไปด้วย

    สำหรับประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินมหาภูมิพลเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพะราชบารมีทางสังคมสูงมาก เนื่องจากทรงราชย์ยาวนาน ทรงพระราชบุคลิกลักษณะเฉลียวฉลาด มีความจัดเจนงานบริหารราชการแผ่นดิน ทรงมีพระราชสงเคราะห์ทางสังคมสูง และพระราชกิจจานุวัตรที่งดงาม จึงทำให้พระราชอำนาจทางสังคมมีสูง ส่งผลให้พระราชอำนาจตามธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญในทางปรึกษาหารือแนะนำตักเตือนสูงตามไปด้วย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการเมืองโดยพระองค์มีผลทำให้ทุกฝ่ายเชื่อฟังน้อมนำปฏิบัติ และทุกได้ยุติข้อพิพาทที่อาจก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองทั้งในคราวเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ 20 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการยากที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นในโลกจะทำได้

    2.4 พระราชอำนาจตามกฎหมายอื่นทรงถวาย
    นอกจากพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายอื่นอันได้แก่ พระราชบัญญัติอาจถวายพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ได้เช่นกัน แต่พระราชอำนาจที่ถวายนั้นส่วนมาจะเป็นพระราชอำนาจในการแต่งตั้งบุคคล ในฐานะที่พระมหากษัตริย์ส่วนหนึ่งของรัฐบาลนั้นเอง แต่ว่ากฎหมายอื่นจะกำหนดพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ไม่ได้ รวมทั้งจะตัดรอนหรือลิดรอนพระราชอำนาจไม่ได้

    จะเห็นได้ว่า พระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงเป็นประมุขของรัฐ กล่าวคือทรงเป็นผู้แทนของรัฐในความสัมพันธ์กับต่างประเทศ และเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติแล้ว ยังทรงเป็นประมุขของ “ฝ่ายบริหาร” ด้วย โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นได้ถวายพระราชอำนาจทางบริหารแด่พระมหากษัตริย์ไว้หลายประการ เช่น พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย, พระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก, พระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสินติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ, พระราชอำนาจในการพระราชอภัยโทษ, พระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนจากตำแหน่งซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

  6. ชื่อเรื่อง การวิจัย ๑. ชื่อผู้วิจัย ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย ทัศนคติที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่ม Baby boomer ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สุจิตรา ไชยจันทร์ ตลาดเก่า: ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบในฐานะแหล่งท่องเที่ยว กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล ศักยภาพและการพัฒนาองค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาเครือข่ายประชาสังคมเมืองเชียงใหม่กับการฟื้นฟูสืบสานวัฒนธรรมล้านนา เครือข่ายเมืองศิลป์อุบลราชธานี เครือข่ายชมรมเพื่อนพิพิธภัณฑ์แห่งนครปฐม และเครือข่ายตลาดเก่าและตลาดน้ำ วารุณี โอสถารมย์,สิโรตม์ ภินันท์รัชธร,อาสา คำภา, กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล พระธาตุเสด็จ: วัด ชุมชน คน พิพิธภัณฑ์ อนุชา ทีรคานนท์,สิโรตม์ ภินันท์รัชธร,อาสา คำภา โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร” แอนนา จุมพลเสถียร,สุภัควดี อภินันทร์,พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช,ประไพพิศ มุทิตาเจริญ,กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์,นาริสา เดชสุภา,อิสรา อุปถัมภ์,สุจิตรา ไชยจันทร์ ชุมชนจีนในแหล่งท่องเที่ยว: มิติใหม่ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อัจฉราพร กมุทพิสมัย,รัตนาพร เศรษฐกุล, กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล, ยุพา ชุมจันทร์ การประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA) กับกรณีความขัดแย้งระหว่างไทย – กัมพูชา อันเนื่องมาจากการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ ผลสำรวจสัมฤทธิผลของการใช้สื่อในโครงการไทยเข้มแข็ง “เศรษฐกิจไทยสร้างสรรค์” อนุชา ทีรคานนท์,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล,เอกภพ โกมลชาติ การประเมินโครงการ “เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์” ปี ๒๕๕๔ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๗ – ๒๔ เมษายน ๒๕๕๔ อนุชา ทีรคานนท์,แอนนา จุมพลเสถียร,สุภัควดี อภินันทร์,พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช,ประไพพิศ มุทิตาเจริญ,กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์,อาสา คำภา,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล,อิสรา อุปถัมภ์ สุจิตรา ไชยจันทร์ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ย่านนางเลิ้ง อนุชา ทีรคานนท์,แอนนา จุมพลเสถียร,สุภัควดี อภินันทร์,นาริสา เดชสุภา,สิโรตม์ ภินันท์รัชธร,อาสา คำภา,อิสรา อุปถัมภ์,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล,สุจิตรา ไชยจันทร์ การประเมินผลโครงการ เทศกาลเที่ยวไทย ๕ ภาค อนุชา ทีรคานนท์, แอนนา จุมพลเสถียร,ประไพพิศ มุทิตาเจริญ,สิโรตม์ ภินันท์รัชธร,อิสรา อุปถัมภ์,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล,สุจิตรา ไชยจันทร์ การประเมินผลโครงการ SMILE in the Park แอนนา จุมพลเสถียร,กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์,อิสรา อุปถัมภ์,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล,สุจิตรา ไชยจันทร์ การประเมินโครงการ “เทศกาลงานชิม อร่อยทั่วไทย อร่อยทั่วโลก” แอนนา จุมพลเสถียร,พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช,อิสรา อุปถัมภ์,สุจิตรา ไชยจันทร์ การประเมินผลโครงการ “Smile @ Khao San Road” แอนนา จุมพลเสถียร,สุภัควดี อภินันทร์,อาสา คำภา,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดปทุมธานี อนุชา ทีรคานนท์, อาสา คำภา, เอกภพ โกมลชาติ สถานการณ์ความมั่นคงของชาติมองผ่านสัมพันธภาพระหว่างคนกับรัฐ เรื่องการจัดทำหลักเขตแดน ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ การสำรวจและการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมและนิเวศวิทยา ในเขตพื้นที่อำเภอนครชัยศรีเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อนุชา ทีรคานนท์,สุภัควดี อภินันทร์,สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธร,เอกภพ โกมลชาติ การเปลี่ยนผ่านและการสลายตัวของระบบการเมืองการปกครองรัฐไท ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ กรณีศึกษา เปรียบเทียบล้านนา รัฐฉาน สิบสองปันนาและหลวงพระบาง อาสา คำภา,ชวลิต ว่องวารีทิพย์ การประเมินผลการจัดงานในโครงการเชฟกระทะเหล็กไทย…ทั่วโลก ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๗ กันยายน ๒๕๕๒ อนุชา ทีรคานนท์,แอนนา จุมพลเสถียร,วารุณี โอสถารมย์,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล,สุจิตรา ไชยจันทร์ การประเมินการจัดงานประติมากรรมเทียนนานาชาติ ระหว่างวันที่ ๑ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ จังหวัดอุบลราชธานี อนุชา ทีรคานนท์,แอนนา จุมพลเสถียร,วารุณี โอสถารมย์,กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล,สุจิตรา ไชยจันทร์ ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช: สารจากพระบรมราโชวาทพระราชดำรัส พระราชนิพนธ์ จิตรกรรมบางเรื่อง และบทเพลงพระราชนิพนธ์ วารุณี โอสถารมย์,อาสา คำภา,ปฐม ตาคะนานันท์ การเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมและคติความเชื่อการเลี้ยงผีปู่แสะ ย่าแสะ (เลี้ยงดง) อารักษ์เมืองเชียงใหม่ อาสา คำภา ผลงานวิจัยเรื่องแนวทางการจัดทำ SIA : ยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับการเมืองไทยระหว่างปี ๒๕๐๐ – ๒๕๓๕ อาสา คำภา การศึกษาประวัติศาสตร์และงานศิลปกรรมพระปฐมเจดีย์เพื่อสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยว สิโรตม์ ภินันท์รัชธร การศึกษาวิจัยเทศกาลงานประเพณีไทยเพื่อตลาดท่องเที่ยว อนุชา ทีรคานนท์,สุภัควดี อภินันทร์,แอนนา จุมพลเสถียร,ปัทมา สุวรรณภักดี,วารุณี โอสถารมย์,สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธร,อาสา คำภา,ปริญญา สัญญะเดช โครงการวิจัยเพื่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย – ลาว ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ แนวทางการพัฒนาสถานที่พักแรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ รสิตา สินเอกเอี่ยม บทบาทของวัดและพระสงฆ์ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์กับการท่องเที่ยว อนันต์ วิริยะพินิจ,ศุทธนุช วิริยะพินิจ สินค้าและตลาดในเกาะรัตนโกสินทร์ แอนนา จุมพลเสถียร ศักยภาพและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ วารุณี โอสถารมย์,สุรีรัตน์ บุบผา,เชษฐ์ ติงสัญชลี,ชาตรี ประกิตนนทการ อาหารและร้านอาหารในตัวเกาะรัตนโกสินทร์: ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว สุนทรี อาสะไวย์ การประปา: โครงการพระราชดำริในรัชกาลที่ ๕ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทย เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์ กองทัพประจำการ: องค์กรอเนกประสงค์ของระบบราชการ อัจฉราพร กมุทพิสมัย การปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว: ปัญหาและผลกระทบต่อสังคม สุนทรี อาสะไวย์ กำเนิดการศึกษาสมัยใหม่แบบรวมศูนย์สมัยรัชกาลที่ ๕: การสร้างพลเมืองดีและกำลังคนในระบบราชการภายใต้รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และผลกระทบที่มีต่อการศึกษาปัจจุบัน วารุณี โอสถารมย์ การปฏิรูปพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อนันต์ วิริยะพินิจ แนวทางการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ การพัฒนาประเทศมองผ่านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสมัยรัชกาลที่ ๕ กับสมัยปัจจุบัน: เหมืองแร่ ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ การพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูประบบดรรชนีและการอ้างอิงทางวิชาการ สุรพล ปธานวนิช,ภานุพันธ์ เฉลิมภัทรกุล การศึกษาวิธีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและประยุกต์ใช้ในการกำหนดค่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อมในการทำงานของสารโทลูอีน สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ พระเครื่อง: ความเชื่อและค่านิยมในสังคมไทย นิติ กสิโกศล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจดนตรีไทยและชุมนุมดนตรีไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กษภรณ์ ตราโมท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๓๗: การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ธุรกิจและประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม อดิศร หมวกพิมาย ระบบดาราหลังยุคมิตร ชัยบัญชา จนถึงปัจจุบัน ชวนะ ภวกานันท์ การสืบค้นเพื่อถนนปลอดภัย: โครงสร้างปัญหาของการเกิดอุบัติเหตุ อุปสรรค และกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมความปลอดภัยด้านการจราจร ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ การศึกษาและปรับปรุงระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมในประเทศไทย นาวี เจี่ยดำรง การประมาณโค้งแสดงเกณฑ์การจัดสรรน้ำ (Rule curves) ที่เหมาะสมสำหรับอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตต์ ชวลิต ชาลีรักษ์ตระกูล การศึกษาความต้องการระบบการจัดการสอนอาชีวอนามัยในการศึกษาแพทย์ระดับปริญญาบัณฑิตในประเทศไทย สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน (ปีที่ ๒) สายันต์ ไพรชาญจิตร์ โครงการศึกษาผลกระทบทางด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม โครงการท่อก๊าซธรรมชาติเส้นที่ ๓ ในทะเลและบนบก (ตะวันตก) ได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงในการควบคุมแรงงานของผู้หญิงเหนือ: กรณีศึกษาหมู่บ้านสองแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ สุชีลา ตันชัยนันท์ หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของคนไตในเมืองเชียงทุ่ง (จิ่งตง) มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน สุมิตร ปิติพัฒน์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวป่าในเขตจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย กิตติพัฒน์ อุโฆษกิจ การศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์เชิงแสง ปริญญา ตันตสวัสดิ์ การศึกษารวบรวมข้อมูลงานวิจัยด้านชีวอนามัยในประเทศไทยระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๔๔ สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ บทบาทของคณะกรรมการเลือกตั้งของประเทศไทย สีดา สอนศรี โครงการพัฒนาระบบป้องกันโจรกรรมรถยนต์และควบคุมรถยนต์ทางไกลผ่านทางเครือข่ายวิทยุติดตามตัว สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ จักรวรรดิวัตรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สุนทรี อาสะไวย์ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่ตามแนวทางพระราชดำริ ชูศรี มณีพฤกษ์ โลกของนางรำ: ตัวตน ความงามและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตของนางละครแก้บน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ไทแดงที่อำเภอบาเทื๊อก จังหวัดแทงหัว ประเทศเวียดนาม: สภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม สุมิตร ปิติพัฒน์,เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์,พิเชฐ สายพันธ์ คนไตในซือเหมา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประวัติศาสตร์การเมือง สังคมและวัฒนธรรม สุมิตร ปิติพัฒน์,เสมอชัย พูลสุวรรณ ชีวิตความคิดและการเดินทางของ ศ. ดร. คุณบรรจบ พันธุ์เมธา นักสืบภาษาและนักมานุษยวิทยาสตรีคนแรกของไทย สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ ระบบประดิษฐ์ปริศนาอักษรไขว้ภาษาไทย สุวรรณ รุ่งกีรติกุล ผลการใช้เศษอาหารหมักเป็นแหล่งพลังงานในอาหารลูกสุกรหย่านม กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ ตัวบ่งชี้และพัฒนาการการรับรู้ของเยาวชนไทยเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในโทรทัศน์ สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ ไย้ ไต เกาลาน กลุ่มชาติพันธุ์ไทในเวียดนามเหนือ สุมิตร ปิติพัฒน์ คนไทในเวียดนาม: ภาษาและวัฒนธรรม วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ประชาพิจารณ์ การแก้ไขความขัดแย้งและเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาครัฐและประชาชน: ประสบการณ์ของประเทศตะวันตกกับข้อเสนอในการใช้ในสังคมไทย พัชรี สิโรรส สัญลักษณ์ “ผี” ในความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวผู้ไท: ศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผู้ไทในประเทศไทยและประเทศลาว พิเชฐ สายพันธ์ ความเชื่อและพิธีกรรมของคนไทอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย สุมิตร ปิติพัฒน์,ดำรงพล อินทร์จันทร์ การศึกษาค่านิยมและทัศนคติของสังคมไทยต่อปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง วันทนีย์ วาสิกะสิน การพัฒนารูปแบบทีมการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศิริพร ขัมภลิขิต,สุพรรณ์ ว่องรักษ์สัตว์,ณฐวรรณ รักวงศ์ประยูร,มยุรี นิรัตธราดร,พยอม อยู่สวัสดิ์ โขนธรรมศาสตร์: งานเขียนและความคิดม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อัจราพร กมุทพิสมัย พจนานุกรมรัสเซีย – ไทย ขนาด ๓๕,๐๐๐ คำ (การออกเสียง ความหมาย และการใช้) รมย์ ภิรมนตรี ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในล้านนาและศักยภาพชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการยั่งยืน สายันต์ ไพรชาญจิตร์ มิติความคิดของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ศึกษาจากคอลัมน์ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ (พ.ศ. ๒๔๙๓ – ๒๕๓๘) ม.ล. วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ เครื่องจักสานของพวนในประเทศลาวและไทย เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์ การจัดทำบทคัดย่องานวิจัยของสถาบันไทยคดีศึกษา (พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๔๐) ภาษาอังกฤษ อำนาจ บุญศิริวิบูลย์ การเกื้อหนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ (พื้นที่ศึกษาในเขตภาคใต้) ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ลักษณะบุคลิกภาพของนักศึกษาไทย ๖ สาขาอาชีพ (กฎหมาย,คอมพิวเตอร์,แพทยศาสตร์,มนุษยศาสตร์,วิศวกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์)จากการชี้วัดของ Myers Briggs Type indicator (MBTI) ศรีเรือน แก้วกังวาล การศึกษาบทบาทเพื่อการพัฒนา: กรณีศึกษาหมู่บ้าน วรวรรณ ศุภจรรยา ลาวโซ่งกับคริสต์ศาสนา (การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและความเชื่อของลาวโซ่ง) เสมอชัย พูลสุวรรณ กลุ่มชาติพันธุ์ไทแดงในแขวงหัวพัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สุมิตร ปิติพัฒน์,พิเชฐ สายพันธ์,ศิรินทร์ ใจเที่ยง,สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์,สุนิสา ฉันท์รัตนโยธิน งานบุญปีใหม่เมืองหลวงพระบาง สุมิตร ปิติพัฒน์,พิเชฐ สายพันธ์,ธารารัตน์ เจริญสนธิชัย,ดำรงพล อินทร์จันทร์ คนไทในลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนบน เสมอชัย พูลสุวรรณ ชุมชนไตใหญ่ร่วมสมัยกับกระบวนการสร้างสำนึกชาติพันธุ์: กรณีเมืองน้ำคำ รัฐไตใหญ่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เสมอชัย พูลสุวรรณ,สุมิตร ปิติพัฒน์,พิเชฐ สายพันธ์,ธารารัตน์ เจริญสนธิชัย,ดำรงพล อินทร์จันทร์ กลุ่มชาติพันธุ์กะลอม: ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ความเชื่อประเพณีและพิธีกรรม แขวงหลวงน้ำทาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สุมิตร ปิติพัฒน์,สุดแดน วิสุทธิลักษณ์,ภาคภูมิ โกกะอินทร์ ชุมชนไทในพม่าตอนเหนือ: รัฐฉานตอนใต้ ภาคมัณฑะเลย์ คำตี่หลวง สุมิตร ปิติพัฒน์,ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกุล,เสมอชัย พูลสุวรรณ,วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ไตเมิงขาง: รายงานการศึกษาคนไทในรัฐคะฉิ่น สุมิตร ปิติพัฒน์,เสมอชัย พูลสุวรรณ,ภูมิพัฒน์ เชติยานนท์ ศาสนาและความเชื่อไทดำในสิบสองจุไท ประเทศเวียดนาม สุมิตร ปิติพัฒน์ ประวัติและพัฒนาการของชุมชนหมู่บ้านบริเวณ ทะเลสาบเขมร อำนาจ บุญศิริวิบูลย์,วารุณี โอสถารมย์,นาริสา เดชสุภา,เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์,จันทรา อนุสรณ์วัฒนกุล นักเรียนอาชีวศึกษาตีกัน เชิงจิตวิทยาสังคม อำนาจ บุญศิริวิบูลย์ ชนิด ปริมาณ และการแพร่กระจายของสาหร่าย บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อัญชลี จาละ บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในการทำงานสหวิชาชีพ: ทัศนะของนักสังคมสงเคราะห์และสหวิชาชีพ ศรีทับทิม พานิชพันธ์ กฎหมายกับเศรษฐกิจของประเทศไทย นิพนธ์ พัวพงศกร,วิจิตรา ฟุ้งลัดดา,บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ,แก้วสรร อติโพธิ,ภิรมณ์ จั่นถาวร,วัชรียา โตสงวน,พนม เอี่ยมประยูร,นริศ ชัยสูตร,สุดา วัชรวัฒนากุล ๒. ชื่อหน่วยงานที่ให้ทำวิจัย – รับทำวิจัย สืบค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูล – ให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ IS ในทุกขั้นตอน – ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ตรวจงานทุกชิ้นด้วย Turn It In ก่อนส่ง) – วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่องานวิจัยและการวางแผนทางธุรกิจ – วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วย SPSS STATA EVIEW AMOS และ LISREL (ทีมแรกและทีมเดียวที่วิเคราะห์ได้ทุกโปรแกรม) ให้คำปรึกษางานวิจัยปริญญาเอกและปริญญาโท ด้านการออกแบบงานวิจัย การสืบค้นและการรวบรวมข้อมูลและเก็บแบบสอบถาม(หน่วยตัวอย่าง) และวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือดุษฏีนิพนธ์ สำหรับนักวิจัยมือใหม่ / นักศึกษา หรือแม้กระทั่งนักวิจัยหน้าเก่าฝีมือดีแต่ต้องทำวิจัยในสาขาหรือมีรายละเอียดที่ซับซ้อนขึ้น ต้องใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์/สถิติ/เศรษฐมิติ แบบจำลอง หรือโปรแกรมการวิเคราะห์ที่ใช้ค่อนข้างยากและไม่เคยเรียนการใช้มาก่อน คู่มือ(ภาษาไทย)น้อย/หายาก/ไม่มีเลย มักจะเบื่อหน่าย ท้อแท้ หรือเลิกล้มความตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเจอกรรมการที่ค่อนข้างละเอียด เข้มงวดหาตัวจับยาก การทำวิจัยให้เสร็จสมบูรณ์ ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเวลาและเทคนิค หากขาดที่ปรึกษาหรือผู้ให้คำแนะนำในแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง ตั้งแต่การทบทวนทฤษฏี ( Theoretical Framework) และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง( Related Research) ฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะในระดับปริญญาเอก วิธีการเรียบเรียง (เพื่อป้องกัน Plagiarism) สถิติ/เศรษฐมิติ แบบจำลอง และโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสพอสมควร บางราย Drop และบางรายเลิกเรียนหรือเลิกทำไปเลยก็มี การใช้บริการที่ปรึกษาหรือผู้ช่วยเป็นทางเลือกที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับบางกรณี บางปัญหา และบางช่วงเวลา (รีบเร่ง,ใกล้ส่ง,เจ็บป่วย,ย้ายที่ทำงาน,ย้ายบ้าน,ทะเลาะกับแฟน,มีปัญหาที่ทำงาน ฯลฯ แต่ยังวิเคราะห์ไม่ได้) นักวิจัย/นักศึกษา จำเป็นต้องมีข้อมูล และ เข้าใจรายละเอียดพอสมควร (ปานกลางถึงมาก) ว่ามี คำหลัก คำสำคัญ อะไร? , แบบจำลอง สถิติ ตัวไหน? ควรใช้ข้อมูลประเภทไหน? ค้นหรือรวบรวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร จากไหน? สำหรับการพูดคุย สอบถาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการป้องกันความเสี่ยงว่าบุคคลที่เราอยากใช้บริการให้เป็นผู้ช่วย มีความรู้ มีความสามารถ เพียงพอหรือไม่ การนัดเจอ หรือแม้กระทั่งการมีหน้าร้าน รวมไปถึงการทำนิติกรรมสัญญาใด ๆ สำหรับการจ้างทำงานวิจัย ค่อนข้างเสียเปล่า และไม่สามารถป้องกันความล้มเหลว อาการมั่ว งึมงำ ล่าช้า หรือผิดพลาดในประเด็นสำคัญ ได้ดีไปกว่าการวัดความรู้ จากการสอบถามวัดความรู้ด้วยคำหลัก คำสำคัญ วิธีการ สถิติ และแบบจำลองต่าง ๆ โดยเฉพาะงานด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน กฎหมาย หรือสาขาสังคมศาสตร์ทั่วไป แต่กำหนดวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ยากและซับซ้อน (Multivariate) ซึ่งยากกว่าการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน และปัจจัยแห่งความสำเร็จของงาน คือ “ศักยภาพ” ของบุคคล/ทีม ที่เราเลือกใช้บริการ เพราะผู้รับจ้างหรือทีมที่รับจ้าง โดยทั่วไปย่อมอยากได้งานและให้คำมั่นสัญญาว่างานดี มีคุณภาพ รับผิดชอบงานจนผ่าน —–> แต่จะผ่านได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความรู้พื้นฐานในองค์ความรู้ในสาขานั้น ๆ ระเบียบวิธีวิจัยไม่แม่น ฐานข้อมูลไม่เป็น โปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์ไม่คล่อง ประสบการณ์ไม่พอ ดังนั้น การเตรียมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน รอบด้าน สำหรับซักถามในทุกจุดที่คิดว่าเป็นรายละเอียดที่มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่สุด ถ้าคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่เผชิญปัญหา….. 1. ความยากของงานวิจัย 2. ความอ่อนเทคนิคในด้านการสืบค้นข้อมูล การเขียน การวิเคราะห์ ไม่รู้จะค้นอย่างไร ไม่รู้จะเขียนอย่างไร ไม่รู้จะวิเคราะห์อย่างไร มองไปทางไหนก็มืดไปหมด 3. ความไม่มีเวลา เพราะมีภารกิจมากมายให้ปวดหัวและรับผิดชอบ 4. ความท้อแท้ ที่เกิดจากความยุ่งยากของกระบวนการวิจัย 5. ความไม่พร้อมของอาจารย์ที่ปรึกษา ของแหล่งข้อมูล ของประชากร ของตัวแปรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในงานวิจัย 6. ความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่าย ไม่มีเงินค่าหน่วยกิตหรือค่าเทอมแพงมาก (ภาคพิเศษ,ผู้บริหาร,แม้กระทั่งภาคปกติ) ต้องรีบเรียนให้จบ(ไม่งั้นลงทะเบียนรักษาสถานภาพและเสียเวลา) เราเข้าใจปัญหา ความยุ่งยาก และเงื่อนไขที่แก้ไม่ได้เหล่านี้ จากการรับฟัง เรียนรู้ การทำงาน ทำให้เราเเป็นเพื่อนร่วมทางสำหรับคุณ รับทำวิจัยตลาด (Marketing Research) Marketing Strategy , IMC วิจัยทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ ; ดัชนีตลาด,ดัชนีราคา,ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน,การส่งผ่านความผันผวน(Volatiliyy Transmission),CAPM&SIM,การทดสอบประสิทธิภาพตลาด etc. การจัดการ (Management) ; วัฒนธรรมองค์การ , การจัดการความขัดแย้ง , แรงจูงใจและภาวะผู้นำ , การเพิ่มประสิทธิภาพ , การวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผล , etc. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการแข่งขัน ; Five Force Model SWOT,Diamond Model,etc จัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน (Feasibility) วิเคราะห์โครงการ (Project Analysis) วิเคราะห์กระแสเงินสด (Cash Flow Analysis) etc. การวิเคราะห์ต้นแบบ และการสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพ ; KPI ,Balance Scorecard etc. วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SAS LIMDEP LISREL EVIEW และ SPSS ให้คำปรึกษาการทำวิจัย ปัญหาวิทยานิพนธ์ปริญญาโทและปริญญาเอกทุกขั้นตอน ทำวิจัยเรื่องอะไรดีที่ตอบโจทย์ปัญหาที่ต้องการวิจัย มีหัวข้อวิจัย แต่หาทฤษฏีและงานวิจัยสนับสนุนไม่ได้ ข้อมูลที่อยู่ในรูปอนุกรมเวลาต่าง ๆ ต้องใช้เวลาในการรวบรวมค่อนข้างมาก และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ ต้องมีงานวิจัยอ้างอิงต่างประเทศด้วยจึงจะได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือ ปัญหาคืออ่าน BangkokPost หน้าแรกก็ไมเกรนขึ้นแล้ว ทำไงดี กฎหมายไทยก็ว่าหายาก ค้นกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำมาเปรียบเทียบจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษและอยู่ตามเวปไหนบ้างก็ไม่รู้ ระเบียบวิธีวิจัยยากสุด ๆ ใช้สถิติตัวไหนดี แบบจำลองอะไรที่สอดคล้อง นอกจาก ANOVA แล้วไม่รู้จัก ยิ่งงานการเงินและเศรษฐศาสตร์ทั้ง ECM , Cointegration, ตระกูล Garch อีกเป็นสิบ แถมต้องทดสอบปัญหา Auto , Hetero และ Multicol อีกต่างหาก ใช้ SPSS ไม่เป็น , EVIEW คืออะไร , SAS มีด้วยเหรอ , LISREL ยากสุด ๆ ๆ ๆ แล้วจะประมวลผลวิเคราะห์ผลกันยังไง จะเก็บแบบสอบถามยังไงไหว 400 ชุด และทำไมต้อง 400 ชุด น้อยกว่านี้ไม่ได้เหรอ , ทำไมต้องเป็น Yamane คนอื่น ๆ ไม่มีหรือไง จะเก็บจริง 400 แค่เดินไปหน้า 7-11 เห็นคนเดินออกมาหน้าบึ้งก็ไม่กล้าเข้าไปให้ช่วยแบบสอบถามแล้ว กลัวการปฏิเสธ ถ้าตัดปัญหาเรื่องขี้เกียจออกไปแล้ว ปัญหางานวิจัยของคนไม่เคยทำวิจัยจะมีวนเวียนอยู่ประมาณนี้ ที่สำคัญคือ ไม่มีเวลาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เทพเท่าที่ควร ค้นงานวิจัย สืบค้นทฤษฏี ข้อมูลจึงทำได้ยาก ต่าง ๆ เหล่านี้ เราช่วยคุณให้งานยากแสนยาก กลายเป็นเรื่องง่าย(ขึ้น) โดยเฉพาะการประมวลผลข้อมูลซึ่งเราสามารถให้คำปรึกษาช่วยเหลือคุณได้ทุกโปรแกรม ในเวลาอันรวดเร็ว เหนือความคาดหมาย ด้วยทีมสนับสนุนที่มีความรู้ ประสบการณ์ สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปทั้งไทยและต่างประเทศ ประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ๓. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อรวบรวมข้อมูลและศึกษาแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรม ที่เป็นสาเหตุของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคกิจกรรมต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย ภาคพลังงาน (Energy), ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม (Industrial Processes) ซึ่งจะรวมอุตสาหกรรมการผลิตตัวทำละลายและอุตสาหกรรมที่มีการใช้ตัวทำละลายด้วย (Solvent and Other Product Use), ภาคการเกษตร (Agriculture), ภาคการใช้พื้นที่และป่าไม้ (Land-Use Change and Forestry), และ ภาคของเสีย (Waste) 2. เพื่อศึกษาและเสนอแนะค่าการปลดปล่อย (Emission Factor) ก๊าซเรือนกระจก 6 ชนิดตามพิธีสารเกียวโต ซึ่งจำแนกความจำเพาะของค่าการปลดปล่อยตามกิจกรรมในแต่ละสาขา ชนิดเชื้อเพลิงหรือพลังงาน รวมทั้งประเภทของเทคโนโลยีการใช้พลังงานหรือเทคโนโลยีในกระบวนการอุตสาหกรรม 3. เพื่อศึกษาแนวทางการนำแบบจำลองมาใช้ในการพยากรณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีการดำเนินงานตามปกติ (BAU case) และในกรณีอื่นๆ 4. เพื่อประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ฐานข้อมูลของข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) และค่าการปลดปล่อย (Emission Factor) ก๊าซเรือนกระจก จากภาคเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะนโยบายและโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถใช้งานในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการนำมาใช้ในโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดได้ 2. การมองภาพอนาคต (Scenario) ของการลดก๊าซเรือนกระจก และบทวิเคราะห์ศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ 3. แบบจำลอง (Model) ที่เหมาะสมในการศึกษาการลดก๊าซเรือนกระจกในอนาคต 4.จัดทำคู่มือการใช้แบบจำลอง (Model) และขั้นตอนวิธีการในการทำงาน ๔. ขอบเขตการวิจัยด้านพื้นที่และประชากร ในการเขียนโครงการวิจัย เมื่อได้ปัญหา วัตถุประสงค์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญตามมา คือ แบบแผนการวิจัย ซึ่งเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่บอกให้ทราบว่านักวิจัยจะต้องทำอะไร เพื่อให้ได้แผนการดำเนินการวิจัยที่เหมาะสมกับปัญหา โดยเฉพาะในการวิจัยเชิงปริมาณที่มีการหลักการวางแผนที่เป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพมีการวางแผนที่ยืดหยุ่นกว่าและสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอดเวลาที่เก็บข้อมูลเมื่อเห็นว่าสิ่งที่วางแผนไม่เหมาะสม ดังนั้นเนื้อหาในตอนนี้จะนำเสนอหลักการต่างๆในการวางแผนของการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ คือ ความหมายของแบบแผนการวิจัย จุดมุ่งหมายของแบบแผนการวิจัย ขั้นตอนของแบบแผนการวิจัย และเกณฑ์ที่ใช้สำหรับแบบแผนการวิจัย สำหรับขั้นตอนของแบบแผนการวิจัยประกอบด้วยการกำหนดรูปแบบการวิจัย ขอบเขตการวิจัย และแนวทางการวิจัย โดยผู้เขียนได้ให้รายละเอียดของประชากรและกลุ่มตัวอย่างอยู่ในหัวข้อแนวทางการวิจัย ดังมีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ต่อการเขียนโครงการวิจัย ดังนี้ ความหมายของแบบแผนการวิจัย แบบแผนการวิจัย หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า research design เป็นการวางแผนการดำเนินการวิจัย ที่ผสมผสานทฤษฎี แนวคิด ข้อมูล และแนวทางดำเนินงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบมาตอบประเด็นปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแบบแผนการวิจัยจึงแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างปัญหาการวิจัยและการวางแผนตรวจสอบโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อเชื่อมโยงสู่ปัญหาการวิจัย (Kerlinger,2000) Kerlinger (1986:276 อ้างถึงใน Kumar, 1996) ให้ความหมายของแบบแผนการวิจัย ว่าเป็นแผนงาน โครงสร้าง และกลวิธี ของการตรวจสอบเพื่อนำไปสู่การตอบคำถามหรือปัญหาการวิจัย การวางแผนที่ต้องครอบคลุมโครงการวิจัย ทำให้เห็นเค้าโครงว่าต้องทำอะไร จากการเขียนสมมติฐานและการนิยามปฏิบัติการไปสู่ การวิเคราะห์ผล Thyer (1993:94 อ้างถึงใน Kumar, 1996) ให้ความหมายว่า พิมพ์เขียว (blueprint) หรือรายละเอียดของแผนเพื่อให้เห็นว่าต้องทำวิจัยอย่างไรจึงจะสมบูรณ์ ตั้งแต่การนิยามการวัดตัวแปร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานและการวิเคราะห์ผล โดยสรุป แบบแผนการวิจัย หมายถึง กระบวนการวางแผนที่ทำให้ผู้วิจัยสามารถตอบคำถามการวิจัยได้ด้วยความตรง (validity) มีความเป็นปรนัย (objectively) ถูกต้อง (accurately) และประหยัด (economically) อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากความหมายของแบบแผนการวิจัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่าแบบแผนการวิจัยเป็นเรื่องของการวางแผนวิธีการทำวิจัย โดยเป็นการวางแผนเกี่ยวกับ 1. การกำหนดตัวแปรและการสร้างเครื่องมือ (ตัวแปรที่ต้องการเก็บข้อมูล, เครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ) 2. วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล (เก็บข้อมูลจากใครบ้าง จำนวนเท่าไร เก็บอย่างไร) 3. วางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากที่เก็บข้อมูลได้แล้ว (วิเคราะห์อย่างไรให้ตรงวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย ใช้สถิติอะไร แปลความหมายอย่างไร นำเสนอผลการวิเคราะห์อย่างไร) จุดมุ่งหมายของแบบแผนการวิจัย 1) เพื่อให้ได้แนวทางในการตอบปัญหาการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีความตรงทั้งความตรงภายในและความตรงภายนอก ที่ประหยัดทรัพยากร 2) เพื่อควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในการวิจัย (variance control)ได้แก่ (นงลักษณ์ วิรัชชัย,2543) 2.1) ทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรที่ศึกษาหรือความแปรปรวนมีระบบ (systematic variance) มีค่าสูงสุด (to maximize the variance of the variable) ทำให้ตัวแปรที่เลือกมาศึกษาแสดงความแปรปรวนในกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรที่ต้องการศึกษาให้มากที่สุด การเพิ่มความแปรปรวนของตัวแปรที่ศึกษาให้มีค่าสูงสุด ทำได้โดย การเลือกกลุ่มตัวอย่างให้เป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากร และการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยโดยรวมตัวแปรต้นทั้งหมดมาศึกษา 2.2) ลดความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนแบบสุ่มที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนในการวัดตัวแปรให้มีค่าต่ำสุด (to minimize the error) เป็นความพยายามลดความคลาดเคลื่อนในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยความคลาดเคลื่อนนี้อาจเกิดขึ้นจากเครื่องมือที่ใช้ หรือผู้เก็บข้อมูลเอง หรือกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายก็เป็นได้ การลดความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อนให้เหลือน้อยที่สุด ทำได้โดยการเพิ่มความแปรปรวนมีระบบโดยการเพิ่มตัวแปรต้นในการวิจัยก็จะทำให้ความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนลดลง และการลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากกระบวนการวิจัยที่นักวิจัยกำหนดแผนไว้ เช่น ความคลาดเคลื่อนจากการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (sampling error) ความคลาดเคลื่อนในการวัด (sampling error) ความลำเอียงในการทดลอง การขาดหายไปของข้อมูล ความผิดพลาดในการลงรหัสข้อมูล การคำนวณหรือวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น 2.3) ควบคุมความแปรปรวนที่เกิดจากตัวแปรแทรกซ้อน (to control the variance of extraneous or “unwanted” variables) เป็นกลวิธีที่สำคัญในการกำหนดแบบแผนใน
  7. ประเภทของการวิจัย
    การที่จะแบ่งการวิจัยออกเป็นกี่ประเภทนั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งว่าจะยึดถือสิ่งใดเป็นเกณฑ์หรือเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะการใช้เกณฑ์ต่างกัน ก็จะแบ่งการวิจัยออกเป็นประเภทต่าง ได้ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ประเภทของการวิจัยจึงแบ่งกันได้หลายแบบเพราะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งดังกล่าวแล้ว ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงประเภทของการวิจัยโดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ กัน
    1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย

    การแบ่งประเภทของการวิจัยโดยใช้จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่งนั้น อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
    1. การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) เป็นการวิจัยเพื่อที่จะนำผลที่ได้นั้นไปใช้ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เช่น การวิจัยเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา” การวิจัยนี้ต้องการจะทดสอบว่า ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีความคล้อยตามกันหรือสัมพันธ์กันกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาวิทยาศาสตร์หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะนำผลที่ได้ไปทำนายว่านักเรียนที่มีผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ดีจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีเพียงใด แต่การพยากรณ์นี้เป็นการพยากรณ์นักเรียนทั้งกลุ่ม มิได้พยากรณ์เป็นรายบุคคล และมิได้หมายความว่าจะถูกต้องเสมอไป เพราะอาจมีสาเหตุอื่นมากมายที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ได้
    2. การวิจัยเชิงวินิจฉัย (Diagnostic research) เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มชน หรือชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหา เข้าใจในพฤติกรรม ตลอดจนเข้าใจในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอันจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ อนุเคราะห์ และทำการแก้ไขต่อไป การวิจัยประเภทนี้นักสังคมสงเคราะห์นิยมใช้กันมาก เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุด
    3. การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research) เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การวิจัยประเภทนี้จะพยายามชี้ให้เห็นว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใดบ้าง และสัมพันธ์กันอย่างไรในเชิงของเหตุและผล
    2. แบ่งตามประโยชน์ของการวิจัย

    การแบ่งประเภทของการวิจัยโดยยึดประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยเป็นเกณฑ์นั้น เราจะต้องพิจารณาว่าในการทำการวิจัยมุ่งที่จะนำผลไปใช้ประโยชน์หรือไม่ ดังนั้นจึงสามารถแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) หรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) หรือการวิจัยเชิงทฤษฎี (Theoretical research) เป็นการวิจัยที่เสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างเป็นทฤษฎี หรือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยมิได้คำนึงว่าความรู้นั้นจะนำไปแก้ปัญหาใดได้หรือไม่ การวิจัยประเภทนี้มีความลึกซึ้งและสลับซ้อบซ้อนมาก เช่น การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
    2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research) หรือการวิจัยเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ (Operational research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้หรือวิทยาการต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติหรือเป็นการวิจัยที่นำผลที่ได้ไปแก้ปัญหาโดยตรงนั่นเอง การวิจัยประเภทนี้อาจนำผลการวิจัยพื้นฐานมาวิจัยต่อแล้วทดลองใช้ เช่น การวิจัยเกี่ยวกับอาหาร ยารักษาโรค การเกษตร การเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะแยกการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ออกจากกันได้โดยเด็ดขาด
    3. แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

    วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิจัยนั้นมีหลายวิธี ดังนั้นจึงมีผู้แบ่งประเภทของการวิจัยตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
    1. การวิจัยจากเอกสาร (Documentary research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน จดหมายเหตุ ศิลาจารึก แล้วเสนอผลในเชิงวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เอกสารที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมนี้จะอยู่ในห้องสมุด ดังนั้นจึงอาจเรียกการวิจัยประเภทนี้อีกอย่างหนึ่งว่า การวิจัยจากห้องสมุด (Library research)
    2. การวิจัยจากการสังเกต (Observation research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การวิจัยประเภทนี้นิยมใช้มากทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลในสังคมในแง่ของสถานภาพ (Status) และบทบาท (Role)
    3. การวิจัยแบบสำมะโน (Census research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากร
    4. การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง (Sample survey research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
    5. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นการวิจัยที่นักสังคมสงเคราะห์นิยมใช้มาก ที่เรียกว่าการศึกษาเฉพาะกรณีก็เพราะเป็นการศึกษาเรื่องที่สนใจในขอบเขตจำกัดหรือแคบ ๆ และใช้จำนวนตัวอย่างไม่มากนัก แต่จะศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่จะทำให้ทราบว่าบุคคลนั้นหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีความบกพร่องในเรื่องใด เนื่องมาจากสาเหตุใด เพื่อจะได้หาทางแก้ไขหรือช่วยเหลือต่อไป
    6. การศึกษาแบบต่อเนื่อง (Panel study) เป็นการศึกษาที่มีการเก็บข้อมูลเป็น ระยะ ๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการศึกษาแบบต่อเนื่องนี้จะช่วยให้เข้าใจและทราบถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
    7. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลอง ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำ (Treatment) โดยมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
    4. แบ่งตามลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูล

    ถ้ายึดลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยแล้ว อาจแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
    1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่นำเอาข้อมูลทางด้านคุณภาพมาวิเคราะห์ ข้อมูลทางด้านคุณภาพเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขแต่จะเป็นข้อความบรรยายลักษณะสภาพเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการเสนอผลการวิจัยก็จะออกมาในรูปของข้อความที่ไม่มีตัวเลขทางสถิติสนับสนุนเช่นเดียวกัน การวิจัยประเภทนี้จึงมุ่งบรรยายหรืออธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยความคิดวิเคราะห์ เพื่อประเมินผลหรือสรุปผลนั่นเอง
    2. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่นำเอาข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ กล่าวคือใช้ตัวเลขประกอบการวิเคราะห์ สรุปผล และการเสนอผลการวิจัยก็ออกมาเป็นตัวเลขเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวิจัยประเภทนี้จึงมุ่งที่จะอธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยตัวเลขยืนยันแสดงปริมาณมากน้อยแทนที่จะใช้ข้อความบรรยายให้เหตุผล
    อนึ่งการวิจัยที่ดีนั้นไม่ควรใช้แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้ผลที่ได้ไม่แจ่มชัดเท่าที่ควร ดังนั้นในการปฏิบัติมักจะประยุกต์การวิจัยทั้ง 2 ประเภทนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผลการวิจัยมีทั้งเหตุและผลและมีตัวเลขสนับสนุนอันจะทำให้ผลการวิจัยน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
    5. แบ่งตามลักษณะวิชาหรือศาสตร์

    เมื่อยึดลักษณะวิชาหรือศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของการวิจัย จะแบ่งการวิจัยออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
    1. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น การวิจัยประเภทนี้ได้กระทำกันมานานแล้ว และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างมากมายเช่น การค้นพบยา รักษาโรค การค้นพบสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เป็นต้น นอกจากนี้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้ แก้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติได้อีกด้วย เนื่องจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เที่ยงตรงและมีกฎเกณฑ์แน่นอน ตลอดจนสามารถควบคุมการทดลองได้เพราะทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ จึงทำให้ผลการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ได้รับความเชื่อถือมาก การวิจัยทาง วิทยาศาสตร์อาจจำแนกตามสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้
    1.1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ฯลฯ
    1.2 สาขาวิทยาศาสตร์ เช่น ศิลยศาสตร์ รังสีวิทยา ฯลฯ
    1.3 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช เช่น อินทรีย์เคมี เภสัชศาสตร์ ฯลฯ
    1.4 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เช่น สัตวศาสตร์ วนศาสตร์ ฯลฯ
    1.5 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย เช่น วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมไฟฟ้า ฯลฯ
    2. วิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การวิจัยด้านปรัชญา สังคมวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น การวิจัยทางสังคมศาสตร์นี้แตกต่างกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาก เนื่องจากสังคมศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งวัดไม่ได้โดยตรงและควบคุมได้ยาก แต่มนุษย์ก็ได้พยายามวัดโดยใช้เครื่องมือวัดทางอ้อม เช่น ใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ ฯลฯ และได้นำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการวิจัย ทำให้ผลการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจจำแนกตามสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้
    2.1 สาขาปรัชญา เช่น วรรณคดี การศึกษา ฯลฯ
    2.2 สาขานิติศาสตร์ เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายการปกครอง ฯลฯ
    2.3 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เช่น การเมือง การปกครอง การบริหารราชการทั่วไป ฯลฯ
    2.4 สาขาเศรษฐศาสตร์ เช่น การเงินและการคลัง เศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ
    2.5 สาขาสังคมวิทยาศาสตร์ เช่น ประชากรศาสตร์ พัฒนาชุมชน ฯลฯ
    การวิจัยทางสังคมศาสตร์เจริญก้าวหน้าช้ากว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์นั้นมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น
    1) การควบคุมปรากฏการณ์ทางสังคมให้คงที่นั้นทำได้ยาก
    2) เมื่อวัฒนธรรมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงไปด้วย
    3) การทำนายผลบางอย่างล่วงหน้า อาจไม่เกิดผลนั้นขึ้นมาเพราะมนุษย์อาจป้องกันไว้ล่วงหน้าได้
    4) การที่จะศึกษาความคิด ความรู้สึกและเจตคติของมนุษย์นั้นทำได้ยากและวัดได้ยาก
    5) ปัญหาทางสังคมศาสตร์จะเหมือนกับปัญหาของสามัญชน ทำให้คนทั่วไปคิดว่าวิชาสังคมศาสตร์เป็นวิชาสามัญสำนึกได้
    แม้ว่าการวิจัยทางสังคมศาสตร์จะมีข้อจำกัดอยู่หลายประการก็ตาม แต่การวิจัยทางด้านนี้ก็สามารถศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ได้มากพอสมควร
    6. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย

    การแบ่งประเภทการวิจัยโดยยึดระเบียบวิธีวิจัยเป็นเกณฑ์นั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
    1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะบันทึกอดีตอย่างมีระบบ และมีความเป็นปรนัยจากการรวบรวมประเมินผล ตรวจสอบ และวิเคราะห์เหตุการณ์เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในอันที่จะนำมาสรุปอย่างมีเหตุผล การวิจัยประเภทนี้ต้องอ้างอิงเอกสารและวัตถุโบราณที่มีเหลืออยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่ใช้สถิติ สรุปได้ว่าการวิจัยประเภทนี้มุ่งที่จะบอกว่า “เป็นอะไรในอดีต” (What was) เช่น การวิจัยเรื่อง “ระบบการศึกษาของไทยในสมัยสมเด็จพระปิยมหาราช” เป็นต้น
    2. การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสภาพการณ์หรือภาวการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร การวิจัยประเภทนี้มักจะทำการสำรวจหรือหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความเชื่อ ความคิดเห็น และเจตคติ จึงกล่าวได้ว่าเป็นการวิจัยที่มุ่งจะบอกว่า “เป็นอะไรในปัจจุบัน” (What is) นั่นเองเช่น การวิจัยเรื่อง “เจตคติของครูน้อยที่มีต่อผู้บริหารการศึกษา”
    3. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ต่าง ๆ การวิจัยประเภทนี้ต้องมีการควบคุมตัวแปรต้น เพื่อสังเกตตัวแปรตามที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อจะได้ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผล ดังนั้นตัวแปรในการวิจัยจึงต้องมีทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง สรุปได้ว่า การวิจัยประเภทนี้มุ่งที่จะบอกว่า “อะไรอาจจะเกิดขึ้น” (What may be) เช่น การวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบความมีเหตุผลระหว่างกลุ่มที่สอนเรขาคณิตกับกลุ่มที่สอนตรรกศาสตร์”

  8. แนวทางในการเลือกปัญหาเพื่อการวิจัย
    ขั้นแรกของการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการวิจัยประเภทใดก็ตาม นักวิจัยจะต้องเลือกปัญหาเพื่อศึกษาหรือค้นหาข้อเท็จจริงก่อน ซึ่งการเลือกปัญหาที่จะทำการวิจัยนี้ นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่นักวิจัยจะต้องพิจารณาให้รัดกุมเพื่อให้สามารถทำวิจัยเรื่องนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
    อนึ่ง ปัญหาที่สำคัญสำหรับนักวิจัยใหม่ ๆ ก็คือ ไม่รู้ว่าจะวิจัยเรื่องอะไร หรือไม่มีเรื่องที่จะวิจัย เพราะคิดว่าเรื่องนี้ ปัญหานี้มีคนทำมาแล้วทั้งนั้น ทำให้รู้สึกว่าการหาเรื่องทำวิจัยนั้นเป็นของยาก แต่แท้จริงแล้วยังมีปัญหาที่น่าทำการวิจัยอยู่มากมาย ทั้งนี้เพราะ
    1. เมื่อเวลา สถานที่ ชุมชน หลักสูตร ฯลฯ เปลี่ยนแปลงจึงเป็นการยากที่จะลงสรุปอย่างแน่นอนได้ เพราะปัญหาทางสังคมนั้นไม่คงที่แน่นอนตลอดเวลา ไม่เหมือนกับการสรุปผลทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี ฟิสิกส์ หรือคณิตศาสตร์
    2. ปัญหาทางสังคมที่เคยศึกษามาแล้ว สามารถนำมาศึกษาใหม่ได้ เมื่อเวลาและ สถานการณ์เปลี่ยนไป ทั้งนี้เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ หรือเมื่อต้องการเปรียบเทียบกับ ข้อสรุปเดิม
    จึงเห็นได้ว่า ปัญหาในการวิจัยนั้นมีอยู่แล้วทั่ว ๆ ไป แต่ผู้วิจัยอาจจะยังมองหาไม่พบก็ได้ ทั้งนี้เพราะยังมีจุดบอดในการมองหาเรื่องที่จะทำวิจัย (Problem blindness) นั่นเอง
    แนวทางในการเลือกปัญหาเพื่อการวิจัย

    การเลือกปัญหาในการวิจัยนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิจัยต้องตัดสินใจและประเมินผลในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้การวิจัยนั้นสำเร็จได้ด้วยดี หากเลือกปัญหาโดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว อาจทำให้ต้องเลิกล้มหรือเปลี่ยนหัวข้อปัญหาใหม่ได้ อันจะทำให้เสียเวลา แรงงาน หรือเงินลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ และยังบั่นทอนกำลังใจของผู้วิจัยอีกด้วย ด้วยเหตุนี้การเลือกปัญหาในการวิจัยจึงควรพิจารณาให้รอบคอบ และต้องแน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จ จึงขอเสนอแนะแนวทางในการเลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย ดังต่อไปนี้
    1. ควรเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจมากที่สุด โดยมีความสนใจในลักษณะต่อไปนี้คือ
    1.1 มีความอยากรู้อยากเห็นในเชิงวิชาการ
    1.2 มีศรัทธาแรงกล้าที่จะแสวงหาคำตอบในปัญหานั้น โดยปราศจากแรงจูงใจ ภายนอก เช่น การได้วุฒิบัตร การได้เกรด เป็นต้น แต่เป็นความสนใจภายในที่เกิดขึ้นจากความสนใจของผู้ทำวิจัยเอง
    2. ควรคำนึงถึงคุณค่าของผลงานวิจัย ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
    2.1 ในด้านก่อให้เกิดความรู้ใหม่ อาจเป็นในลักษณะสนับสนุน หรือคัดค้าน หรือสร้างทฤษฎีหรือหลักการขึ้นมาใหม่
    2.2 ในด้านก่อให้เกิดสติปัญญา คือผลการวิจัยจะช่วยให้บุคคลมีความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และสามารถสนองความต้องการของบุคคลและสังคมได้
    2.3 ในด้านการนำความรู้ไปใช้ กล่าวคือผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ปรับปรุงชีวิตหรือระบบงานให้ดีขึ้น โดยใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการปรับปรุง
    3. ควรคำนึงถึงความสามารถในการวิจัย หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการทำวิจัยในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
    3.1 มีความรู้ความสามารถเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการวิจัยในปัญหานั้น
    3.2 สามารถใช้เวลาและมีเงินเพียงพอที่จะทำการวิจัยในปัญหานั้น
    3.3 ผู้วิจัยสามารถหาข้อมูลในปัญหานั้น ๆ ได้ และสามารถวิเคราะห์ได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ
    4. ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการวิจัย ได้แก่ สิ่งต่อไปนี้คือ
    4.1 มีแหล่งวิชาการที่จะสามารถติดต่อหรือค้นคว้าหาความรู้ในปัญหาที่จะวิจัย
    4.2 มีอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
    4.3 การได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย เช่น กลุ่มตัวอย่าง ผู้สร้างเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องในการได้มาซึ่งข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
    5. ลักษณะของหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย ควรจะมีลักษณะดังนี้
    5.1 ปัญหาที่จะทำการวิจัยไม่ควรกว้างหรือใหญ่โตครอบจักรวาลเกินไป ควรให้พอเหมาะกับเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายที่ตนมีอยู่
    5.2 ปัญหาที่จะวิจัยสามารถแก้ได้ด้วยวิธีการวิจัย และหาข้อมูลได้เพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบปัญหานั้น
    5.3 ปัญหาที่จะวิจัยมีความสำคัญและมีประโยชน์ ทั้งในแง่ของการนำไปใช้และการเสริมสร้างความรู้ ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ไร้สาระ
    5.4 ปัญหาที่จะวิจัยไม่ควรเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับของผู้อื่น ยกเว้นในกรณีที่ต้องการค้นคว้าวิจัยเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของเรื่องนั้น หรือต้องการค้นคว้าวิจัยต่อในเรื่องเดิม
    5.5 หลีกเลี่ยงปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงและยังหาข้อยุติไม่ได้ ปัญหาเช่นนี้ไม่ควรนำมาเป็นหัวข้อปัญหาการวิจัย เช่น การถกเถียงทางปรัชญา หรือความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าถูกหรือผิด
    5.6 ปัญหาที่จะวิจัยต้องสามารถสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้
    5.7 ควรเลือกปัญหาวิจัยที่จะชี้ช่องทางให้ผู้อื่นทำวิจัยต่อไปได้ โดยขยายหรือแตกแขนงปัญหาออกไป อันจะทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

  9. 4605030610
    การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
    1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
    2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์

    ข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพและการวิจัยปริมาณ
    การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพมีที่มาแตกต่างกัน กล่าวคือ การวิจัยเชิงคุณภาพมีพื้นฐานปรัชญาแบบธรรมชาตินิยม (Naturalism) ในขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณมีพื้นฐานแบบปรัชญาแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ดังนั้น การค้นหาความจริงด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะเน้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า แนวคิดแบบปรากฎการณ์นิยม (Phenomenalism) แล้วอาศัยวิธีการพรรณนาเป็นสำคัญ ในขณะที่การค้นหาความจริงด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณต้องอาศัยกระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนรากฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน
    ในกระบวนการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพจะเริ่มต้นด้วยข้อมูลสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอุปมาน แล้วสรุปตีความผลการวิเคราะห์ตั้งเป็นองค์ความรู้ เป็นกฎหรือทฤษฎี กรณีของการศึกษาวิจัยวิธีการเชิงปริมาณจะเริ่มต้นด้วยกฎหรือทฤษฎีก่อน จากนั้นข้อมูลเชิงประจักษ์จะถูกรวบรวมและนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอนุมาน และสรุปเป็นข้อค้นพบ

    เปรียบเทียบความแตกต่างในคุณลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ
    การวิจัยเชิงคุณภาพ
    การวิจัยเชิงปริมาณ
    1. มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม(Naturalism)
    2. มุ่งทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง
    3. เป็นการวิจัยที่เน้นการพรรณนา/อธิบาย (Descriptive approach)
    4. ให้ความสำคัญกับกระบวนการได้มาซึ่งความจริงโดยมองแบบองค์รวม (Wholistic view)
    5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอุปมาน
    6. มุ่งแสวงหาความรู้เพื่อสร้างเป็นกฏ/ทฤษฎี
    7. สิ้นสุดการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
    8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    1. มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบปฏิฐานนิยม (Phenomenalism)
    2.มุ่งเน้นกาความจริงที่คนทั่วไปจะยอมรับ (common reality)
    3. เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์และทดลอง () ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางสถิติ
    4. ให้ความสำคัญกับผลที่จะได้รับมากกว่ากระบวนการการดำเนินการมีขั้นตอน ระเบียบแบบแผนที่ค่อนข้างแน่นอน
    5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบคำตอบที่คาดคิดไว้ล่วงหน้า
    6. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
    7. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
    8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์

    ที่มา : มนัส สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544.

    ขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยสามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่
    1. การกำหนดปัญหาการวิจัย (Problem definition) ซึ่งจะคลอบคลุมถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย และประโยชน์ที่จะได้รับ
    2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review related literature) เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีใครทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ไว้บ้าง ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอย่างไร เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ทำวิจัยมีอะไร เป็นต้น
    3. วิธีดำเนินการวิจัย (Method) เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework) ว่าการวิจัยมีประเด็นและสาระสำคัญอะไรบ้าง และขอบเขตการวิจัยเป็นอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้างและนิยามอย่างไร แบบแผนการวิจัย (research design) เป็นอย่างไร การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
    4. การรายงานผลการวิจัย (Result) เป็นการแสดงผลลัพธ์จากการวิจัย แสดงผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลให้อยู่ในรูปแบบของรายงานการวิจัย
    5. การสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ ผลการวิจัย และอภิปรายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนข้อเสนอแนะในการประเด็นปัญหาวิจัยที่ควรได้รับการวิจัยต่อไป

    การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยโดยทั่วไป
    ปัญหาการวิจัย (Research Problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ ซึ่งก็คือ ปัญหาการวิจัย นั่นเอง ฉะนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหาการวิจัยให้เป็นกิจลักษณะ และชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย
    หลังจากกำหนดหัวข้อปัญหาในการวิจัยได้ตามความเหมาะสมแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องกำหนดประเด็นปัญหาของการทำวิจัยในชัดเจน เป็นการตีกรอบปัญหาให้อยู่ในวงจำกัด ซึ่งการตีกรอบปัญหาให้ชัดเจนจะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกมาให้เด่นชัดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบวิจัยและวางแผนงานของการวิจัยในขั้นอื่น ๆ ต่อไป
    ประเด็นปัญหาในการวิจัย โดยปกติจะเป็นปัญหากว้าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบ เช่น “การย้ายถิ่นของประชากรในประเทศไทย” เบื้องหลังปัญหานี้อาจมีสิ่งต่าง ๆ มากที่ผู้วิจัยอยากรู้ เช่น จำนวนผู้ย้ายถิ่น แบบแผนการย้ายถิ่นและ/หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และความรู้ความสามารถ อาจทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาได้ทุกประเด็น นั้นเป็นหน้าที่ของผู้วิจัยที่จะต้องเสนอหรือแสดงให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ การกำหนดประเด็นปัญหา คือวิธีการสรุปปัญหากว้าง ๆ ที่เลือกมาให้แคบงเพื่อสะดวกแก่การเข้าใจ

    การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน
    การพัฒนาชุมชนในอดีตที่ผ่านมา จะเห็นว่าการพัฒนาชุมชนหรือชนบทเป็นการพัฒนาในเชิงที่ “ชุมชนและท้องถิ่นถูกพัฒนา” รัฐบาลเป็นผู้กำหนดกรอบความคิดและวางแผนในการพัฒนาบ้านเมือง พัฒนาท้องถิ่น พัฒนาชุมชน แล้วรัฐบาลก็ไปจัดการ ไปดำเนินการผ่านกลไกของระบบราชการ ชุมชนและท้องถิ่นจึงถูกพัฒนา ซึ่งหมายถึง ถูกสั่ง ถูกบอก และร่วมพัฒนาไปด้วย กระบวนการพัฒนาเกิดขึ้นภายใต้ระบบราชการที่รัฐบาลเป็นผู้กำกับ จากข้างบนลงล่าง บทบาทของชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาจึงเป็นบทบาทรอง เป็นบทบาทที่ไม่สำคัญ บทบาทที่โดดเด่นและมีความสำคัญก็คือรัฐ โดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาชุมชน และชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา ชุมชนร่วมพัฒนา
    ในการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยการพัฒนา ก็ต้องปรับกระบวนทัศน์ ปรับแนวคิดใหม่ จาก “ชุมชนถูกพัฒนา” ขยับเป็นขั้น “ชุมชนร่วมพัฒนา” ในกระบวนการวิจัยพัฒนาต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนมากขึ้น ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิจัยด้วย เรียกว่า “ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการวิจัย”

    หนังสืออ้างอิง
    1. มนัส สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544.
    2. ยุทธ ไกยวรรณ์ . พื้นฐานการวิจัย (ฉบับปรับปรุงใหม่) . สุวีริยาสาส์น , กรุงเทพฯ . พิมพ์ครั้ง ที่ 4 . 2545.

  10. นักวิจัยค้านผลทดสอบ โอริโอเสพติดได้เหมือนโคเคน ชี้ด่วนสรุปไป
    นักวิจัยสหรัฐฯ ชี้ งานวิจัยที่ชี้ว่าโอริโอมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดพอ ๆ กับโคเคน เป็นการด่วนสรุป เพราะการทดลองดังกล่าวยังไม่ครอบคลุม และใช้ตัวแปรที่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้โดยตรง

    จากที่ก่อนหน้านี้ มีผลการวิจัยของนักศึกษาจากวิทยาลัยคอนเนคติคัท ระบุว่า ขนมโอริโออาจะทำให้เกิดอาการเสพติดได้เทียบเท่ากับโคเคน จนสร้างความตื่นตระหนักให้แก่ชาวเน็ตในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2556 เว็บไซต์ไลฟ์ไซแอนท์ ได้รายงานว่า ผลงานวิจัยดังกล่าวไม่อาจะสรุปเป็นเช่นนั้นได้ทั้งหมด

    สำหรับงานวิจัยก่อนหน้านี้ ผู้ทดลองได้นำหนูทดลองมาใส่ไว้ในเขาวงกตซึ่งมีทางออก 2 ทาง โดยทางหนึ่งนำทางมันไปสู่ขนมโอริโอ ขณะที่อีกทางหนึ่งนำไปสู่จุดหมายที่มีขนมข้าวพอง และจับตาดูว่าหนูทดลองเหล่านี้จะเลือกไปทางใดมากกว่ากัน ซึ่งจากผลทดลองพบว่า หนูส่วนมากเลือกที่จะวิ่งไปตามเส้นทางที่มีโอริโอรอมันอยู่เบื้องหน้า และพร้อมกันนั้นพวกเขาได้ทำการทดลองในรูปแบบเดียวกันเพื่อนำมาเปรียบเทียบ โดยเปลี่ยนขนมทั้ง 2 ชนิดมาเป็นการให้รางวัลพวกมันด้วยการฉีดโคเคนหรือมอร์ฟีนให้ กับอีกตัวเลือกหนึ่งคือการฉีดน้ำเกลือธรรมดาให้ ซึ่งผลปรากฎว่าหนูทดลองส่วนมากต่างก็เลือกที่จะวิ่งไปหาจุดหมายที่มีสารเสพติดรอพวกมันอยู่

    ด้วยเหตุนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบพฤติกรรมจากทั้ง 2 การทดลอง ซึ่งหนูทดลองจำนวนมากต่างวิ่งไปหาโอริโอมากกว่าข้าวพอง เช่นเดียวกับ ที่วิ่งไปหาโคเคนมากกว่าน้ำเกลือ โดยที่ทั้ง 2 กลุ่ม ใช้เวลาในการวิ่งไปหาสิ่งล่อที่มันพึงพอใจมากกว่าเท่า ๆ กัน ดังนั้นพวกเขาจึงได้ข้อสรุปว่า ขนมโอริโอนั้นก่อให้เกิดอาการเสพติดได้พอ ๆ กับการเสพโคเคนนั่นเอง ซึ่งหากจะดูกันจริง ๆ แล้ว ของล่อทั้ง 2 ชนิดที่ดึงดูดใจหนูทดลองได้มากกว่านี้ ก็ไม่น่าจะนำมาเทียบกันได้โดยตรงเลย ดังนั้นจริง ๆ แล้วการทดลองนี้ไม่น่าจะสามารถบ่งบอกว่า โอริโอจะถูกจัดเป็นสารเสพติดได้

    ด้าน อีดิธ ลอนดอน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ใช้วิธีการฉายภาพสมองเพื่อศึกษาระบบประสาทของผู้ที่มีความอยากสิ่งเสพติด ก็ได้เผยในทำนองเดียวกันว่า งานวิจัยชิ้นนี้ไม่สามารถตัดสินได้ว่าโอริโอเสพติดได้มากเท่าโคเคน

    นอกจากนี้ กลุ่มนักศึกษาที่ทดลองเรื่องดังกล่าวยังได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ของโปรตีนที่เรียกว่า c-Fos ซึ่งใช้วัดการทำงานเซลล์สมอง ในส่วนที่เรียกว่า นิวเคลียส แอคคัมเบนส์ (Nucleus Accumbens) ของหนูที่ได้รับโอริโอหรือโคเคนด้วย ซึ่งเซลล์สมองส่วนนี้มีความสำคัญต่อความพึงพอใจและการได้รับแรงเสริมทางบวก รวมถึงความพึงพอใจที่ได้รับจากการเสพสารเสพติดด้วย ซึ่งจากการวิจัยพบว่า สมองส่วนนิวเคลียส แอคคัมเบนส์ของหนูพวกนี้จะมีปฏิกิริยาจากโอริโอมากกว่าโคเคนเสียอีก แต่ถึงอย่างนั้น อีดิธก็คิดว่างานวิจัยนี้ก็ไม่มีส่วนใดที่สามารถโยงได้ว่าขนมหวานโอริโอมีฤทธิ์เป็นสารเสพติดอยู่ดี

    แม้ก่อนหน้านี้จะเคยมีงานวิจัยที่กล่าวถึงหนูที่ติดทานอาหารซึ่งมีรสหวานจัดหรือมีไขมันสูง แล้วค่อยถูกป้อนด้วยอาหารสุขภาพจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสมองที่คล้ายกับในกลุ่มผู้ที่พยายามเลิกสิ่งเสพติด แต่ก็ไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ว่าอาหารทำให้เกิดการเสพติดได้ ซึ่งในกรณีนี้ กาเบรียล แฮร์ริส ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิทยา ศาสตร์การอาหาร จากมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนา เคยกล่าวไว้ว่า ในทางชีววิทยา มนุษย์จะตอบสนองต่อรสชาติ รสสัมผัส และสีสันต่าง ๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอาการเสพติด ดังนั้นจึงยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างไกลหากจะกล่าวว่าโอริโอมีฤทธิ์เป็นสารเสพติด

  11. บทที่ 3 การปกครองระบอบประชาธิปไตย 12/23/2555 ความหมายของประชาธิปไตย คำว่า “ประชาธิปไตย” ถอดศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า “Democracy” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ“Demos” แปลว่า “ประชาชน” และ “Kratos” แปลว่า “อำนาจ” เมื่อรวมกันเข้าแล้วก็มีความหมายว่า “อำนาจของประชาชน” หรือ “ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ” เพราะฉะนั้นหลักการขั้นมูลฐานของระบอบประชาธิปไตยก็คือ “การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต” ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น ได้ให้คำนิยามประชาธิปไตยในการกล่าวสุนทรพจน์ ณ เมืองเกตติสเบอร์ก หรือ “เกตต์สปุระ” ในมลรัฐเพนซิลวาเนีย ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ว่า “รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนจะไม่มีวันสูญสลายไปจากผืนพิภพนี้” วาทะดังกล่าวได้กลายเป็นคำนิยามยอดนิยม เพราะกระทัดรัดและกระชับความ ทั้งนี้อาจวิเคราะห์คำนิยามของอับราฮิม ลินคอล์น ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) รัฐบาลของประชาชน 2) รัฐบาลโดยประชาชน 3) รัฐบาลเพื่อประชาชน (อ้างจาก จิรโชค (บรรพต) วีระสัย ดร., สุรพล ราชภัณฑารักษ์, ดร., และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ์ , ผศ., 2538 : 259) นักรัฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่านได้ให้คำจำกัดความเรื่อง ระบอบการปกครองประชาธิปไตยไว้แตกต่างกัน เช่น ฮาโรลด์ ลาสกี้ “เนื้อแท้ของประชาธิปไตยก็คือ ความปรารถนาของมนุษย์ที่จะยอมรับนับถือและรักษาไว้ซึ่งความสำคัญของตนเอง รวมตลอดถึงความเสมอภาคระหว่างบุคคลในทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง” (ใจความสำคัญก็คือ ความเสมอภาคซึ่งเป็นที่มาแห่งเสรีภาพ) ชาลส์ อีเมอเรี่ยม “ประชาธิปไตยเป็นแนวความคิด และเป็นการปฏิบัติที่มุ่งไปสู่ความผาสุกร่วมกันของประชาชน โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนนั้นเอง เป็นเครื่องนำทาง” (ใจความสำคัญก็มุ่งถึงความผาสุกร่วมกัน ซึ่งมีรากฐานจากทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการวิภาคผลผลิตไปสู่ชุมชน) ลอร์ด ไบร์ซ์ “ประชาธิปไตยหมายถึง รัฐบาลที่ถือเอาเจตนารมณ์ของประชาชนฝ่ายข้างมากเป็นหลัก” (สาระสำคัญ ในความคิดนี้อยู่ที่การตัดสินโดยเสียงข้างมาก) แม้กไอเวอร์ “ประชาธิปไตยเป็นทั้งรูปการปกครองและวิถีชีวิต ประชาธิปไตยทั้งสองด้านนี้จะต้องดำเนินไปด้วยกัน” (สาระสำคัญของประชาธิปไตย ความคิดนี้เน้นความหมายของประชาธิปไตยทั้งที่เป็นลักษณะรูปการปกครอง และปรัชญาในการดำรงชีวิตร่วมกันของมนุษย์ ประชาธิปไตยตามทัศนะของพระพุทธศาสนา คือ 1. ปชาสุขัง มหุตมัง ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสูงสุด 2. มหาชนหิตายะ สุขายะ ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่มีเป้าหมายเพื่อความเป็นไปแห่งประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อความสงบสุขของมหาชนเป็นที่ตั้ง สุขุม นวลสกุลและวิศิษฐ ทวีเศรษฐ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ การปกครองที่เป็นประชาธิปไตย คือ รูปการปกครองที่ยึดอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนไม่ว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presidential Democracy) หรือแบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) ถ้าอำนาจสูงสุดในการกำหนดการปกครองอยู่ที่ประชาชนแล้วก็เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญซึ่งอาจเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรหรือไม่ลายลักษณ์อักษรก็ได้ เพราะประชาธิปไตยถือการปกครองโดยกฎหมาย (Rule by law) อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเพียงกติกาการปกครองไม่ใช่เครื่องหมายแสดงความเป็นประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นการที่ประเทศใดมีรัฐธรรมนูยจึงมิได้หมายความว่ารูปการปกครองของประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตย เพราะบางประเทศเช่น สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่ามีระบบการปกครองแบบเบ็ดเสร็จต่างก็มีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับประเทศเสรีนิยมอื่นๆเหมือนกัน การที่จะพิจารณาว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่จึงต้องดูว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นกำหนดให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือไม่ จรูญ สุภาพ ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ดังนี้ คำว่าประชาธิปไตย มีต้นกำเนิดจากภาษากรีก ดูเหมือนชาวกรีกจะเป็นพวกแรกที่ใช้คำนี้ ความหมายดั้งเดิมของประชาธิปไตย ที่รู้จักกันในหมู่ชาวกรีกโบราณเมื่อประมาณ 2,000 กว่าปี หมายถึงการปกครองโดยหมู่ชนหรือประชาชน การปกครองแบบนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษ คือ democracy ซึ่งมีรากศัพท์เดิมจาก demos ซึ่งแปลว่าประชาชน สำหรับภาษาไทย คำว่า “ประชาธิปไตย” อาจจะแยกได้เป็น 2 คำ คือ ประชา ซึ่งหมายถึง ประชาชน และคำว่า อธิปไตย ซึ่งแปลว่าอำนาจสูงสุดของแผ่นดิน เมื่อรวมกันขึ้นจึงหมายถึง การปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนหรือมาจากประชาชน ประชาธิปไตยจึงมีความหมาย ทั้งในรูปแบบและหลักของการปกครอง รวมตลอดถึงการดำรงชีวิตร่วมกันของมนุษย์ ในแง่ของการปกครองนั้น มุ่งถึงการมีส่วนของประชาชนในการที่จะเข้าร่วมกำหนดนโยบายต่างๆ อันเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ส่วนในแง่ของการดำเนินชีวิตนั้น หมายถึงการยอมรับเสรีภาพ ความสำคัญและประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยมีเหตุผลเป็นเครื่องนำทาง เพื่อความผาสุกร่วมกัน ความหมายของประชาธิปไตยที่ใช้กันในภายหลังนั้น อาจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความหมายแคบกับความหมายกว้าง ความหมายแคบ หมายถึง การที่ประชาชนมีอำนาจปกครองตนเอง ส่วนในความหมายที่กว้าง ประชาธิปไตยเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งซึ่งมีแบบแผนแห่งพฤติกรรมในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ทัศนะเกี่ยวกับประชาธิปไตย ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกที่ดีหรือมีทัศนคติที่ดีเชิงปฏิฐานต่อคำว่า “ประชาธิปไตย” ดังจะเห็นได้จากการที่มีผู้นิยมใช้ศัพท์นั้นกันมากดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งในช่วงหลังมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์การยูเนสโก ได้สำรวจความคิดเห็นของนักวิชาการทั้งจากโลกตะวันตกและตะวันออกเป็นจำนวนกว่า 100 คน ทุกคนล้วนมีทัศนะที่ดีต่อประชาธิปไตย สำหรับในอดีตนั้น เปอริคลีส ผู้นำคนหนึ่งของนครรัฐเอเธนส์ยุคโบราณได้แสดงความชื่นชมต่อระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบโดยตรง ส่วนนักปราชญ์เพลโตมีความเห็นต่อต้านประชาธิปไตย โดยถือว่าเป็นการให้อำนาจแก่ผู้ที่ปราศจากความรู้ เพลโตต้องการสถาปนาสังคมอันเลอเลิศอย่างที่เรียกว่า “อุตมรัฐ” โดยให้ผู้ปกครองสูงสุดเป็น “ราชาปราชญ์” และบรรดาผู้นำระดับรองๆลงไปเป็นผู้มีสติปัญญาและคุณธรรมสำหรับ อาริสโตเติล มีแนวคิดคล้ายเพลโต แต่ไม่ต่อต้านประชาธิปไตยมากนัก ดังจะเห็นได้ว่าในการแบ่งรูปแบบการปกครองนั้น อาริสโตเติลจัดประชาธิปไตยอยู่ในกลุ่มการปกครอง โดยคนหมู่มากที่มีความโน้มเอียงไปในทางที่ไม่ดี แต่การปกครองโดยคนส่วนใหญ่ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี และอาริสโตเติลเชื่อว่าจะเป็นไปได้คือ “มัชฌิมธิปไตย” หรือ “มัชฌิมวิถีอธิปไตย” (Polity) ซึ่งพอที่จะเทียบเคียงกับประชาธิปไตยในยุคปัจจุบันซึ่งมหาชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับกลาง เช่น ในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ต่อจากช่วงเวลาของอาริสโตเติลแล้ว ศัพท์ประชาธิปไตยถูกใช้ในความหมายที่ไม่แสดงความนิยมชมชื่น จวบจนกระทั่งศตวรรษที่ 17 ประชาธิปไตยเริ่มได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าโดยกลุ่มบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า “ผู้ขยับให้สูงขึ้น” หรือ “ผู้ยกระดับ” (the levellers) ในประเทศอังกฤษ ต่อมาในตอนปลายศตวรรษที่ 18 คือประมาณ 200 ปีมาแล้ว ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้มีการศึกษาไม่พอใจกับการใช้ศัพท์ประชาธิปไตย และแม้กระทั่ง “บรรดาบิดาผู้สถาปนา” หรือ “ผู้ประดิษฐ์” (Founding Fathers) คือผู้ก่อตั้งของประเทศและรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ไม่ยอมใช้ศัพท์ “ประชาธิปไตย” แต่ใช้คำว่า “ลัทธิสาธารณรัฐนิยม” หรือ “คตินิยมแบบสาธารณรัฐ” (Republicanism) แทน ทำให้ศัพท์สาธารณรัฐนิยมนี้มีความหมายแทนประชาธิปไตยในยุคนั้น คือเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ในศตวรรษที่ 19 มีการมองประชาธิปไตยในแง่ที่ดีอย่างแพร่หลายมากขึ้น ดังปรากฏในข้อเขียนของผู้มีเชื้อสายขุนนางฝรั่งเศสที่มีชื่อว่าแอเลกซิส เดอ ทอคเกอวิลย์ เกี่ยวกับ “ประชาธิปไตยในอเมริกา” จวบจนกระทั่งถึงยุคร่วมสมัยในศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะเมื่อ 70 ปีมาแล้วคือภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914 – 18) มีการมองประชาธิปไตยไปในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดแจ้ง และถือว่าศตวรรษที่ 20 น่าจะเป็นศตวรรษแห่งสามัญชนและศตวรรษแห่งการที่นานาชาติตัดสินใจด้วยตนเอง (Self – determination) โดยปราศจากการบีบบังคับหรือขู่เข็ญใดๆ ดังนั้นศัพท์ “ประชาธิปไตย” ได้กลายเป็น “ศัพท์เกียรติยศ” (Honorific) ที่หลายสำนักและหลายฝ่ายต้องการยึดเป็นของตนดังได้กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างพอเห็นได้จากการที่ 1) ฮิตเลอร์ เรียกระบบเผด็จการนาซีของเขาว่า “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” (“Real” Democracy) ส่วน 2) มุสโสลินี เรียกระบบฟาสซิสม์ของเขาว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยม” (Authoritarian Democracy) การจัดระบบและโน้มอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง สำหรับ 3) สหภาพโซเวียต เรียกระบบการปกครองของตนว่าเป็น “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” โดยเรียกการปกครองในโลกตะวันตกว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบกระฎุมพี” (Bourgeois) หรือ “แบบนายทุน” หรือเป็น “ประชาธิปไตยแบบทราม” (Sham Democracy) 4) ส่วนประเทศซึ่งนิยมคอมมิวนิสต์อื่นๆ รวมทั้งยุโรปตะวันออกและประเทศจีน เรียกระบบของตนว่าเป็น “ประชาธิปไตยของประชาชน” หรือ “มหาชนาธิปไตย” หลักการของประชาธิปไตย หลักการของประชาธิปไตย ตามทัศนะของปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ ดังนี้ เฮนรี่ เมโย (Henry Mayo) ได้ระบุว่ามี 4 หลักการแห่งประชาธิปไตย ได้แก่ 1) การควบคุมผู้วางนโยบายโดยประชาชน 2) ความเสมอภาคทางการเมือง 3) เสรีภาพทางการเมืองหรือประสิทธิผลในการควบคุมโดยประชาชน และ 4) หลักแห่งเสียงส่วนมาก ซิกมันด์ นอยมันน์ (Sigmund Neumann) ได้ให้หลักการประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ คือ 1. อำนาจอธิปไตย (อำนาจสูงสุด) มาจากราษฎร เป็นของปวงชนหรือมหาชน 2. ขั้นตอนเลือกผู้นำเป็นไปโดยเสรี 3. ผู้นำมีความรับผิดชอบ 4. ระบอบความเสมอภาค (ของราษฎรโดยกฎหมาย) ยอมรับ 5. สนับสนุนพรรคการเมืองมีมากกว่าหนึ่งพรรค 6. พึงเน้นความหลากหลายในชีวิตประจำวัน 7. ไม่กีดกันกลุ่มสำคัญๆ จากการมีส่วนร่วมในการบริหารการปกครอง 8. ส่งเสริมครรลองทัศนคติแบบประชาธิปไตย 9. ให้สำนึกในความเป็นพลเมืองดี 10. เน้นความเชื่อมั่นในความดีของมนุษย์ ออสติน แรนนี (Austin Ranny) ได้สรุปหลักประชาธิปไตยไว้ 4 ประการ คือ 1. อำนาจอธิปไตยของพลเมืองเด่น 2. เน้นความเสมอภาคโดยสุจริต 3. ฟังความคิดเห็น 4. เน้นเสียงหมู่มาก หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เจริญอยู่ในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกานั้นมีหลักการสำคัญดังนี้ 1. การยึดถือเหตุผล ปรัชญาประชาธิปไตยถือว่า สัจธรรมย่อมขึ้นอยู่กับเหตุผล การวิพากวิจารณ์หรือแสดงความเห็นคัดค้านต่างๆ นั้นย่อมเป็นที่มาของการแสวงหาเหตุผล เป็นวิถีทางที่จะทำให้ประชาชนพลเมืองเจริญเติบโตทางสมองและจิตใจ และเป็นเหตุให้สังคมเจริญก้าวหน้า 2. การเน้นความสำคัญของปัจเจกชน โดยเห็นว่า บุคคลแต่ละคนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและลัทธิทั้งปวง บุคคลเป็นผู้สร้างสถาบันสังคมและสถาบันการเมือง เพื่อเป็นปัจจัยให้บุคคลมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ละคนจึงควรเป็นตัวของตัวเอง ลิขิตชีวิตของตัวเองมากที่สุดกว่าผู้ใด หรือสถาบันใด 3. การถือรัฐเป็นเครื่องมือของประชาชน เมื่อถือว่าแต่ละคนเป็นผู้ลิขิตชีวิตของตนเองมากที่สุด รัฐก็คอยเข้าแทรกแซง แต่น้อยที่สุด รัฐเป็นเพียงเครื่องมือส่งเสริมให้บุคคลบรรลุจุดหมายปลายทาง ในส่วนที่เหนือความสามารถที่แต่ละบุคคลจะกระทำกันเองได้เท่านั้น เช่น การพิทักษ์รักษาสิทธิมูลฐานของมนุษย์ การรักษาความยุติธรรม การรักษาความสงบเรียบร้อย และป้องกันการรุกรานจากภายนอกเป็นต้น ความคิดนี้ตรงกันข้ามกับลัทธิเผด็จการที่เห็นว่าประชาชนเป็นเครื่องมือของรัฐ 4. การอาศัยความสมัครใจเป็นใหญ่ เป็นวิธีการปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมตามความสมัครใจระหว่างกันเอง เช่น การจัดตั้งพรรคการเมืองหรือการจัดตั้งสมาคมต่างๆ เป็นต้น 5. การยึดถือกฎเหนือกฎ เรื่องนี้ย่อมเป็นไปตามแนวคิดเดิมที่ว่า ประชาชนสร้างรัฐขึ้นมาเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิสำคัญบางประการของประชาชน รัฐบาลผู้ปกครองจะบิดเบือนผันแปรไปตามใจตนมิได้ มิฉะนั้นแล้วประชาชนมีสิทธิล้มล้างรัฐบาลนั้นเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาได้ ความจริงฝ่ายเผด็จการก็ถือเรื่องกฎเหนือกฎ แต่เป็นกฎที่สร้างขึ้นตามใจตน จึงก่อความไม่สงบไม่สิ้นสุด 6. การเน้นความสำคัญของวิธีการ ถือว่าวิธีการนั้นจะต้องเหมาะสมในการดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งควรต้องยึดความผาสุกของประชาชนเป็นที่ตั้ง ซึ่งโดยนัยนี้น่าจะต้องยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทา คือถือสายกลาง ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายเผด็จการที่ชอบใช้วิธีรุนแรง ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความเกลียดชังมากกว่าที่จะสร้างภราดรภาพให้เกิดขึ้นตามอุดมการณ์ของตนเอง 7. การถือความเห็นพ้องต้องกันเป็นหลักในมนุษยสัมพันธ์ ประชาธิปไตยนิยมการประนีประนอมเป็นสำคัญ ซึ่งอาจทำได้โดยการอภิปรายหรือโต้เถียงกัน เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน โดยถือฝ่ายข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน ทั้งนี้โดยต้องยอมรับความเห็นของฝ่ายข้างมาเป็นฝ่ายชนะไปพลางก่อน อาจเป็นชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ฝ่ายข้างน้อยย่อมอาจหาทางชักจูงคนส่วนใหญ่ให้เห็นคล้อยตาม และอาจกลายเป็นฝ่ายข้างมากภายหลังได้ 8. การถือสมภาพ หรือความเท่าเทียมกันขั้นมูลฐานของมนุษย์ ความเท่าเทียมกันหรือสมภาพในทัศนะของประชาธิปไตย หมายถึงความเท่าเทียมกันในโอกาส อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องความจำเป็นและความขาดแคลนของแต่ละบุคคลไว้ด้วย สองรูปแบบแห่งการปกครองประชาธิปไตย โดยทั่วไปแล้วประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือประชาธิปไตยแบบโดยตรงและประชาธิปไตยแบบโดยอ้อม ประชาธิปไตยแบบโดยตรง ประชาธิปไตยแบบโดยตรง ได้แก่ รูปแบบการปกครองที่ให้ราษฎรมีส่วนร่วม ในการกระทำดังนี้ 1) ออกกฎหมาย 2) บังคับกฎหมาย คือให้มีการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ประชาธิปไตยแบบโดยตรงมียุคนครเอเธนส์ เมื่อประเมาณ 24 ศตวรรษมาแล้ว ซึ่งการใช้อำนาจตุลาการแบบโดยตรง ของนครเอเธนส์ เคยมีปรากฏดังตัวอย่างการพิพากษาคดีซอคราตีสในที่ชุมชน ประชาธิปไตยในนครรัฐเอเธนส์มีสภาพการณ์ที่แตกต่างกับยุคปัจจุบัน คือ 1. ผู้มีสิทธิไม่ถึง 10% ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือ เอเธนส์มีพลเมืองประมาณ 3 – 4 แสนคน แต่ผู้มีสิทธิเพียง 2 – 4 หมื่นคนเท่านั้น (ผู้ถูกกีดกัน ได้แก่ สตรี ทาส และเยาวชน) 2. สภาพเศรษฐกิจและการเมืองยังไม่สลับซับซ้อนมากนัก 3. พลเมืองมีความสนใจการบ้านการเมืองเป็นกิจวัตรและเอาใจใส่ในกิจการอันเป็นส่วนรวม 4. ผู้มีสิทธิมักเข้าร่วมในการประชุมนครรัฐไม่มากนักจึงไม่มีปัญหาในเรื่องสถานที่ประชุม แต่ในปัจจุบันพลเมืองของประเทศต่างๆ มีมากกว่าในสมัยนั้นอย่างมหาศาล เกินกว่าที่จะจัดประชุม ณ สถานที่เดียวกันได้ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการประชาธิปไตยแบบโดยตรง ประชาธิปไตยแบบโดยตรงในปัจจุบัน มีตัวอย่างเช่น 1. สหรัฐอเมริกา มีในเมืองหรือชุมชนเล็กๆ บางแห่ง เรียกว่า “Town Meeting” 2. สวิตเซอร์แลนด์ มีในบางแคว้น เรียกว่า “กังต็อง” (Canton) 3. อิสราเอล มีในชุมชนคิบบุทซ์ (Kibbutz) ปัญหาของประชาธิปไตยแบบโดยตรงมี 4 ประการ คือ 1) มีจำนวนประชากรไม่มากนัก 2) ฐานะความเป็นอยู่ไม่เหลื่อมล้ำกันมากนัก 3) สังคมมีลักษณะสมานรูป 4) ผู้ใช้กฎหมายจะต้องปฏิบัติตนภายในขอบเขตของกฎหมาย ประชาธิปไตยแบบโดยอ้อมหรือแบบมีตัวแทน ประชาธิปไตยแบบนครรัฐเอเธนส์อยู่ได้ระยะเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมือง หลังจากหมดยุครุ่งเรืองของเอเธนส์และยุคที่อารยธรรมกรีกกำลังเฟื่อง ก็เข้ายุคจักรวรรดิโรมันที่รูปแบบการปกครองเน้นหนักไปในทางการใช้อำนาจ ในยุคกลางของยุโรปเป็นช่วงเวลาแห่งระบบศักดินา แนวคิดประชาธิปไตยก็ไม่เคยดับสิ้นไป ซึ่งในประวัติศาสตร์อังกฤษก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับแม็กนา คาร์ตา โดยพระเจ้าจอห์นถูกขุนนางอังกฤษบังคับให้ทรงลงพระนาม ทั้งนี้เพราะขุนนางเหล่านั้นไม่พอใจที่พระเจ้าจอห์นเก็บภาษีสูงเพื่อนำไปใช้ในการสงคราม และไม่พอใจที่พวกขุนนางไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในการบริหารบ้านเมือง ลักษณะ 8 ประการของประชาธิปไตยแบบตัวแทนในทางปฏิบัติ ได้แก่ 1) มีพรรคการเมืองเข้าบริหาร 2) มีการเลือกตั้งตามระยะเวลา 3) ปวงประชามีสิทธิหย่อนบัตรลง 4) แสดงความจำนงได้ 1 บัตร 5) รัฐบาลโดยเสียงสนับสนุนจากผู้แทน 6) ไม่แค้นแม้แพ้คะแนนเสียง 7) ไม่บ่ายเบี่ยงจำกัดสิทธิทางการเมือง 8) ส่งเสริมเรื่องการแข่งขัน ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนในสภาพกลุ่มหลากหลาย – สังคมที่มีกลุ่มหลากหลายหรือมีความเป็น พหุสังคม หมายถึง มีกลุ่มหลากประเภท และกลุ่มหลายชนิด – ลักษณะของกลุ่มหลากหลายที่ช่วยผดุงประชาธิปไตย ได้แก่ 1) มีการรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มโดยสมัครใจ 2) กลุ่มมีอายุยืนยาวพอสมควร 3) เป็นกลุ่มอย่างเป็นกิจลักษณะพอสมควร 4) กลุ่มจะต้องมีการประชุมและมีการดำเนินงานบ่อยครั้งพอสมควร กลไกที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในกลุ่มหลากหลาย มีดังนี้คือ 1) ทำให้อำนาจแยกกระจาย 2) เป็นบทเรียนหรือเป็นแบบฝึกหัดประชาธิปไตย 3) การเป็นสมาชิกหลายกลุ่ม (พหุสมาชิกภาพ) ทำให้รู้จักประนีประนอม ลอร์ด แอคตัน นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าววาทะที่สนับสนุนสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย โดยกล่าวถึงลักษณะแห่งอำนาจไว้ดังนี้คือ Power Corrupts, Absolute Power Corrupts Absolutely ซึ่งแปลว่า “ที่ใดมีอำนาจที่นั่นมีการฉ้อฉล ที่ใดมีอำนาจเหลือล้น การฉ้อฉลชั่วเสียย่อมมีมากสุดประมาณ” โดยมีความหมายว่า อำนาจมีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดความอธรรมขึ้นมาได้ ประชาธิปไตยในมิติอื่นๆ 1. ประชาธิปไตยทางสังคม (Social Democracy) เป็นศัพท์ที่ใช้โดยทอคเกอวิลล์ ชาวฝรั่งเศส 2. ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (Economic Democracy) เป็นศัพท์ที่ใช้โดยผู้นิยมมาร์กซิสต์ หมายถึงการกระจายรายได้ให้ทัดเทียมกันในหมู่ประชาชนจำนวนมาก 3. ประชาธิปไตยทางอุตสาหกรรม (Industrial Democracy) หมายถึงประชาธิปไตยในระดับโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การมีสหภาพแรงงาน สหพันธ์กรรมกร เป็นต้น 4. ประชาธิปไตยแบบถูกนำ (Guided Democracy) เป็นศัพท์ที่ใช้โดยอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้กอบกู้เอกราชและบิดาผู้สถาปนาอินโดนีเซียยุคใหม่ 5. ประชาธิปไตยแบบเบสิก (Basic Democracy) เป็นศัพท์ที่ใช้โดยอดีตประธานาธิบดีอายุบข่าน (Ayub Khan) แห่งปากีสถาน 6. หน้าฉากประชาธิปไตย (Façade Democracy) หรือประชาธิปไตยแบบจอมปลอม 7. ประชาธิปไตยครึ่งใบ (Quasi Democracy) หรือไม่เต็มใบ ความเสมอภาคทางการเมือง ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งควรให้แก่พลเมืองที่บรรลุนิติภาวะทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิง และโดยไม่คำนึงถึงความยากดีมีจน แต่ในอดีตหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ทั้งนี้เนื่องจากการยึดหลักต่างๆเช่น 1. การมีทรัพย์สิน เกิดขึ้นจากความเชื่อหรือแนวความคิดที่ว่า ผู้มีทรัพย์สินย่อมมีความรับผิดชอบ กล่าวคือย่อมไม่ออกเสียงเลือกบุคคลโดยไม่คิดให้รอบคอบ 2. การรู้หนังสือ โดยเชื่อว่าผู้มีความรู้ย่อมทำให้การออกเสียงเป็นไปโดยถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในอดีตสตรีจะไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ประเทศต่างๆเพิ่งเริ่มให้สิทธิแก่สตรีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มานี้เท่านั้น เช่น สหรัฐอเมริกา ให้สิทธิสตรีในปี ค.ศ. 1920 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 2 ปี) ฝรั่งเศส ให้สิทธิสตรีในปี ค.ศ. 1945 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งถือกันว่าเป็นประเทศที่เป็นแบบอย่างประชาธิปไตยก็เพิ่งให้สิทธิสตรีในปี ค.ศ. 1971 หรือเมื่อประมาณ 30 ปีมานี้เอง ประเทศที่เคยมีหรือมีประมุขของรัฐบาลเป็นสตรี ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ ข้อแตกต่างระหว่างนักการเมืองกับรัฐบุรุษ นักการเมือง (Politician) มักพยายามกระทำหรือประกาศว่าจะกระทำตามความต้องการของประชาชน เพื่อหาเสียงสนับสนุนเฉพาะหน้า คือในระยะเวลาที่สามารถเห็นผลโดยเร็วหรือในระยะสั้น รัฐบุรุษ (Statesman) เป็นผู้เห็นการณ์ไกล มักจะใช้วิจารณญาณเลือกกระทำการเฉพาะที่เห็นว่าจะยังประโยชน์ให้แก่ราษฎรจริงๆ เท่านั้น โดยเฉพาะในระยะยาว ทั้งนี้เพราะรัฐบุรุษเป็นห่วงผลที่ตามมาต่ออนุชนคนรุ่นหลัง ดังภาษิตรัฐศาสตร์ที่ว่า “นักการเมืองคิดถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่รัฐบุรุษคิดถึงคนรุ่นต่อไป”   ประชาธิปไตยกับอธิปไตย 3 ประเภทในพุทธศาสนา ในพุทธศาสนาได้มีการกล่าวถึงอธิปไตย 3 ประเภท คือ 1) โลกาธิปไตย 2) อัตตาธิปไตย 3) ธรรมาธิปไตย 1. โลกาธิปไตย ถือเป็นการปกครองที่ใกล้เคียงกับลัทธิประชาธิปไตย เพราะมีความหมายว่ายกให้พลเมืองเป็นใหญ่ คือเป็นการปกครองของโดยคนส่วนมาก ในอินเดีย โลกสภา หมายถึง สภาประชาชน คือสภาล่าง (ส่วนสภาสูงคือราชยสภา) 2. อัตตาธิปไตย ได้แก่การให้อำนาจไว้กับคนๆเดียว เช่น มอบให้แก่พระราชาหรือผู้ยิ่งใหญ่คนใดคนหนึ่ง หากมอบอำนาจให้กับกษัตริย์ ก็เรียกว่า “ราชาธิปไตย” และหากมอบอำนาจไว้ให้ผู้เผด็จการก็เป็นระบบ “อำนาจนิยม” ซึ่งอาจเป็นฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวาก็ได้ 3. ธรรมาธิปไตย ได้แก่ การยกย่องธรรมะให้เป็นใหญ่ทั้งในหมู่ผู้นำและประชาชนทั่วไป มีการเทอดทูนผู้มีคุณธรรมให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน จึงถือว่าเป็นการปกครองที่ดีเลิศตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา คำสอนที่ส่งเสริมหรือสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมีมากในพระพุทธศาสนา เช่น 1. เรื่องความเสมอภาค พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เท่ากัน ไม่ว่าจะมีตระกูลหรือเกิดในวรรณะใด 2. เรื่องเสรีภาพ พุทธศาสนามีคำสอนใน กาลามสูตร ซึ่งสนับสนุนให้บุคคลใช้เหตุผลและความคิดอิสระในการตัดสินปัญหาต่างๆ โดยไม่ติดอยู่กับความยึดมั่นคือ “ไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ” แต่ให้สืบสวนค้นคว้าเสียก่อนจึงเชื่อ อุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการประชาธิปไตยยึดหลักการสำคัญในเรื่องความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพ ลัทธิประชาธิปไตยเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ของทุกคนว่ามีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน คนทุกคนอย่างน้อยที่สุดก็มีความสามารถในการปกครองตนเอง ด้วยเหตุที่ถือว่าความเสมอภาคเป็นเรื่องสำคัญ ประชาธิปไตยจึงยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพ เพราะถ้าขาดสิทธิเสรีภาพแล้วก็ย่อมขาดหลักประกันในเรื่องความเสมอภาค อุดมการประชาธิปไตยจึงเน้นเรื่องความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพควบคู่กันไป สิทธิเสรีภาพ สิทธิ คืออำนาจอันชอบธรรมหรือความสามารถที่จะกระทำการได้โดยชอบธรรม สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับโดยธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมาย เพราะฉะนั้นอำนาจอื่นแม้กระทั่งอำนาจของรัฐจะก้าวก่ายในสิทธิของบุคคลไม่ได้ ส่วนเสรีภาพนั้นหมายถึงความมีอิสระในการกระทำการใดๆได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจำกัดว่าการกระทำนั้นๆ ต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือสิทธิของบุคคลอื่น คนทุกคนมีเสรีภาพที่จะกระทำการใดๆ ที่ตนปรารถนาภายใต้แวดวงของกฎหมาย ถ้าสิทธิหรือเสรีภาพของเขาถูกก้าวก่ายโดยบุคคล นิติบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เขาสามารถที่จะร้องขอความยุติธรรมจากศาลได้ ในอดีตนั้นสิทธิและเสรีภาพของบุคคลมักถูกละเลยหรือได้ได้รับหลักประกันเพียงพอ ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพอาจมีการกล่าวอ้างอิงถึงเฉพาะในอารัมภบทของรัฐธรรมนูญเท่านั้น มิได้ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา ซึ่งทำให้ศาลไม่มีอำนาจที่จะพิทักษ์ให้ได้ ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยึดถือว่ารัฐธรรมนูญที่ยึดหลักประชาธิปไตยจะไม่มีความสมบูรณ์หากปราศจากบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็นข้อๆ ดังนี้ 1. เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ และการโฆษณา รัฐประชาธิปไตยโดยทั่วไปอนุญาตให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน ตราบเท่าที่ความที่นำมาเผยแพร่นั้นไม่หยาบคายลามก หมิ่นประมาท หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้มีค่าสูงมาก และเชื่อว่าหากยอมให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีแล้ว การขัดแย้งอย่างรุนแรงจะไม่ปรากฏ 2. เสรีภาพในการนับถือศาสนา ศาสนาเป็นเรื่องของการเชื่อถือ คนแต่ละคนย่อมมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะเลือกนับถือศาสนาหรือศรัทธาในศาสนาหนึ่งศาสนาใด อย่างไรก็ตามเสรีภาพในการนับถือศาสนามิได้หมายความว่า บุคคลสามารถที่จะปฏิเสธกฎหมายของรัฐซึ่งขัดแย้งกับหลักการทางศาสนาของเขา เช่น ศาสนาบางศาสนาถือว่าการเคารพธงชาติหรือประมุขของชาติเป็นผิดเป็นบาป แต่การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับกฎหมายของบ้านเมือง รัฐจึงอาจบังคับให้บุคคลที่ถือศาสนาดังกล่าวประพฤติตนให้เหมาะสมตามกฎเกณฑ์ของประเทศ อย่างไรก็ดีในบางประเทศที่เคารพเสรีภาพสูง เช่น สหรัฐอเมริกา การหลีกเลี่ยงกฎหมายของประเทศเพราะขัดต่อหลักการของศาสนาได้รับการยอมรับว่าไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด 3. เสรีภาพในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม บุคคลย่อมมีเสรีในการที่จะรวมกลุ่มกัน ซึ่งอาจจัดตั้งในรูปสมาคมเพื่อวัตถุประสงค์ใดที่ไม่ขัดต่อกฎหมายก็ได้ อย่างไรก็ตามกลุ่มหรือสมาคมที่จัดตั้งขึ้นนั้นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย และไม่เป็นอันตรายหรืออุปสรรคต่อผลประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม นอกจากนี้ประชาชนต้องมีเสรีภาพที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ตราบเท่าที่การกระทำนั้นเป็นไปอย่างสันติและไม่เกินเลยขอบเขตแห่งกฎหมาย เสรีภาพของประชาชนที่จะชุมนุมกันโดยสงบและปราศจากอาวุธ จะต้องได้รับการรับรองและถือกันว่าเป็นสิทธิพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยควบคู่กันไปกับเสรีภาพในการพูด การพิมพ์ และการโฆษณาแสดงความคิดเห็น 4, สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีทรัพย์สมบัติเป็นของตนเอง รัฐจะต้องทำหน้าที่ป้องกันภัยอันตรายอันจะเกิดต่อทรัพย์สินของประชาชนภายในรัฐด้วย 5. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย หากบุคคลใดตกเป็นผู้ต้องหาไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรืออาญา บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อหาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมตลอดถึงการได้รับทราบสิทธิที่จะสามารถกระทำได้ เช่น ขอพบทนายความเพื่อขอรับคำปรึกษา หรือผลัดการให้การ ที่สำคัญที่สุดคือ บุคคลจะต้องไม่ถูกลงโทษถึงแก่ชีวิต เสียอิสรภาพ หรือเสียทรัพย์สินโดยปราศจากการพิจารณาตามขบวนการแห่งกฎหมาย 6. สิทธิส่วนบุคคล สิทธิมูลฐานที่ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลมีหลายประการ เช่น เสรีภาพในร่างกาย การไปไหนมาไหน การเลือกประกอบอาชีพ ฯ นอกจากนี้ การสมรส การหย่าร้าง ความสัมพันธ์ในครอบครัว เหล่านี้ล้วนเป็นสิทธิส่วนบุคคลทั้งสิ้น บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในบางวาระเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นภัยต่อความสงบและมั่นคงของรัฐหรือยามสงคราม รัฐอาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกหรือประกาศภาวะฉุกเฉิน ถือว่าการละเมิดนั้นกระทำไปโดยความจำเป็นเพื่อผลประโยชน์ของรัฐหรือสังคมโดยส่วนรวม ความเสมอภาค ความเสมอภาคเป็นหลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่งของอุดมการประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยถือว่าคนทุกคนมีความเท่าเทียมกันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเหมือนกัน ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยนี้อาจจำแนกออกได้เป็น 5 ประการ ด้วยกันคือ 1. ความเสมอภาคทางการเมือง ได้แก่การที่บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมการเมืองเท่าๆกัน เช่น การออกเสียงเลือกตั้งเมื่ออายุถึงเกณฑ์ เสียงของแต่ละคนนับค่าเท่ากัน ความเสมอภาคทางการเมืองนี้รวมถึงสิทธิที่จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้
  12. บทที่ 5 ประชาธิปไตยตามแนวตะวันตก 3/09/2555 ประชาธิปไตยมีความหมายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักคิด หรือผู้ศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้ประโยชน์ อาจหมายถึงรูปแบบกการปกครองรูปแบบหนึ่งที่รัฐบาลเป็นของประชาชน โดยประชาชนคัดเลือกมา เพื่อทำประโยชน์แก่ประชาชน ซึ่งเกิดจากประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง มอบอำนาจบริหารตุลากร นิติบัญญัติ ให้ผู้แทนไปใช้ทำทำหน้าที่แทนเฉพาะกิจ เฉพาะกาล จะเรียกคืนไม่ได้ก็ได้ และอาจจะหมายถึงแนวคิด ทฤษฎี อุดมการณ์ วิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐมีความเสมอภาค มีสิทธิและเสรีภาพ การปกครองโดยกฎหมาย ได้รับการปฏฺบัติเท่าเทียมกันเสมอหน้า แม้ประเทศที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการ ทั้งแบบอำนาจนิยม และเบ็ดเสร็จนิยม ก็ยังเรียกว่า ระบบการปกครองของเขาเป็นประชาธิปไตย เช่น มุสโสลินี เรียกระบบฟาสซิสต์ว่า “ประชาธิปไตยอำนาจนิยม” (Authoritarian Democracy) ฮิตเลอร์เรียกระบบเผด็จการนาซีว่า “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” (Real Democracy) ส่วนเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนิยม เช่น เลนิน เรียกระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ว่า “ประชาธิปไตยชนชั้นกรรมาชีพ” เรียกการปกครองเสรีประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยแบบนายทุน” หรือ “แบบกฎุมพี” หรือ “ประชาธิปไตยแบบต่ำทราม” ส่วนประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ ทั้งในยุโรปตะวันตกและจีนเรียกระบบการปกครองของตนว่า “ประชาธิปไตยของประชาชน” หรือ “มหาประชาธิปไตย” ความหมายของประชาธิปไตย คำว่า “ประชาธิปไตย” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Democracy” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีก 2 คำ คือ “Demos” แปลว่า “ประชาชน” และ “Kratos” และว่า อำนาจ เมื่อรวมกันเข้าก็มีความหมายว่า “อำนาจของประชาชน” หรือ “ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ” เพราะฉะนั้นหลักการขั้นมูลฐานของประชาธิปไตยก็คือ “การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาค และเสรีภาพในการดำเนินชีวิต”[1] ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮิม ลินคอล์น (1809 – 1865) ได้ให้คำยามประชาธิปไตยในการกล่าวสุนทรพจน์ ณ เมืองเกตต์สเบอร์ก หรือ “เกตต์สปุระ” ในมลรัฐเพนซิลวาเนีย ในวันที่ 19 พฤศจิกายน คศ. 1863 ว่า “รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จะไม่มีวันสูญสลายไปจากพื้นพิภพนี้”[2] สุขุม นวลสกุลและวิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า “การปกครองที่เป็นประชาธิปไตย คือ รูปแบบการปกครองที่ยึดอำนาจอธิปไตยของปวงชน ไม่ว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presidential Democracy) หรือรูปแบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) ถ้าอำนาจสูงสุดในการกำหนดการปกครองอยู่ที่ประชาชนแล้ว ก็เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยทั้งสิ้น”[3] จรูญ สุภาพ ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า “ประชาธิปไตยหมายถึงการปกครองโดยหมู่ชนหรือประชาชน ประชาธิปไตยอาจแยกออกเป็น 2 คำ คือ “ประชา” หมายถึง “ประชาชน” อำนาจอธิปไตย หมายถึง “อำนาจสูงสุดของแผ่นดิน” เมื่อรวมกันจึงหมายถึง “การปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนหรือมาจากประชาชน” ประชาธิปไตยจึงมีความหมายทั้งในรูปแบบและหลักในการปกครองตลอดถึงการดำรงชีวิตร่วมกันของมนุษย์ ในแง่ของการปกครอง มุ่งถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายอันเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ในแง่ของการดำรงชีวิต หมายถึงการยอมรับเสรีภาพ ความสำคัญ และประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยมีเหตุผลเป็นเครื่องนำทาง เพื่อความผาสุกร่วมกัน และประชาธิปไตยมีทั้งความหมายอย่างแคบและอย่างกว้าง อย่างแคบ หมายถึง “ประชาชนมีอำนาจปกครองตนเอง” อย่างกว้าง หมายถึง “วิถีชีวิตอีกแบบหนึ่งซึ่งมีแบบแผนแห่งพฤติกรรมในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม”[4] จากคำนิยามความหมายดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ว่า “ประชาธิปไตยหมายถึงประชาธิปไตยมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ทั้งอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ใช้อำนาจทั้งโดยผ่านผู้แทนของตน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม” ความหมายของประชาธิปไตยในทัศนะต่างๆ ประชาธิปไตยมีความหมายหลายสถานะ ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักทฤษฎี กาลเวลา สถานที่ ผู้ที่นำไปใช้ และการตีความให้สอดคล้องกลมกลืนกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของพวกตน ความหมายดังกล่าวประกอบไปด้วย 1. ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครองแบบหนึ่ง ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ประชาชนเป็นทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ซึ่งเป็นการปกครองตนเอง โดยประชาชนมีอำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐทั้งแบบโดยตรง และโดยอ้อม ด้วยการมอบให้ผู้แทนไปใช้อำนาจดังกล่าวแทน โดยวิธีการเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมาก ซึ่งรูปแบบการปกครองแบบนี้ไม่มีในการปกครองแบบอื่น เช่น ราชาธิปไตย ทุชนาธิปไตย อภิชนาธิปไตย คณาธิปไตย และเผด็จการทั้งอำนาจนิยมและเบ็ดเสร็จนิยม 2. ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นทฤษฎีทางการเมืองอีกแบบหนึ่ง ประชาธิปไตยในแง่ของทฤษฎี ซึ่งมีหลักการประกอบไปด้วย การปกครองที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน ควบคุมรัฐบาลโดยประชาชน หลักแห่งเสียงข้างมาก 3. ประชาธิปไตยในฐานะเป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่ง ประชาธิปไตยในแง่อุดมการณ์ เป็นการปกครองโดยรัฐบาล เป็นของประชาชน โดยประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยทางการบริหารให้ทำงานเพื่อประชาชน ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ทาง คือ อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ อำนาจทั้ง 3 ที่ประชาชนมอบให้ จะทำหน้าที่ถ่วงซึ่งกันและกัน ทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้รับประโยชน์เต็มที่ บรรลุความสงบสุขร่วมกัน มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 4. ประชาธิปไตยในทัศนะของเผด็จการอำนาจนิยม เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้ระบบเผด็จการก็เรียกตัวเองว่า ประชาธิปไตย เช่น มุสโสลินี เรียกระบบฟาสซิสม์ของเขาว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยม” และฮิตเลอร์เรียกระบบนาซีว่าเป็น “ประชาธิปไตยแท้จริง” หมายถึงพรรคฟาสซิสม์และพรรคนาซี ทำหน้าที่เพียงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ ทำหน้าที่ในการบริหารแทนประชาชนเท่านั้น ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคในส่วนของชีวิตร่างกาย ทรัพย์สิน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การนับถือศาสนา สันทนาการอื่นๆได้อย่างเท่าเท่ยมกัน 5. ประชาธิปไตยในทัศนะของคอมมิวนิสต์ แม้ประเทศที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ก็ถือว่าการปกครองของตนเป็นประชาธิปไตย เช่น รัสเซีย เรียกระบบการปกครองของตนว่า “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” ประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ ทั้งในยุโรปและเอเซีย เช่น ประเทศจีน เรียกระบบการปกครองของตนว่า “ประชาธิปไตยของประชาชน” หรือ “มหาประชาธิปไตย” ทั้งนี้เพราะประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียม เสมอภาคกันทางเศรษฐกิจ ไม่มีคนจน คนรวย มีฐานะชนชั้นทางสังคมเสมอกัน คือ ชนชั้นเดียวกัน ได้แก่ ชนชั้นกรรมาชีพ ส่วนรัฐบาลซึ่งมาจากพรรคการเมืองเดียว ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่แทนประชาชนทั้งหมด คือ พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจะทำหน้าที่แทนในเบื้องต้นเท่านั้น เมื่อระบบคอมมิวนิสต์พัฒนาถึงระดับสูงสุด บรรลุเป้าหมายของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์แล้ว ประชาชนมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนสุขเท่าเทียมกันแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลก็จะสลายตัวไป ไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ทุกคนสามารถมีชีวิอยู่อย่างสุขสบาย มีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ปราศจากการควบคุมใดๆจากรัฐบาลและกฎหมาย หลักการของประชาธิปไตย หลักการของประชาธิปไตยตามทัศนะของ เฮนรี เมโย (Henry Mayo) 4 ประการ คือ 1. การควบคุมผู้วางนโยบายโดยประชาชน 2. ความเสมอภาคทางการเมือง 3. เสรีภาพทางการเมืองหรือประสิทธิผลในการควบคุมโดยประชาชน 4. หลักแห่งเสียงข้างมาก[5] ซิกมันด์ นอยมันน์ (Sigmund Neumann) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ คือ 1. อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน เป็นของปวงชน 2. ขั้นตอนเลือกผู้นำเป็นไปโดยเสรี 3. ผู้นำมีความรับผิดชอบ 4. ระบอบความเสมอภาค 5. สนับสนุนพรรคการเมืองมีมากกว่า 1 พรรค 6. เน้นความหลากหลายในชีวิตประจำวัน 7. ไม่กีดกันกลุ่มต่างๆ จากการมีส่วนร่วมในการบริหารการปกครอง 8. สำนึกในความเป็นพลเมืองดี 9. ส่งเสริมครรลองทัศนคติแบบประชาธิปไตย 10. เน้นความเชื่อมั่นในความดีของมนุษย์[6] หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เจริญอยู่ในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา มีหลักการสำคัญ ดังนี้ 1. การยึดถือเหตุผล 2. การเน้นความสำคัญของปัจเจกบุคคล 3. การถือรัฐเป็นเครื่องมือของประชาชน 4. การอาศัยความสมัครใจเป็นใหญ่ 5. การยึดถือกฎเหนือกฎ 6. การเน้นความสำคัญของวิธีการ 7. การถือความเห็นพ้องต้องกันเป็นหลักมนุษยสัมพันธ์ 8. การถือสมภาพ หรือความเท่าเทียมกันขั้นมูลฐานของมนุษย์[7] 1. การยึดถือเหตุผล ประชาธิปไตยถือหลักการที่ว่า ประชาชนทุกคนในรัฐเป็นเจ้าของรัฐเท่าเทียมกัน ย่อมมีสิทธิที่แสดงความคิดเห็น วิพากวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล หรือการตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมได้เท่ากัน ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ความคิดเห็นของพวกเขาก็เป็นสิ่งที่ควรรับฟัง การกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นการขัดแย้งหรือขัดขวาง แต่ถือว่าเป็นการแสวงหาเหตุผลข้อเท็จจริง สรุปเป็นหลักการที่นำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นได้โดยเสรี 2. การเน้นความสำคัญของปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด ปัจเจกบุคคลเป็นผู้สร้างสังคม สร้างสถาบันทางสังคม รวมกันเข้าเป็นรัฐ เป็นประเทศ ปัจเจกบุคคลจึงควรได้รับการส่งเสริมให้มีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคทั้งทางสังคม การเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ มีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี เพราะถ้ารัฐใดประชาชนแต่ละคนเป็นคนมีคุณภาพ ก็จะทำให้รัฐหรือประเทศนั้นเจริญก้าวหน้าได้ 3. การถือรัฐเป็นเครื่องมือของประชาชน รัฐบาลเป็นเครื่องมือของประชาชนในการทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการอยู่ร่วมกันของ ประชาชน คอยอำนวยความสะดวก ประสานผลประโยชน์ แก้ไขข้ออุปสรรคต่างๆ ให้กับสังคม เป็นผู้รับใช้ประชาชน รัฐเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดำเนินต่อไปเพื่อประชาชน ไม่ใช่ประชาชนเป็นอยู่เพื่อรัฐ เพราะรัฐเป็นของประชาชน ประชาชนเป็นผู้สร้างรัฐ รัฐจึงเป็นผลผลิตของประชาชน หน้าที่ของรัฐเพียงรักษากฎหมาย ให้ความยุติธรรม รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันรักษาอำนาจอธิปไตยทั้งภายใจและภายนอก 4. การอาศัยความสมัครใจเป็นใหญ่ ประชาธิปไตยสนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สามารถเลือกดำรงชีวิตตามความสมัครใจ รัฐจะบีบบังคับให้ประชาชนกระทำหรือห้ามไม่ให้กระทำนอกเหนือหลักแห่งนิติธรรมไม่ได้ 5. การยึดถือกฎเหนือกฎ หลักการที่ว่านี้ ถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทั้งอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ใช้อำนาจเหล่านี้เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิผลประโยชน์ของประชาชน หากผู้รับมอบอำนาจไปทำหน้าที่แทนทั้งฝ่ายรัฐบาล สภานิติบังคับบัญชา หรือตุลาการ ปฏิบัติผิดวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของประชาชน ประชาชนก็มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ โดยการใช้อำนาจอธิปไตย ผ่านการเลือกตั้งซึ่งเป็นการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ สภานิติบัญญัติให้ หรือยกเลิกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้ 6. เน้นความสำคัญของวิธีการ ประชาธิปไตยให้ความสำคัญของวิธีการในการได้มาซึ่งอำนาจ การแสวงหาอำนาจ การใช้อำนาจ การเปลี่ยนแปลงอำนาจา โดยวิธีการตัดสินด้วยเสียงข้างมาก เป็นวิธีการบรรลุเป้าหมายโดยสันติวิธี เป็นความต้องการของเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ประชาชน ซึ่งวิธีนี้ไม่มีการในการปกครองแบบอื่น 7. การถือความเห็นพ้องต้องกันเป็นหลักในมนุษยสัมพันธ์ ประชาธิปไตยมีหลักการว่า ทุกคนในรัฐเป็นเจ้าของรัฐร่วมกัน ไม่มีใครมีสิทธิผูกขาดในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนเดียว ดังนั้นทุกคนต้องยอมรับในสัญญาประชาคมที่ใช้เพื่ออยู่ร่วมกัน คือ หลักนิติรัฐ กฎเกณฑ์ที่ตกลงในการอยู่ร่วมกันนี้ เป็นหลักของมนุษยสัมพันธ์ของประชาชนทุกคน ถือเป็นหลักปฏิบัติในวิถีชีวิต ในความมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคกัน ซึ่งเป็นการยอมรับของทุกคน เพื่อความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน 8. การถือสมภาพ หรือความเท่าเทียมกันขั้นมูลฐานของมนุษย์ ประชาธิปไตยถือว่า ทุกคนภายในรัฐมีสิทธิในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และความเป็นเจ้าของรัฐเท่าเทียมกัน มีเสรีภาพในการปกป้องชีวิตร่างกาย ทรัพย์สินเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคในการใช้อำนาจอธิปไตยเท่าเทียมกัน คือ 1 คน เท่ากับ 1 เสียง ไม่มีใครจะมีสิทธิเหนือกว่าใคร ไม่ว่าจะร่ำรวย หรือยากจน มีการศึกษาสูง ต่ำ หรือสถานภาพทางสังคมเป็นอย่างไร อุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ประชาธิปไตยเน้นหลักการความเสมอภาคและเสรีภาพเป็นสำคัญ พื้นฐานที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันของผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง การมีสิทธิเสรีภาพถือว่าเป็นหลักประกันศักดิ์ศรีของประชาชนในสังคม ศรัทธาและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยนั้นจำแนกได้เป็นข้อๆ ดังนี้ 1. เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ และการโฆษณา 2. เสรีภาพในการนับถือศาสนา 3. เสรีภาพในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม 4. สิทธิในทรัพย์สิน 5. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย 6. สิทธิส่วนบุคคล ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย อาจจำแนกออกเป็น 5 ประการ คือ 1. ความเสมอภาคทางการเมือง 2. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย 3. ความเสมอภาคในโอกาส 4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ 5. ความเสมอภาคทางสังคม[8] สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคไม่มีในอุดมการณ์ การปกครองในรูปแบบอื่นใดนอกจากการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองในรูปแบบอื่นแม้จะอ้างว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อนำอุดมการณ์ประชาธิปไตยดังกล่าวเข้าไปเป็นกรอบในการปฏิบัติแล้ว จะทราบได้แน่ชัดว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาธิปไตย 2 รูปแบบ[9] ประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบโดยตรงและแบบมีตัวแทนหรือโดยอ้อม 1. ประชาธิปไตยแบบโดยตรง ได้แก่ รูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เช่น การออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย การตัดสินใจ หรือการตัดสินปัญหาโดยประชาชนร่วมกันตัดสินโดยการลงมติเสียงข้างมาก 2. ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนหรือโดยอ้อม ได้แก่ รูปแบบการปกครองที่ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยทั้งอำนาจบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติให้แก่ผู้แทนไปทำหน้าที่ใช้อำนาจดังกล่าวแทน ประชาธิปไตยแบบโดยตรงเหมาะกับประชนชนจำนวนไม่มาก ฐานะความเป็นอยู่ของประชากรไม่เหลื่อมล้ำกันมาก สังคมมีลักษณะสมานรูป ไม่มีความแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติและวัฒนธรรม รูปแบบนี้เคยมีใช้ปกครองนครรัฐเอเธนส์ ประชาธิปไตยแบบโดยมีผู้แทนหรือโดยอ้อม เป็นรูปแบบที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะประชากรมีเป็นจำนวนมากที่จะต้องใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองซับซ้อน ถ้าผู้มีสิทธิเข้าร่วมประชุมโดยไม่ใช่แบบผู้แทน จะก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคเรื่องเวลา สถานที่ การตัดสินปัญหาต่างๆ ล่าช้า ไม่ทันการ จะเห็นได้ว่า รูปแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ต้องยอมรับในหลักการที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รัฐบาลเป็นของประชาชน โดยประชาชนเป็นผู้เลือกมาทำหน้าที่เพื่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของรัฐ ความรับผิดชอบของรัฐบาลต้องมีต่อประชาชน ไม่ใช่ประชาชนต้องรับผิดชอบรัฐบาล โดยหลักการของประชาธิปไตยนั้น เน้นการมีส่วนร่วมในทางการปกครองของประชาชน ในการควบคุมรัฐบาล รัฐบาลไม่สามารถผูกขาดการบริหารเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ไม่อาจกีดกันประชาชนในการมีส่วนร่วมบริหารการปกครอง ประชาชนต้องมีความสำนึกในความเป็นพลเมืองดีของสังคม โดยต่างก็เชื่อมั่นในความดีของมนุษย์ทุกคนที่อยู่ร่วมกันในรัฐว่า สามารถปกครองตนเองและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ ยอมรับสมภาพ หรือความเท่าเทียมกันของมนุษย์ เน้นวิถีชีวิตของประชาชนที่หลากหลาย แตกต่างกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ มีสิทธิเสรีภาพทั้งสิทธิในชีวิตร่างกาย ทรัพย์สิน ได้รับการคุ้มครองเท่าเทียมกันทางกฎหมาย สิทธิส่วนบุคคล และเสรีภาพในการพูด การแสดงออกด้วยการพิมพ์ โฆษณา การนับถือศาสนา การสมาคมรวมกลุ่ม หลักแห่งความเสมอภาคในโอกาส การปฏิบัติตามกฎหมาย ความเสมอภาคทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเห็นพ้องต้องกันเป็นหลักในมนุษยสัมพันธ์ และหลักแห่งเสียงข้างมาก ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้ จะมีอยู่ในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น การปกครองรูปแบบอื่นแม้จะอ้างว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าปราศจากหลักการ อุดมการณ์ดังกล่าวแล้ว หาใช่ปัญญาในระบอบประชาธิปไตยไม่ ประชาธิปไตยตามแนวพุทธ ประชาธิปไตยตามแนวพุทธ หมายถึงหลักการและวิธีการแบบประชาธิปไตยที่มีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือที่เราเรียกกันว่า พระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในรูปแบบของคำสั่งสอน คือ พระธรรมและวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ มิใช่ทฤษฎีทางการเมืองโดยตรงแบบตะวันตก ซึ่งเป็นระบอบการเมืองระบอบหนึ่งที่ใช้ในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตามจะให้หลักคำสอนในทาง พระพุทธศาสนาตรงกับรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดเลยก็เป็นไปไม่ได้ จะนำเสนอเฉพาะในหลักการสำคัญที่มีความสอดคล้องกัน ดังต่อไป 1. หลักแห่งการมีส่วนร่วมในการปกครอง 2. หลักการอยู่ร่วมกันสังคมของกลุ่มหลากหลายอย่างสันติ 3. หลักแห่งความเสมอภาค 4. หลักแห่งเสียงข้างมาก 1. หลักแห่งการมีส่วนร่วมในการการปกครอง ในปฐมโพธิกาลเมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้ใหม่ๆ แล้วทรงประกาศพระศาสนา มีผู้เลื่อมใสขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ยังมีจำนวนพระภิกษุไม่มาก พระองค์ทรงปกครองพระสงฆ์ ทรงบริหารกิจการพระพุทธศาสนาด้วยพระองค์เอง ต่อมาเมื่อมีจำนวนพระสาวกมากขึ้น ทรงมอบการบริหารพระศาสนาให้เป็นหน้าที่ของสงฆ์ เป็นลักษณะของการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล ไม่ได้รวมศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่พระองค์เอง พระภิกษุทุกรูปที่เข้ามาอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งพระวินัยบัญญัติที่กำหนดจำนวน และขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ โดยทรงกำหนดจำนวนสงฆ์ 5 ประเภท ดังนี้ คือ 1. ภิกษุสงฆ์ 4 รูป เรียก จตุวรรค 2. ภิกษุสงฆ์ 5 รูป เรียก ปัญจวรรค 3. ภิกษุสงฆ์ 10 รูป เรียก ทสวรรค 4. ภิกษุสงฆ์ 20 รูป เรียก วีสติวรรค 5. ภิกษุสงฆ์เกินกว่า 21 รูป เรียก อติเรกวีสติวรรค[10] อำนาจหน้าที่ของภิกษุสงฆ์แต่ละประเภท 1. ภิกษุสงฆ์ 4 รูป (จตุวรรค) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.1 สวดพระปาติโมกข์ คือ สวดทบทวนศีลของพระภิกษุสงฆ์จำนวน 227 ข้อ ทุก 15 วัน ที่เรียกว่า “ทำอุโบสถ” ซึ่งภิกษุสงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปทำได้ ถ้าจำนวนน้อยกว่าทำไม่ได้ ทำได้เพียงแสดงความบริสุทธิ์แห่งศีลของตนต่อคณะหรือบุคคล 1.2 สวดประกาศรับผ้ากฐิน ที่เรียกว่า สวดกฐิน คือ ประกาศมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยขอความเห็นชอบจากสงฆ์ ในพระวินัยปิฎกได้กำหนดไว้อย่างนี้ ส่วนในอรรถกถา พระอรรถกถาจารย์เห็นว่า เพื่อความสมบูรณ์ ควรเป็นอำนาจของภิกษุสงฆ์ 5 รูป ทั้งนี้เพราะภิกษุ 1 รูปสวดประกาศต่อหน้าภิกษุสงฆ์ 4 รูป หากมีภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูป 1 รูปสวดประกาศ แล้วดูคล้ายจะประกาศต่อคณะบุคคล ท่านจึงเห็นควรสวดประกาศต่อสงฆ์ 4 รูป ซึ่งดูเหมือนไม่ได้ขัดแย้งกัน 1.3 สวดสมมติ หรือแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ เช่น เป็นผู้แจกที่อยู่อาศัย (เสนาสนะ) แจกจีวร และแจกอาหาร (ภัตตุเทศ) 2. ภิกษุสงฆ์ 8 รูป (ปัญจวรรค) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 2.1 ทำการอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ที่เรียกว่า “ปวารณา” 2.2 ทำการอุปสมบท คือ บวชพระในที่ที่หาพระยาก ที่เรียกว่า “ปัจจันตชนบท” 2.3 ทำกิจของสงฆ์อื่นๆ ทุกชนิดที่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูป ทำได้ 3. ภิกษุสงฆ์ 10 รูป (ทสวรรค) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 3.1 ทำการอุปสมบท คือ บวชพระในที่ที่หาพระง่าย ที่เรียกว่า “มัชฌิมชนบท” 3.2 ทำกิจของสงฆ์ (สังฆกรรม) อื่นที่ภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูป และ 5 รูป ทำได้ทุกชนิด 4. ภิกษุสงฆ์ 20 รูป (วีสติวรรค) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 4.1 สวดถอนอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติหนักขนาดกลาง) แก่ภิกษุผู้ทำผิดอาบัติ คือ ล่วงอาบัติสังฆาทิเสสได้ 4.2 ทำการแทนสงฆ์ คือ สังฆกรรมทุกชนิดที่พระภิกษุสงฆ์จำนวนที่ต่ำกว่าทำได 5. ภิกษุสงฆ์เกินกว่า 20 รูป (อติเรกวีสติวรรค) ทำสังฆกรรม คือ กิจของสงฆ์ได้ทุกชนิด จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงไว้วางพระหฤทัยใหนพระภิกษุสงฆ์ มอบอำนาจในการบริหารการปกครองพระพุทธศาสนาแก่พระสงฆ์ อำนาจหน้าที่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวน เพื่อความรอบคอบในการตัดสินใจรับผิดชอบร่วมกัน พระภิกษุสงฆ์จะพำนักอยู่ ณ สถานที่ใด ใกล้หรือไกลก็มีสิทธิขาด มีอำนาจหน้าที่ในการร่วมบริหารจัดการปกครองหมู่คณะด้วยกันทั้งนั้น หากภิกษุรูปใดไม่เข้าร่วมในสังฆกรรมที่เป็นกิจของสงฆ์ในที่ที่ตนพำนักในที่นั้นๆ แล้วต้องอาบัติทุกกฎ ชื่อว่า ล่วงละเมิดพระวินัย ไม่เอื้อเฟื้อในกิจการของสงฆ์ การบริหารไม่ผูกขาดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผู้บริหารรับผิดชอบประชากรและองค์กร ประชากรก็รับผิดชอบต่อผู้บริหารและองค์กร อำนาจการปกครองเป็นของภิกษุสงฆ์ โดยภิกษุสงฆ์ดำเนินการ เพื่อประโยชน์ของภิกษุสงฆ์ ไม่กีดกันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในการมีส่วนร่วมในการปกครอง เชื่อมั่นในความดีของพระภิกษุสงฆ์ว่า สามารถปกครองกันเองและหมู่คณะได้ ตามหลักการของสาราณียธรรม 6 ประการ และหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ ดังต่อไปนี้ หลักสารานิยธรรม 6 ประการ คือ 1. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อด้วยกาย ด้วยจิตเมตตา 2. เข้าไปตั้งวจีกรรมในเพื่อภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจทั้งปวงด้วยวาจา เช่นว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนอบรมด้วยจิตเมตตา 3. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อภิกษุและสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ คิดแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อกัน 4. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาโดยธรรม ให้เพื่อภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคผู้เดียว 5. รักษาศีล คือ ความประพฤติทางกาย วาจาให้บริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น 6. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่วิวาทกับใครๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน[11] หลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ คือ 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. เมื่อประชุมก็พร้อมกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมใจกันเลิก พร้อมใจกันทำกิจของสงฆ์ที่ต้องทำ 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่นอกเหนือกฎเกณฑ์พระธรรมวินัย และไม่ยกเลิกกฎเกณฑ์ตามพระธรรมวินัย ประพฤติปฏิบัติตามกรอบแห่งพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ 4. ภิกษุเหล่าใดเป็นใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน 5. ไม่ลุอำนาจความอยากที่เกิดขึ้น 6. ยินดีในเสนาสนะป่า 7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อภิกษุสามเณรซึ่งมีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข[12] หลัก 7 ประการ หรือธรรม 7 ประการนี้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกำลังปรากฏตนเอง และปกครองสังฆมณฑลให้เจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย 2. หลักแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของกลุ่มที่หลากหลายในสังคม พระพุทธศาสนามีหลักการแห่งการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ของกลุ่มที่หลากหลายเป็นชนชั้น กลุ่มผู้นำชั้นปกครอง และประชาชนผู้ถูกปกครอง ลัทธิความเชื่อที่แตกต่างกัน ชนชั้นวรรณะที่แตกต่าง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ 1. การอยู่ร่วมกันของผู้นำชั้นปกครองและประชาชนผู้ถูกปกครอง 2. การอยู่ร่วมกันของกลุ่มที่มีลัทธิความเชื่อที่แตกต่างกัน 3. การอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนชั้นที่แตกต่างกัน 1. การอยู่ร่วมกันของผู้นำชั้นปกครองและประชาชนผู้ถูกปกครอง การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมนั้น ย่อมมีหลากหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละคนนั้นย่อมปรารถนาความสุขสงบในการอยู่ร่วมกัน แต่เนื่องจากความหลากหลายแห่งวิถีการดำรงชีวิต ความต้องการที่บรรลุเป้าหมายของแต่ละคนย่อมมีวิธีที่แตกต่างกัน ในวิธีที่แตกต่างในคนที่แตกต่าง ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข เกิดความแตกแยก แก่งแย่ง และต่อต้าน ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ที่ต้องการได้ พระพุทธศาสนามีหลักเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและประชาชนผู้ถูกปกครอง ระหว่างประชาชนเอง ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในสถาบันสังคม ดังนี้ 1.1 หลักแห่งการพรหมวิหาร ประกอบไปด้วยข้อปฏิบัติ 4 ประการ คือ 1. เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข 2. กรุณา ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ 3. มุทิตา ยินดีในเมื่อผู้อื่นได้ดี 4. อุเบกขา ความเป็นผู้มีใจเป็นกลาง หรือยุติธรรม[13] พรหมวิหารเป็นข้อปฏิบัติประจำใจของคนชั้นสูง คือ คนที่มีจิตใจสูง เป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของชนทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ปกครองและประชาชน 1.2 หลักแห่งอคติ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก 2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบ 3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะไม่รู้จริง (เขลา) 4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัวอำนาจบารมี[14] อคติ 4 ประการ เป็นสิ่งที่ควรละเว้น เป็นข้อปฏิบัติที่ผู้อยู่ร่วมกันในสังคม ควรตระหนักไม่ว่าจะเป็นประชากรกลุ่มไหน อยู่ในสถานภาพอย่างไร ความยุติธรรมอันเป็นหัวใจสำคัญในการอยู่ร่วมกันฉันมิตรจะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากจิตใจของประชาชนเต็มไปด้วยอคติต่อกัน 1.3 หลักสังคหวัตถุ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่น 2. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน 3. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตตา มีตนเสมอไม่ถือตัว[15] สังคหวัตถุ 4 ประการเป็นหลักแห่งมนุษยสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เป็นเครื่องผูกในให้เกิดความรู้สึกมีความรักผูกพันฉันญาติมิตร เป็นประดุจห้วงน้ำเย็นท่ำให้โลกร่มรื่นน่าอยู่ 1.4 หลักแห่งทิศ 6 ประกอบด้วย 1. ทิศเบื้องหน้า มารดาบิดาและบุตร 2. ทิศเบื้องขวา อาจารย์และศิษย์ 3. ทิศเบื้องหลัง ภรรยาและสามี 4. ทิศเบื้องซ้าย มิตรต่อมิตร 5. ทิศเบื้องต่ำ ลูกน้องบริวานและผู้บังคับบัญชา 6. ทิศเบื้องบน สมณะและอุบาสกอุบาสิกา[16] ทิศ 6 เป็นหลักแห่งความสัมพันธ์แบบรอบทิศทาง เป็นข้อปฏิบัติที่ดีงามของผู้ที่มีความเกี่ยวข้องผูกพันกัน จะพึงปฏิบัติต่อกัน หากปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวแล้ว การอยู่ร่วมกันในฐานะต่างๆ จะเป็นอย่างราบรื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งใดๆ จะทำให้มวลมนุษย์อยู่กันอย่างสันติสุข 2. การอยู่ร่วมกันของกลุ่มที่มีลัทธิความเชื่อที่แตกต่างกัน ในสังคมอินเดียนั้นล้วนหลากหลายลัทธิ ความเชื่อ มีทั้งความเชื่อในศาสนาดั้งเดิม คือ ศาสนาพราหมณ์ และเจ้าลัทธิทั้งหลาย เช่น ครูทั้ง 6 ประกอบด้วย 1. ปูรณกัสปะ เจ้าลัทธิ “อกิริยวาท” คือ เชื่อว่า การกระทำว่าไม่เป็นอันทำ 2. มักขลิโคศาล เจ้าลัทธิ “อเหตุกวาท” คือ เชื่อว่า ความบริสุทธิ์และเศร้าหมองของสัตว์ ไม่มีเหตุปัจจัย 3. อหิตเกสกัมพล เจ้าลัทธิ “นัตถิกวาท” คือ เชื่อว่า ไม่มีสัตว์บุคคล ไม่มีบุญและบาป ไม่มีชาติหน้า มีเฉพาะชาตินี้ 4. ปกุธกัจทยะ เจ้าลัทธิ “อุจเฉทวาท” คือ เชื่อว่า ตายแล้วสูญสิ้น ไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่ ทุกสิ่งสิ้นสุดลงหลังการตาย 5. สญชัยเวลัฏฐบุตร เจ้าลัทธิ “อมราวิกเขปกะ” คือ ไม่มีหลักการที่ไม่แน่นอนในสิ่งใด ขึ้นอยู่กับความพอใจที่จะพูดอย่างไร 6. นิครนถนาฏบุตร เจ้าลัทธิที่มีความเชื่อในการบำเพ็ญตบะ ทรมานตน หรือลัทธิเปลือยกาย ไม่นุ่งห่มสิ่งใด[17] พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นท่ามกลางศาสนาพราหมณ์ และเจ้าลัทธิเหล่านี้ แต่ปรากฏ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ แม้พระพุทธศาสนาจะถูกเบียดเบียนในบางครั้ง จากผู้ที่ไม่หวังดีบ้าง แต่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ตลอดจนพุทธบริษัททั้ง 4 ก็ไม่เคยทะเลาะวิวาท หรือมีปัญหากับผู้ที่มีความเห็นแตกต่างเลย ทั้งนี้เพราะยึดหลักธรรมนูญของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักการในการเผยแพร่พระศาสนา และในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งมีหลักการดังนี้ 1. ขันติ คือ ความอดทน เป็นตบะอย่างยอดเยี่ยม ท่านผู้รู้กล่าวนิพพานว่าเป็นยอด บรรพชิตผู้ฆ่าเบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่า สมณะ 2. ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตของตนให้ผ่องใส 3. ไม่พูดค่อนขอดกัน ไม่ประหัตประหารกัน สำรวมในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร อยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด ประกอบความเพียรทางจิตอย่างสูง[18] ในการยึดถือหลักการในโอวาทปาฏิโมกข์ดังกล่าวเป็นหลักแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นหลักแห่งความดีขั้นสูงสุดของมนุษยชาติโดยแท้ ส่วนหลักการในการเผย
  13. เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของ “นิสิตนักศึกษา” อย่างไร?
    เนื่องจากนิสิตนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยเพิ่งอยู่ในช่วงเปิดภาคเรียน [เสด-ถะ-สาด].com จึงขอให้กำลังใจนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจเองหรือเลือกไม่ได้ แต่สุดท้ายต้องเข้ามาเรียนเศรษฐศาสตร์ทุกคน ด้วยการนำเอาเรื่องราวสนุกๆ เกี่ยวกับวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายวิถีชีวิตประจำวันของความเป็นนิสิตนักศึกษา
    ทความนี้เรียบเรียงขึ้นในลักษณะเรื่องเล่าแทนที่จะเป็นวิชาการในแบบทความอื่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ด้วยมีความมุ่งหวังในผู้อ่านเข้าใจพลังในการอธิบายของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่มากมายแม้แต่เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ไปพร้อมๆ กับความสนุกสนานในการอ่านบทความนี้ เน้นว่าเนื่องจากเป็นเรื่องราวสนุกๆ ดังนั้น อย่าจริงจังกับเนื้อหาของบทความมากเกินไปนะครับ เดี๋ยวจะไม่สนุกเอา แต่ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์อยู่บ้างพอสมควร
    “นักคิดทางเศรษฐศาสตร์” (ที่มาของภาพ)
    วิชาเศรษฐศาสตร์นั้นเริ่มต้นจากความเป็นจริงพื้นฐานที่ว่า โลกมีทรัพยากรอยู่จำนวนจำกัด (Limited Resources) แต่มนุษย์มีความต้องการอยู่อย่างไม่จำกัด (Unlimited Wants) จึงก่อให้เกิดความขาดแคลน (Scarcity) ขึ้นในสังคม และเศรษฐศาสตร์นี่เองที่เป็นแนวคิดสำคัญในการพิจารณาแนวทางการจัดสรรทรัพยากรเพื่อบำบัดความต้องการดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด (Best Allocation)
    เมื่อกล่าวถึงตรงนี้ ก็คงต้องนึกไปถึงบทที่ 1 ของวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นตัวแรกที่เรียนกันตอนปี 1 ทั้งนี้ เพื่อพิจารณาว่ากระบวนการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นกระทำได้ดีเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถตอบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economic Problems) ที่ทุกระบบเศรษฐกิจกำลังเผชิญอยู่ได้ดีเพียงใดนั่นเอง
    นิสิตเศรษฐศาสตร์ทุกคนย่อมนึกออกทันทีว่าปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เคยเรียนกันมานั้นประกอบด้วย ๑) What ควรจะผลิตสินค้าอะไร ๒) How ควรจะผลิตสินค้านั้นอย่างไร และ ๓) For Whom ควรจะผลิตสินค้านั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของใคร ซึ่งหากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ การจัดสรรทรัพยากรก็จะเป็นไปอย่างดีที่สุด (แต่วิชาเศรษฐศาสตร์ก็อาจจะไม่มีความหมายอีกต่อไป)
    เราคงต้องขอบคุณความขาดแคลน การแย่งชิงและความยุ่งเหยิงในระบบเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนให้สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดำรงอยู่ และเติบโตขึ้น เมื่อสิ่งเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลา แต่รู้ไหมว่า แท้ที่จริงแล้ว สาเหตุที่ทุกระบบเศรษฐกิจ (อย่างน้อยก็ประเทศไทย) ยังคงเผชิญกับปัญหานี้อยู่ก็เพราะนักเศรษฐศาสตร์เองยังตอบปัญหาพื้นฐานที่ตนเองเผชิญไม่ได้ ปัญหาที่ผมกำลังพูดถึงเริ่มต้นมาจากรากฐานตั้งแต่สมัยยังเป็นนิสิตที่มักตอบคำถามนี้ไม่ได้คือ Why โดยเฉพาะ Why (Economics)? “ทำไมต้องเศรษฐศาสตร์?”
    คำตอบสำหรับนิสิตเศรษฐศาสตร์เองข้อนี้ค่อนข้างยาก เพราะแค่จากจุดเริ่มต้นก่อนตัดสินใจมาเรียนเศรษฐศาสตร์ ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะตอบไม่ได้แล้วว่า “ทำไมถึงต้องไปเรียนเศรษฐศาสตร์?” หรือที่แย่กว่านั้นคือคนที่กำลังเรียนเศรษฐศาสตร์อยู่ หลายคนก็ยังตอบไม่ได้ว่า “เรียนเศรษฐศาสตร์แล้วเอาไปใช้ทำอะไร?” สุดท้ายยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เพราะคนที่จบเศรษฐศาสตร์หลายคนเองก็สงสัยว่า “เราเรียนอะไรกันไป?”
    อันที่จริงแล้ว ก่อนจะลงมือเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนได้พยายามหาคำตอบอยู่ (ทั้งที่ก็หาอยู่ตั้งแต่เป็นนิสิต) แต่เพื่อบทความนี้ ผู้เขียนจะพยายามบอกให้ได้ว่า “ทำไมต้องเศรษฐศาสตร์?” ด้วยการชี้ให้เห็นพลังในการอธิบายของเศรษฐศาสตร์ที่แม้แต่กับเรื่องการดำเนินชีวิตของนิสิต เศรษฐศาสตร์ก็ทำได้
    ลองนึกตามเรื่องราวที่กำลังจะเล่ากัน………
    เริ่มต้นจากข้อสมมติเบื้องต้น (Basic Assumptions) ที่กำหนดให้ข้อความที่จะเขียนต่อไปนี้ถูกต้องทุกประการ หากมีข้อสงสัยประการใด ห้ามถาม หากมีข้อโต้แย้งใดใด ก็ห้ามเถียงด้วยเช่นกัน เพราะบทความนี้ต้องการแสดงพลังในการอธิบายชีวิตประจำวันด้วยความสนุกสนานเท่านั้น
    เมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า เรารู้สึกงัวเงีย โดยรู้ว่า หากตื่นนอนตอนนี้เพื่อแต่งตัวออกไปเรียน ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของการนอนจะเกิดขึ้น แต่การเข้าเรียนก็อาจจะทำให้เกิดผลประโยชน์ (Benefit) ขึ้นบ้าง (หากเรียนรู้เรื่อง ซึ่งโดยปกติ ความน่าจะเป็น (Probability) ของการเรียนรู้เรื่องอยู่ในระดับต่ำมาก) จากนั้น เราก็จะประมวลผลโดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลได้ (Cost-Benefit Analysis) ซึ่งพบว่า ความน่าจะเป็นต่ำ (เพราะน่าจะเรียนไม่รู้เรื่อง) ผลได้ก็ต่ำ (เพราะถ้ารู้เรื่อง ก็คงรู้เรื่องไม่มาก) ขณะที่ต้นทุนสูง (เพราะกำลังนอนสบาย) สมการของเราในตอนเริ่มตื่นคือ Net Benefit = [p(ต่ำ) x B(ต่ำ)] – C(สูงมาก) นอกจากนี้ เราก็ยังพบว่า Cost under Certainty (ถ้าไปเรียนก็อดนอนแน่ๆ) มากกว่า Benefit under Uncertainty (ไม่แน่ว่าจะเรียนรู้เรื่องหรือไม่) ซึ่งทั้งหมดจะทำให้เราก็จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง(ตามหลักเศรษฐศาสตร์)
    อย่างไรก็ตาม เมื่อเราฝืนความชอบ (Preference) ของตนเองเพื่อมาเข้าเรียน เราก็จะยิ่งตระหนักชัดว่า ทรัพยากรซึ่งในที่นี้ก็คือ เวลา มีอยู่อย่างจำกัด (Limited Resources) และควรต้องจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด (Efficient Allocation) กล่าวคือ ไม่น่ามาเลย………….
    ไม่เป็นไร ในครั้งต่อๆ ไป เราก็จะสามารถจัดสรรได้อย่างที่เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเราเกิดการเรียนรู้ในการปรับตัว (Learning Effect) จนสุดท้ายเราจะได้ความสมดุลในการจัดสรรเวลานอนส่วนที่เพิ่มขึ้นและเวลาเรียนส่วนที่ลดลง (Marginal Benefit of Studying = Marginal Cost of Sleeping) นั่นคือ มาเรียนสาย(นิดหน่อย)ภายใต้เงื่อนไขความพอใจจากการนอนสูงที่สุด (Optimization with Constraint)
    เมื่อเรานั่งเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค เราก็ได้แต่นั่งปั่นการบ้านวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค เมื่อย้ายไปเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค เราก็ได้แต่นึกว่าวิชาสถิติเรียนไม่รู้เรื่อง และเมื่อไปเรียนวิชาสถิติ ก็นึกขึ้นได้ว่าเมื่อเช้าเศรษฐศาสตร์จุลภาคสอนอะไรไปบ้างหว่า….. นี่คือสถานการณ์หนึ่งของการไม่มีความสอดคล้องกันระหว่างความต้องการของผู้ให้และผู้รับ (Double Coincidence of Wants) และเราก็มักเป็นแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาด้วยสิ………เฮ้อ………..
    เมื่อเรียนจบคาบ เราย่อมตระหนักดีว่า ความรู้แค่เรียนจบเทอมก็ลืมหมดแล้ว (Consumption Goods) แต่เกรดติดตัวเราไปตลอดชีวิต (Durable Goods) ประกอบกับการที่ตลาดแรงงานมีข่าวสารไม่สมมาตร (Asymmetric Information) ดังนั้น เกรดเฉลี่ย(น่าจะ)สำคัญกว่าความรู้ เพราะเป็นการส่งสัญญาณ (Signaling) ของการได้รับเงินเดือน (อย่างน้อยก้อตอนเริ่มต้น)
    “ห้องเรียนห้องแรกของโลก ณ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองโบโลญญ่า (ภาพประกอบโดย พงษ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม)”
    ตกเย็น เราจึงไปติวพิเศษ เพราะวัตถุประสงค์หลักคือสอบให้ผ่านหรือได้เกรดดีดี ภายใต้ความพยายามอันมีจำกัด ดังนั้น เป้าหมาย (Objective Function) คือคะแนน ส่วนข้อจำกัด (Constraint) คือความพยายาม เราจึง Maximize Objective Function under Effort Constraint เพื่อหาค่าสูงสุด……….(แม้ผลมันจะออกมาไม่ค่อยสูงเท่าไหร่)
    ต่อมา เมื่อเลิกติวพิเศษตอนหัวค่ำ เราเดินไปศูนย์หนังสือเพราะอยากซื้อหนังสือ และพบว่าหนังสือราคา 400 บาท วิเคราะห์แล้ว “ไม่คุ้มค่า” เพราะเราคงใช้แค่ไม่กี่วันก่อนสอบ (และก็ไม่ได้ใช้อีก) เราจึงไม่ซื้อ จากนั้น เราไปเดินพารากอน เห็นเสื้อสวยแต่ราคา 1,000 บาท เราซื้อทันที เพราะความพึงพอใจ (Utility) ของเสื้อสูงกว่าความพอใจของเงิน 1,000 บาท (แน่นอนว่าจากหลัก Transitive แล้วสูงกว่าความพอใจของหนังสือ 400 บาทแน่ๆ) เราจึงกลับมาคิดว่า มนุษย์มีเหตุมีผล (Rationality) ตามหลักเศรษฐศาสตร์จริงๆ จึงรู้จักแยกแยะว่า สินค้าใดเป็นสินค้าจำเป็น (Necessary Goods) และสินค้าใดเป็นสินค้าไม่จำเป็น (Bads)
    นอกจากนี้ ถ้าเราซื้อของเพลิดเพลินจนเงินที่ได้มาจากที่บ้านหมดก่อนกำหนด บทบาทของพ่อแม่ในฐานะผู้ให้กู้รายสุดท้าย (Last Resort) แบบที่ธนาคารกลางเป็นอยู่ก็เกิดขึ้นมาในความคิด และระบบอุปถัมภ์ (Cronyism) ก็ยังมีประโยชน์อยู่บ้างในสังคม (อย่างน้อยก็กับเราตอนนี้)
    เสร็จธุระทั้งหมด เรากลับบ้าน แม่ซึ่งกำลังดูละครอย่างสนุกสนานใช้ให้เราไปล้างจาน เราก็แอบหงุดหงิด เพราะกำลังเหนื่อยๆ เนื่องจากเพิ่งกลับมา แต่พอเดินไปล้างจาน เหลือบไปเห็นพ่อกำลังซักผ้าอยู่พอดี นี่เองที่มโนทัศน์ทางด้านชนชั้น (Class) ของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) และการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) ของอดัม สมิธ (Adam Smith) มาบรรจบกันพอดีระหว่างพ่อ แม่และเรา
    ตกกลางคืน เราคุยโทรศัพท์กับแฟน ถ้าเพิ่งจีบกันก้อคงคุยกันสัก 4-5 ชั่วโมง แล้วค่อยนอน ก่อนนอนยังแอบส่งข้อความไปหาอีก ทั้งนี้เพราะเรารู้ดีว่าเรากำลังอยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competitive Market) แต่ถ้าเป็นแฟนกันแล้วสักพัก เวลาที่ใช้ในการคุยโทรศัพท์ก้อคงเหลืออยู่สัก 4-5 นาที เนื่องจากสภาพตลาดได้เปลี่ยนมาอยู่ในสภาวะของการผูกขาด (Monopoly) อีกทั้งความพึงพอใจของการคุยกับแฟนก็เริ่มอยู่ในจุดที่ลดน้อยถอยลงด้วย (Diminishing Marginal Utility)
    จนกระทั่งวันหนึ่งพอใกล้สอบ เราก้อจะเข้าใจถึงการบริโภคข้ามเวลา (Inter-temporal Consumption) เพราะว่าเวลาที่แสนดีในช่วงก่อนใกล้สอบได้ถูกยืมไปบริโภคหมดแล้วในช่วงที่ผ่านมา แถมตลาดประกันภัย(จากการสอบ)ก็ไม่มีเสียด้วย (Lack of Contingent Claim Markets)
    แต่เชื่อไหมว่า…เราสามารถอ่านหนังสือที่เคยตั้งใจว่าจะเริ่มอ่านมาตั้งแต่เปิดเทอม จนถึงสองวันก่อนสอบยังอ่านได้ไม่ถึง 10 หน้า จนจบทั้งเล่มได้ภายในสองวันที่เหลือ เราจึงทราบว่า ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจจริงๆ (รวมทั้งชีวิตเรา)
    เมื่ออยู่ในห้องสอบ เราจะนึกภาวนาให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามีอะไรที่ก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก(ทางบวก)กับเรา (Externality) โดยเฉพาะถ้าทำไม่ได้ เราก็จะยิ่งภาวนาให้เกิดสภาวะที่เขียนอะไรก็ไม่รู้แต่ดันถูก (Adverse Selection)
    แต่พอผลสอบออกมาเราก็ได้เรียนรู้ว่า ผลสอบเป็นสินค้าเอกชน (Private Goods) ไม่ใช่สินค้าสาธารณะ (Public Goods) เพราะทำแค่ไหนก็ได้เองแค่นั้น (Excludable) หรือเรียกอีกอย่างว่า “กฎแห่งกรรม” มีจริง ในที่นี้กรรมก็คือสินค้าเอกชนนั่นเอง
    ไม่เป็นไร การสอบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เพราะความรู้ที่เรามีอยู่สำคัญกว่า ปิดเทอมเราไปเที่ยวกับเพื่อนๆ จากหลายๆ สาขา ลองนึกดูว่า การบอกใครๆ ว่าเรียน “เศรษฐศาสตร์” จะทำให้เราดูน่าสนใจ (ทั้งที่หลายคนแทบจะไม่รู้อะไร) ความรู้ “เศรษฐศาสตร์” ทำให้เราสามารถพูดถึงเงินเป็นร้อยๆ ล้านได้อย่างน่าเชื่อถือ ทั้งที่จริงๆ แล้วอาจจะมีเงินอยู่ในกระเป๋าไม่ถึงร้อยบาท หรือเราอาจจะพูดถึงกระบวนการเก็งกำไร (Speculation) ค่าเงินในวันนี้ได้เป็นฉากๆ ทั้งที่ตัวเองยังใช้หนี้ที่ขาดทุนจากการเก็งกำไรเมื่อวานนี้ไม่หมด หรือแม้แต่เราอาจจะอธิบายเรื่องดอกเบี้ย (Interests) ได้อย่างมากมาย ทั้งที่ข้อสอบเศรษฐศาสตร์มหภาคเมื่อวันก่อนถามแค่เสี้ยวเดียวของทฤษฎีอัตราดอกเบี้ย แต่เราก็ยังงงๆ อยู่เลย
    นอกจากนี้ การเรียนเศรษฐศาสตร์ยังจะช่วยให้เราอธิบายเพื่อนที่ถามได้ทุกเรื่อง เช่น เมื่อมีคนถามเราว่า “พรุ่งนี้หุ้นจะขึ้นหรือลง” “เมื่อไหร่ดอกเบี้ยจะลง” หรือ “ทำไมอัตราแลกเปลี่ยนถึงแข็งค่าขึ้น” เราสามารถอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้โดยอ้างถึง “การเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทาน หรือเป็นการทำงานของกลไกตลาด” (Market Mechanism)
    แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่เราบอก เช่น หุ้นลงทั้งที่เราทายว่าขึ้น ดอกเบี้ยไม่ลงในเวลาที่เราบอก แถมยังปรับขึ้นอีก และเหตุผลที่เคยอธิบายถึงการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน แต่ไม่ทันข้ามวัน มันกลับอ่อนค่าลงอย่างหนัก ทั้งนี้ เราก้อแค่ตอบเขาไปว่า “เพราะมีปัจจัยภายนอกมากระทบ” (Exogenous Factors) หรือไม่ก็ “กลไกตลาดไม่ทำงาน” (Market Failure)
    โดยหลักการทางคณิตศาสตร์แล้ว เราเรียกว่า Complete คือ มันต้องเป็นจริงในกรณีใดกรณีหนึ่งแน่ๆ เนื่องจากมันมีแค่กลไกตลาดทำงานหรือไม่ก็ล้มเหลว สิ่งนี้ทำให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลก นิสิตเศรษฐศาสตร์สามารถอธิบายได้หมด (ยกเว้นอธิบายตอบข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์) รวมทั้ง หากเราจบไปแล้วเกิดหางานทำไม่ได้ (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของบัณฑิตเศรษฐศาสตร์) เราก็ยังสามารถอธิบายกับคนอื่นๆ ได้ว่า อัตราการว่างงานมีกี่ประเภท เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ
    “เทคนิคการพยากรณ์ทางเศรษฐศาสตร์” (ที่มาของภาพ)
    ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น หากไม่เชื่อว่า ความรู้เศรษฐศาสตร์สามารถใช้อธิบายได้ทุกเรื่อง อ่านบทความนี้จบแล้วลองเดินไปซื้อน้ำผลไม้ที่ร้านสะดวกซื้อ แล้วลองสังเกตดูว่า ร้านนี้เปิด 24 ชั่วโมง 7 วัน พูดง่ายๆ คือร้อยวันพันชาติไม่เคยปิด แต่ทำไมร้านนี้ต้องมีที่ล็อคประตู? ถ้าถามพนักงานที่ร้าน แล้วเขาตอบไม่ได้ (ยกเว้นเขาเรียนเศรษฐศาสตร์) แต่คำถามนี้ เชื่อสิว่านิสิตเศรษฐศาสตร์ทุกคนตอบได้…..ลองนึกดูกัน
    ที่มา: บทความชิ้นนี้ปรับปรุงมาจากบทความที่ชื่อว่า “เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยชีวิตประจำวันของนิสิต” โดย ธานี ชัยวัฒน์ เขียนขึ้นเพื่อพิมพ์ในหนังสือชื่อ “360o” หนังสือที่ระลึกงานเศรษฐศาสตร์วิชาการ’51 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 26-30 พฤศจิกายน 2551 โดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  14. ระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการ
    ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การปกครองตนเองของประชาชนดำเนินการโดยผ่านผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนตนตามระเบียบวิธีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เราจึงอาจสรุปหลักการที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังต่อไปนี้
    1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายความว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของรัฐ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินปัญหาและกำหนดความเป็นไปของพวกเขาเอง แต่มิได้หมายความว่าประชาชน ทั้งประเทศจะต้องมานั่งถกเถียงหาทางแก้ปัญหา
    2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน หมายถึง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง รูปแบบของการเข้ามา มีส่วนร่วมของประชาชนจึงมีอยู่หลายทางด้วยกันที่สำคัญ คือ การเลือกตัวแทนของตนขึ้นไปทำหน้าที่ในรัฐสภา นอกจากนี้ประชาชนอาจทำได้โดยการช่วยรณรงค์หาเสียงให้ผู้สมัครที่ตนนิยมอยู่ หรือเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เพื่อหาทางผลักดันให้นโยบายของพรรคนำมาใช้ปฏิบัติ
    3. หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อประชาชน สังคมประชาธิปไตยนั้น ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศและรัฐบาลจะต้องไม่กระทำไปเพียงเพื่อผลประโยชน์ของคนในกลุ่มตนเท่านั้น ผู้ปกครองที่มาจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นผู้ที่กระทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่ด้วยให้สมกับความไว้วางใจของประชาชนที่เลือกตนเข้ามารับหน้าที่ ไม่เช่นนั้นเมื่อครบวาระอาจจะไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนในสมัยต่อไปก็ได้
    4. หลักเหตุผล ประชาธิปไตยประกอบด้วยหลักเหตุผล ทั้งนี้เนื่องจากคนแต่ละคนต่างก็มีแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไปถ้าคนปราศจากเหตุผลแล้ว สังคมก็อาจยุ่งเหยิงไม่ได้ข้อยุติที่ดีและถูกต้อง ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยนั้นทุกคนจะต้องร่วมกันคิด โดยต่างก็เสนอความคิดเห็นแล้วอาจมีการเปิดอภิปราย มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ต่างคนต่างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นธรรม ข้อเสนอหรือความคิดเห็นของใครที่มีเหตุผลดีกว่าก็จะได้รับเลือกให้เป็นวิธีการแก้ไขปัญหานั้นๆ ต่อไป
    5. หลักเสียงข้างมาก วิธีการหนึ่งที่จะรู้ได้ว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการเพื่อปวงชน คือ หลักเสียงข้างมาก นั่นคือหลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์โดยการอภิปรายกันพอแล้ว ก็จะมีการออกเสียงลงคะแนนกัน ข้อเสนอที่ได้รับเสียงข้างมากจากที่ประชุมก็จะได้รับเลือกให้นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่มีเหตุผลของคนส่วนใหญ่
    6. หลักความยินยอม ประชาธิปไตยจะต้องมีพื้นฐานมาจากความยินยอมอีกด้วย เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และปวงชนได้เลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อใช้อำนาจดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ามาใช้อำนาจเหล่านี้ได้รับความยินยอมจากปวงชน แต่จะมีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ และยังถูกจำกัดช่วงเวลาที่ได้รับความยินยอม คืออาจอยู่ในวาระช่วงระยะเวลาหนึ่ง (วาระครบ 4 ปี เป็นต้น) เมื่อครบวาระหรือมีการยุบสภาก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ หากผู้แทนราษฎรผู้ใดได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนจะได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป
    7. หลักประนีประนอม ในหลายกรณี หลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันแล้ว และเล็งเห็นว่าข้อเสนอต่างๆ ที่ผู้แทนแต่ละคนเสนอไปนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก หรือมีข้อขัดแย้งกันไม่มากนักที่ประชุมก็อาจใช้การประนีประนอมกัน โดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องมีการลงคะแนนเสียงข้างมากก็ได้
    8. หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์ต่างก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แม้แต่รัฐธรรมนูญไทย ก็ยอมรับในหลักการนี้โดยเขียนไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี โดยประการอื่นก็ดี ไม่กระทำให้เกิดอภิสิทธิ์แต่อย่างใดเลย ฉะนั้นกฎหมายในสังคมประชาธิปไตยจึงบังคับใช้กับบุคคลทุกคนโดยเสมอหน้ากันหมด
    9. หลักเสรีภาพ สังคมประชาธิปไตย นอกจากจะให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคแล้ว ยังให้ความสำคัญกับหลักเสรีภาพด้วย กล่าวคือ รัฐในระบอบประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมเสรีภาพต่างๆของปวงชน เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การอบรมศึกษา การรวมตัวกันเป็นสมาคม เป็นต้น แต่ทั้งนี้เสรีภาพเหล่านี้จะถูกจำกัดโดยกฎหมายนั้นคือ ประชาชนต้องไม่ใช้เสรีภาพนี้เพื่อทำลายหรือรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น
    10. หลักนิติธรรม หมายถึงการยึดถือกฎหมายเป็นเกณฑ์กติกา และหลักประกันความเสมอภาคให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความถูกต้อง สงบเรียบร้อยและชอบธรรม โดยรัฐบาลจะต้องบังคับใช้กฎหมายแก่คนทุกคนโดยเท่าเทียมกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้มีอิทธิพลยศถาบรรดาศักดิ์ เงินทอง หรืออภิสิทธิ์อื่น ๆ
    11. หลักการปกครองตนเอง เมื่อสังคมประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคและหลักเหตุผล เชื่อว่ามนุษย์สามารถปรับปรุงตัวเองให้ก้าวหน้า รวมทั้งแก้ไขปัญหาของตนเองได้ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง ทั้งนี้เพราะพวกเข้ารู้ดีกว่าคนอื่นๆ ว่าตนเองต้องการอะไร หรือสิ่งใดที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขา ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้อาจจะอยู่ในแง่รูปธรรม เช่น สวัสดิการทางสังคมต่างๆ หรืออาจจะอยู่ในแง่ของนามธรรม เช่นเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคมก็ได้
    รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    ในประเทศประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้มีรูปแบบการปกครองเหมือนๆ กันทั้งหมด นักวิชาการได้พยายามเสนอหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจใช้แบ่งรูปแบบการปกครองของประเทศประชาธิปไตยมากมายด้วยกัน สรุปได้เป็น 2 หลักเกณฑ์ ดังนี้
    1. หลักประมุขของประเทศ แบ่งรูปแบบประชาธิปไตยได้ 2 ลักษณะคือ
    1) มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชน โดยใช้องค์กรแยกกันเป็น 3 ทางคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการโดยผ่านทางศาล ส่วนองค์พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นกลางในทางการเมือง เช่น ไทย อังกฤษ
    2) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐเพียงหน้าที่เดียว เช่น สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ และบางประเทศประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุข ของฝ่ายบริหารด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฯลฯ
    2. หลักการรวมและการแยกอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
    1) แบบรัฐสภา ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ได้แก่ การมีเฉพาะผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวหรืออาจมี 2 สภาก็ได้ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตัวแทนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนมากสมาชิกได้มาจากการแต่งตั้ง แต่สมาชิกวุฒิสภาในบางประเทศก็มาจากการเลือกตั้ง ชื่อสภาอาจเรียกต่างกันได้ เช่น ในอังกฤษเรียกสภาผู้แทนราษฎรว่า สภาล่างและวุฒิสภาว่า สภาสูงหรือสภาขุนนาง แต่โดยหลักการสภาทั้งสองต้องประชุมร่วมกันรวมกันเป็นรัฐสภา ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร คือมีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อใช้ปกครองประเทศ และมีอำนาจบริหารในการให้ความเห็นชอบหรือจัดตั้งรัฐบาล และควบคุมการบริหารของรัฐบาลด้วย คือ รัฐบาลบริหารด้วยความไว้วางใจของรัฐสภา ในทางปฏิบัติถือกันเป็นหลักเกณฑ์ว่า สมาชิกสภากลุ่มหรือพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากสนับสนุนจะได้สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง แต่รัฐบาลจะต้องอยู่ในความควบคุมของสมาชิกรัฐสภา ลักษณะดังกล่าวนี้ รัฐสภาและรัฐบาลต่างทำหน้าที่ของตน แต่รัฐสภาควบคุมรัฐบาลด้วยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ และอาจลงมติไม่ไว้วางใจเพื่อให้รัฐบาลลาออกได้ ส่วนรัฐบาลก็อาจยุบสภาได้ ทำให้เกิดความสมดุลแห่งอำนาจ
    2) แบบประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบรัฐสภา การมีรัฐสภาเหมือนกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ การมีประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร โดยประธานาธิบดีมีสิทธิและหน้าที่ในการจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อบริหารประเทศและรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนอำนาจนิติบัญญัตินั้นก็ยังคงตกอยู่ที่รัฐ สภาการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีนี้ ทั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างก็ได้รับเลือกจากประชาชน ทั้งสองฝ่ายจึงต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อระชาชน ส่วนอำนาจตุลาการยังคงเป็นอิสระ ฉะนั้นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ต่างก็เป็นอิสระและแยกกัน สถาบันผู้ใช้อำนาจทั้งสามจะเป็นตัวที่คอยยับยั้งและถ่วงดุลกันและกัน ไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำนาจเกินขอบเขต เช่น การปกครองของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
    3) แบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับนายรัฐมนตรี ในด้านการบริหารนั้นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามประกาศใช้กฎหมาย และคณะรัฐมนตรีก็ยังคงเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร แต่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ส่วนรัฐสภาเองก็ยังคงทำหน้าที่สำคัญ คือ ออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศและการเมืองโดยทั่วๆ ไป ทั้งยังทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ระหว่างรัฐสภากับคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีอำนายยุบสภาได้ด้วย จึงมีอำนาจมาก เช่น อินเดีย ฝรั่งเศส
    ประเภทของประบอบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
    1. ประชาธิปไตยโดยทางตรง เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกัน พิจารณา ตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุมโดยตรง และจะเป็นผู้เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง เราจะเห็นว่าประชาธิปไตยประเภทนี้จะใช้ได้ในเชิงปฏิบัติจริงๆ ก็แต่เฉพาะในสังคมเล็กๆ หรือประเทศเล็กๆ ที่มีสมาชิกจำนวนน้อย ซึ่งแต่ละคนมีโอกาสอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ และพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างละเอียดและมีเหตุผล แต่ถ้านำเอาประชาธิปไตยประเภทนี้มาใช้กับสังคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากแล้วจะเป็นอุปสรรค เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงกัน และการที่จะหาสถานที่ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อจะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมในที่เดียวกันย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง
    2. ประชาธิปไตยโดยทางอ้อม เป็นประชาธิปไตยอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประเทศต่างๆ ของโลกได้ขยายตัวออกไปมาก ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้น ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมามาก ฉะนั้นโอกาสที่ประชาชนทั้งประเทศจะมานั่งปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ปัญหากันแบบประชาธิปไตยโดยทางตรงย่อมเป็นไปไม่ได้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้แทนที่ประชาชนทุกคนจะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาใด ก็จะให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตัวแทนหรือที่รู้จักในนาม สมาชิกรัฐสภา เข้าไปสู่ที่ประชุมแทน ส่วนลักษณะและวิธีการเลือกสมาชิกรัฐสภาของประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป
    ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย
    ข้อดี
    1. ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีสิทธิแห่งความเป็นคนเหมือนกันไม่ว่ายากดี มีจน เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สินทุกคนมีเสรีภาพในการกระทำใด ๆ ได้หากเสรีภาพนั้นไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการพูด การเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ และทุกคนมีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกันที่จะได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย มีความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ เป็นต้น
    2. ประชาชนปกครองตนเอง ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนไปใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมาย มาใช้ปกครองตนเอง และเป็นรัฐบาลเพื่อใช้อำนาจบริหาร ซึ่งสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนรวมได้ดี เพราะผู้บริหารที่เป็นตัวแทนของปวงชนย่อมรู้ความต้องการของประชาชนได้ดี
    3. ประเทศมีความเจริญมั่นคง การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองทำให้ประชาชนมีความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติตามกฎ และระเบียบที่ตนกำหนดขึ้นมา ยอมรับในคณะผู้บริหารที่ตนเลือกขึ้นมาและประชาชนไม่มีการต่อต้าน ทำให้ประเทศมีความสงบสุขเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
    ข้อเสีย
    1. ดำเนินการยาก ระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการปกครองที่ดี แต่การที่จัดสรรผลประโยชน์ตรงกับความต้องการประชาชนทุกคนย่อมทำไม่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่จะให้ประชาชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามสิทธิ เสรีภาพทุกประการ ทั้งนี้เพราะวิสัยของมนุษย์ย่อมมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมจึงมีการกระทบกระทั่งและละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นได้
    2. เสียค่าใช้จ่ายสูง การปกครองระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งในแต่ละระดับต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทั่งงบประมาณดำเนินงานของทางราชการและค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
    3. มีความล่าช้าในการตัดสินใจ การตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตยต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ โดยผ่านขั้นตอนการอภิปราย แสดงเหตุผลและมติที่มีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของสมาชิกส่วนใหญ่ จึงต้องดำเนินตามขั้นตอน ทำให้เกิดความล่าช้า เช่น การตรากฎหมาย ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนของวาระ อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือบางฉบับต้องใช้เวลาเป็นปี จึงจะตราออกมาเป็นกฎหมายได้
    ระบอบเผด็จการ
    ระบอบเผด็จการคือ ระบอบการเมืองการปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตกลงใจถูกจำกัดอยู่ในบุคคลเพียงคนเดียวหรือสองสามคน กล่าวคือจะใช้โอกาสในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ โดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน หากประชาชนคัดค้านก็จะถูกผู้นำหรือคณะบุคคลลงโทษหลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดังนี้
    1) ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว กลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
    2) การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
    3) ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
    4) รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง

    ลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ
    1. ไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประเทศ
    2. จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
    3. ยึดหลักความมั่นคง ปลอดภัยของรัฐเป็นสำคัญ ยกย่องอำนาจและความสำคัญขอรัฐ เหนือเสรีภาพของประชาชน
    4. ยึดหลักรวมอำนาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลางของประเทศ ให้อำนาจอยู่ในมือผู้นำเต็มที่
    5. ยึดหลักการใช้กำลัง การบังคับ และความรุนแรง เพื่อควบคุมประชาชนให้ปฏิบัติตามความต้องการของผู้นำ
    6. ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำอย่างเคร่งครัด ไม่มีสิทธิโต้แย้งในนโยบายหรือหลักการของรัฐ
    7. สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความหวั่นวิตกเกรงกลัวอันทำให้อำนาจรัฐเข้มแข็ง
    รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ
    ระบบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
    1. เผด็จการอำนาจนิยม มีลักษณะ ดังนี้
    – อำนาจทางการเมืองเป็นของผู้ปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิ
    – ควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย
    – ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในครอบครัว การนับถือศาสนา การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ โดยที่รัฐมีสิทธิแทรกแซง
    2. เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ มีลักษณะ ดังนี้
    – ควบคุมอำนาจประชาชนทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
    – ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมในการปกครองใด ๆ ทั้งสิ้น
    – รัฐเข้าดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด โดยประชาชนเป็นเพียงผู้ให้แรงงาน
    – มีการลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืนหรือต่อต้าน ประชาชนต้องเชื่อฟังรัฐบาล ผู้นำ ผู้ปกครองอย่างเคร่งครัด
    – การปกครองแบบนี้ ได้แก่ การปกครองของรัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน
    ข้อดีของระบบเผด็จการ
    1. ช่วยให้การปกครองมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว
    2. สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์หรือภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว
    3. ยกย่องผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงเพื่อช่วยปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้า
    4. สร้างความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น -ประเทศเยอรมัน ในสมัยรัฐบาลนาซีภายใต้ฮิตเลอร์ -ประเทศอิตาลีในสมัยรัฐบาลฟาสซิสต์ภายใต้มุสโสลินี -ประเทศโซเวียต ภายใต้การนำพรรคคอมมิวนิสต์ -ประเทศจีน ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
    ข้อเสียของระบบเผด็จการ
    1. จำกัดและขัดขวางสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    2. สกัดกั้นมิให้ผู้มีความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
    3. ผู้ปกครองและพรรคพวกอาจใช้อำนาจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
    4. ก่อให้เกิดการต่อต้าน ประเทศชาติขาดความสงบสุข5. ก่อให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจและสังคม อันเนื่องมาจากการผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ของชนชั้นผู้นำและพวกพ้อง

  15. ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย
    ต้นกำเนิดของประชาธิปไตยพบว่า ในสมัย​​โบราณที่มีอำนาจในการออกเสียงลงคะแนน มีความแตกต่างกันระหว่างประเทศประชาธิปไตยที่เก่าแก่และทันสมัย ข้อดีและข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย ในข้อดีและข้อเสียของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    จากงานนิพนธ์ของกรีกคำว่า ‘kratein’ซึ่งหมายถึง’กฎ’ ดังนั้นประชาธิปไตยถูกกำหนดให้เป็นระบบการเมืองที่ผู้คนสามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งสำหรับรัฐบาลในการที่พวกเขาต้องการที่จะผู้ปกครอง ประชาธิปไตยถูกพบครั้งแรกในกรีกโบราณเกือบสามพันกว่าปีที่ผ่านมา ในตอนแรกมีเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ของคนมีอำนาจในระบอบประชาธิปไตย, การเลือกผู้แทนซึ่งมีฐานะที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ, ประชาธิปไตยเป็นการให้โอกาสแสดงความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในปัจจุบันประเทศเป็นประชาธิปไตยมีสิทธิที่จะแสดงความคิดของพวกเขาปฏิบัติและมีสิทธินับถือศาสนาของพวกเขาและเลือกงานของตัวเอง ประเทศประชาธิปไตยมีการพิสูจน์ที่ประสบความสำเร็จตลอดปี
    ประชาธิปไตยมีข้อดีหลายประการ ประชาธิปไตยจะช่วยให้เรามีอิสระในการทำสิ่งที่เราต้องการจะทำตราบใดที่เราไม่ได้รุกล้ำสิทธิคนอื่น ๆ ตัวอย่างเช่นเราสามารถพูดหรือคิดว่าสิ่งที่เราต้องการพดู หรือมีเสรีภาพในการย้ายถิ่นฐานไปในที่สถานที่ใด ๆ รวมทั้งการ คิดและการแสดงออกและเสรีภาพในการปฏิบัติงานตามวิชาชีพ และการนับถือศาสนาที่มีความแตกต่างกันโดยไม่รังเกียจเดียดฉันท์ แม้ขณะนี้บางประเทศเช่นซาอุดีอาระเบียไม่ได้มีสิทธิเหล่านั้นเช่นเสรีภาพใน การพูดเสรีภาพในการสั่งสอนและการปฏิบัติศาสนาของเราเองในที่สาธารณะยกเว้นการมีอิสระในการย้ายถิ่นฐานได้อย่างอิสระในประเทศ
    ในระบอบประชาธิปไตยของบุคคลอื่น ๆ สามารถชี้ข้อผิดพลาดพรรคในเซสชั่น การทำงานในการตัดสินใจเป็นของรัฐบาลที่จะมีการตัดสินใจทุกอย่างของประเทศ ประชาธิปไตยยังเคารพในความคิดมุมมองอื่น ๆ ของการแสดงออกและศาสนา มีเสมอการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมจัดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเลือกคนที่คุณต้องการเป็นตัวแทนของคุณ
    ประชาธิปไตยนอกจากนี้ยังให้สิทธิตามกฎหมายเท่าเทียมกัน มันไม่ได้เป็นการแบ่งแยกตามเพศ สีหรือศาสนา ชนกลุ่มน้อยได้รับการยอมรับ ไม่ว่าคุณจะเป็นสีดำหรือสีขาวหรือสีใด ๆ หรือเป็นคริสเตียนหรือพุทธศาสนาหรือเพศชายหรือหญิง คุณก็สามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้โดยง่ายในขณะที่รัฐบาลเผด็จการจะปิดกั้นสื่อทั้งหลายทำให้สังคมได้รับรู้ความจริงทำให้เป็นหนทางระบายความรู้สึกนึกคิดคนในสังคม นอกจากนี้ยังทำให้ง่ายขึ้นสำหรับคนที่จะรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาล สื่อมีความสำคัญมากและที่สำคัญเพื่อประชาธิปไตย ถ้าสื่อที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วคนที่ไม่ทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาล ดังนั้นวิธีการนี้ยังเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ว่าทำไมสื่อไม่ควรมีการครอบงำ ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลเผด็จการที่ปิดกั้นและไม่สามารถทนรับฟังความเห็นแตกต่างได้ แต่ก็ควรระมัดระวังในการละเมิดสิทธิในการแสดงออกเท่านั้น
    ประชาธิปไตยยังมีข้อเสียไม่กี่อย่างเช่นส่วนใหญ่ของพวกเขา ในขณะที่มันต้องใช้เวลาในการสร้างรัฐบาลที่จะได้รับการเลือกตั้งเสร็จแล้วซึ่งต้องใช้เวลาในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังใช้เวลานานในการออกกฎหมาย การเคลื่อนไหวไม่ได้เร็วขึ้นคือในการตัดสินใจสิ่งที่ ตัดสินใจไม่ดีในการเลือกไม้บรรทัดนำประเทศไปในทิศทางที่แตกต่างกัน และสื่ออาจมีผลกระทบในทางลบต่อสังคม รัฐบาลได้มีการจัดเรียงออกเรื่องจริงจากสิ่งที่สื่อหรือกดดัน มันจะสร้างข่าวลือและข่าวลือมักจะทำให้ยิ่งแย่ลง ทำให้เป็นช่องทางนำไปสู่การทุจริต ซึ่งหมายความว่าสังคมที่บังคับสื่อทำให้ประชาชนไม่เข้าถึงความจริง และนำไปสู่การทุจริตของรัฐบาลได้
    ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดีโดยรวม ในประเทศประชาธิปไตยคนที่มีอำนาจมากกว่ารัฐบาลที่แตกต่างจากรัฐบาลเผด็จการ ประเทศประชาธิปไตยได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จมากกว่าเผด็จการซึ่งมาจากผู้นำผู้ปกครอง
    สรุปความแตกต่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ
    1. ประชาธิปไตยมีอิสระเสรีภาพในการแสดงออกทั้งการพูด,คิด,เขียน แต่เผด็จการผู้นำจะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางไม่มีความเชื่อมั่นในมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
    2. ประชาธิปไตยให้โอกาสสูงสุดในชีวิตมนุษย์ คือโตได้เต็มที่โดยไม่มีกำแพงชนชั้นมาเกี่ยวข้อง แต่เผด็จการมักให้โอกาสคนบางกลุ่มมีชีวิตที่อยู่เหนือมนุษย์โดยทั่วไป และคอยสร้างกำแพงขวางกั้นสังคมประชาธิปไตย
    3. ประชาธิปไตยทำให้คนธรรมดายิ่งใหญ่ได้ แต่เผด็จการสร้างความยิ่งใหญ่กับตนเอง โดยไม่ให้ความสำคัญกับประชาชน
    4. ประชาธิปไตยยอมรับความคิดแตกต่าง แต่เผด็จการมักจำกัดกรอบความคิด มองผู้คิดต่างเป็นศัตรู ทั้ง ๆที่มนุษย์เราเกิดมาก็มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว
    5. ประชาธิปไตยทำให้คนเรามีการค้าเสรี ไม่มีการผูกขาดการค้า หรือผูกขาดอำนาจ แต่เผด็จการมักผูกขาดการค้า, และอำนาจเพื่อกลุ่มของตนเอง
    6. ประชาธิปไตยเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับความหลากหลายเชื้อชาติ,ศาสนา,ผิวพรรณ และยอมรับศักดิ์ศรีของมนุษย์ในความเท่าเทียมกัน รวมทั้งการมีภราดรภาพแห่งความรักต่อเพื่อนมนุษย์ในสังคมโลก ในขณะที่เผด็จการให้ความรักกับตัวเองมากกว่า และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
    นี่เป็นเพียงตัวอย่างของประชาธิปไตยที่ให้คุณประโยชน์แก่คนในชาติ ซึ่งมีคุณประโยชน์มากกว่าเผด็จการ การใช้ความเป็นเผด็จการนั้นผู้ปกครองใช้ต่อเมื่อคราวจำเป็นเท่านั้น และคงไม่อนุญาติให้ใช้ซ้ำซาก หรือเนิ่นนานซึ่งขัดกับธรรมชาติความเป็นไปของมนุษย์ ประชาธิปไตยเปรียบเสมือนรถไฟขบวนรถธรรมดามีความปลอดภัยมั่นคงต่อประชาชนและประเทศชาติ แต่เผด็จการเปรียบเสมือนรถไฟขบวนรถด่วนเมื่อไม่ปลอดภัยก็จะไม่มีความมั่นคงกับประชาชน และประเทศชาติ จะมีความมั่นคงกํบผู้แสวงหาอำนาจทางการเมืองเท่านั้น แต่ไม่มั่นคงต่อประชาชนในชาติ เว้นแต่เป็นเผด็จการที่ทำเพื่อส่วนรวมเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ดีประเทศที่เจริญส่วนใหญ่ก็มักกลับกลายเป็นประเทศประชาธิปไตยทั้งนั้น

  16. การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสี่
    การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสี่
    โดย…โสต สุตานันท์

    กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับที่ผ่านมา ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง “อำนาจอธิปไตย” ไว้ทำนองเดียวกันว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งคำว่า อำนาจอธิปไตย นั้น ก็เป็นที่เข้าใจกันมาโดยตลอดว่า หมายถึง การใช้อำนาจของทั้ง ๓ สถาบัน อันได้แก่ อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ หมายความว่า แท้จริงแล้วอำนาจทั้งสามดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน แต่ในทางปฏิบัติตามความเป็นจริง เราคงไม่สามารถให้คนไทยทุกคนใช้อำนาจดังกล่าวโดยตรงได้ จึงมีความจำเป็นต้องมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจ ภายใต้กระบวนการของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ประชาชนได้มีส่วนในการใช้อำนาจเพียงแค่การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น หลังจากนั้น ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของตัวแทนที่ได้รับเลือกเข้าไปใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ โดยประชาชนแทบจะไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการใช้อำนาจเลย จนกระทั่ง กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี ๒๕๔๐ ได้อุบัติขึ้น ประชาชนจึงได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนในการใช้อำนาจต่าง ๆได้โดยตรงมากขึ้น เป็นต้นว่า
    – การมีสิทธิ์เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยตรง (มาตรา ๑๗๐ )
    – การเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนเพื่อร้องขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลต่าง ๆที่ดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ หากเห็นว่า มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจใช้อำนาจไปในทางที่ขัดต่อกฎหมาย (มาตรา ๓๐๓ และ ๓๐๔ )
    – การมีสิทธิอนุรักษ์ หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นหรือของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๔๖ )
    นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๒๙ ยังบัญญัติเป็นหลักการไว้ว่า เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้ออกเสียงประชามติว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่ อย่างไร อีกทั้งในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าสุดที่กำลังทำกันอยู่ในขณะนี้นั้น ผู้เขียนก็เชื่อว่า เนื้อหาสาระในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจต่าง ๆของประชาชนโดยตรง น่าจะมีมากขึ้นกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปอีก หรืออย่างน้อย ก็ไม่น่าจะน้อยกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐
    กล่าวโดยสรุปก็คือว่า ณ ปัจจุบันนี้ การใช้อำนาจของประชาชนนั้น นอกจากจะใช้อำนาจโดยผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แล้ว ประชาชนยังสามารถใช้อำนาจต่าง ๆได้โดยตรงอีกทางหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเหตุให้ผู้เขียนตั้งชื่อเรื่องบทความนี้ว่า “การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสี่” ถึงตอนนี้ผู้อ่านคงหายสงสัยชื่อบทความของผู้เขียนแล้วว่า ไม่ได้มีการเข้าใจผิดหรือพิมพ์ผิดพลาดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าเราจะทำอะไรในโลกนี้ ย่อมหลีกหนีไม่พ้นที่จะมีผลกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่ง ดุจดั่งคำกล่าวที่ว่า “เราไม่สามารถเด็ดดอกไม้ โดยไม่ให้กระเทือนถึงดวงดาวได้ ”
    ผู้เขียนเห็นว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยมักจะมองปัญหาแบบแยกส่วน โดยไม่ค่อยจะคำนึงถึง “ภาพรวม” มากนัก ปัญหาต่าง ๆของชาติบ้านเมืองจึงได้พอกพูน สั่งสมมากขึ้นเรื่อย ๆเพราะเมื่อเราแก้ปัญหาหนึ่ง ก็จะเกิดอีกปัญหาหนึ่งตามมาเสมอ
    ผู้เขียนเห็นว่า ที่ถูกต้องแล้ว ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆนั้น เราต้องมองในภาพรวมทั้งหมดก่อน แล้วพยายามคิดหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบในทางลบหรือในทางที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวม หากเรามีกระบวนการวิธีคิด กระบวนการตัดสินใจตามแนวทางดังกล่าว ผู้เขียนเชื่อว่า ปัญหาต่าง ๆในทุกภาคส่วนของสังคมก็คงไม่เดินมาถึงจุดที่เรียกกันว่า เข้าขั้นวิกฤต เหมือนเช่นทุกวันนี้
    การใช้อำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน หลายคนมักจะมองว่า อำนาจแต่ละฝ่ายเป็นอิสระจากกัน ไม่ขึ้นแก่กันและกัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าเป็นห่วงและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะแท้จริงแล้ว การใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายต่าง ๆไม่ว่าฝ่ายไหน จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเอื้ออำนวย สนับสนุนซึ่งกันและกัน หรือการคานดุลตรวจสอบซึ่งกันและกัน เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ผู้เขียนขอยกตัวอย่างความเกี่ยวพันในการใช้อำนาจอธิปไตยต่าง ๆดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
    ๑.) ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร
    ในสังคมบ้านเมืองเรานั้น เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่เรามีกฎหมายที่ก้าวล้ำนำหน้าไม่ด้อยไปกว่านานาอารยประเทศต่าง ๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งเช่นกันที่มาตรการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมายในบ้านเมืองเราหลายเรื่องล้าหลังเป็นอย่างมาก ฝ่ายนิติบัญญัติได้ออกกฎหมายดี ๆมากมายหลายฉบับ แต่ฝ่ายบริหารได้นำกฎหมายดี ๆเหล่านั้น เก็บไว้บนหิ้งบูชาโดยไม่นำมาบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์สมดังเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย เช่น
    – เราบัญญัติกฎหมายห้ามขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา แต่ในทางปฏิบัติ อดีตที่ผ่านมาเชื่อว่าแม้แต่ตำรวจเอง บางคนก็อาจเคยซื้อสลากเกินราคาที่กำหนดไว้ สินค้าของรัฐบาลเองเรายังไม่สามารถควบคุมได้ การที่จะหวังพึ่งสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคคงเป็นเรื่องที่ห่างไกล
    – เราบัญญัติกฎหมายห้ามเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ซื้อสุรา ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ผู้อ่านคงทราบดีว่า ในทางปฏิบัติเราทำกันได้แค่ไหน เพียงใด
    – เรามีกฎหมายควบคุมการค้าประเวณีบังคับใช้มาอย่างยาวนาน แต่การค้าประเวณีก็ยังไม่ได้ลดน้อยลงไปกว่าเดิม ในทางตรงข้ามน่าจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพียงแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนวิธีการ หรือสถานที่แตกต่างไปจากเดิมเท่านั้น
    ฯลฯ
    ที่กล่าวมาก็เป็นปัญหาของฝ่ายบริหารที่ไม่มีศักยภาพพอที่จะบังคับใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเกิดขึ้นในขณะนี้ คือ ฝ่ายบริหารมักจะเข้าไปพยายามครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติ แล้วผลักดันให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมาบังคับใช้ในลักษณะที่ตัวเองต้องการ จากนั้น ก็อาศัยช่องว่างหรือช่องโหว่ของกฎหมายตามที่ได้เตรียมการณ์วางแผนไว้ ไปใช้ประโยชน์ในการทุจริตคอรัปชั่นหรือแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า “การทุจริตเชิงนโยบาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวและเป็นอันตรายต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการทุจริตในลักษณะดังกล่าว เป็นการทุจริตทั้งระบบในวงกว้าง และจำนวนเงินหรือผลประโยชน์ที่ทุจริตกันก็มีจำนวนมากมายมหาศาล
    ๒. ระหว่าอำนาจตุลาการกับอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร
    แม้รัฐธรรมนูญทุกฉบับจะบัญญัติไว้ว่า ผู้พิพากษาหรือตุลาการ มีอิสระ
    ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี แต่ในการตัดสินพิพากษาคดีของศาลนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงบทบาทหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารด้วย การใช้อำนาจจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น
    – ในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือสงกรานต์ ฝ่ายบริหารมุ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องการขับรถขณะเมาสุรา เนื่องจากเห็นว่า เป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและสร้างความเสียหายต่อสังคมและบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างใหญ่หลวง จึงมีนโยบายในการเข้มงวดกวดขันจับกุมผู้กระทำความผิดฐานขับรถขณะเมาสุราอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ ดังนั้น โดยหลักแล้วฝ่ายตุลาการโดยศาลยุติธรรมก็ควรที่จะกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการตัดสินคดีให้สอดคล้องหรือคำนึงถึงนโยบายของฝ่ายบริหารดังกล่าวด้วย เช่น อาจใช้ดุลยพินิจลงโทษให้หนักขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การตัดสินคดีเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ อันจะช่วยก่อให้เกิดพลังมากพอที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมหรือมีอิทธิพลต่อการชี้นำสังคมให้เดินไปในครรลองที่ถูกต้องดีงามได้
    – ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายลงโทษปรับในคดียาเสพติดไว้ค่อนข้างสูง เนื่องจากเห็นว่า การใช้มาตรการทางด้านทรัพย์สินน่าจะเป็นการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ดีขึ้น ดังนั้น ศาลก็ควรจะบังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติด้วย โดยการให้ความสำคัญกับการบังคับโทษปรับอย่างจริงจังก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติให้ได้มากที่สุด
    – กรณีเกิดโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก โดยปกติแล้วทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติย่อมให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ด้วยการออกกฎหมายหรือกำหนดมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อควบคุมสถานการณ์อย่างเข้มงวดและเด็ดขาด เพราะถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง ดังนั้น ในการตัดสินคดีของศาลก็ควรจะดำเนินการอย่างรวดเร็วและเฉียบขาดด้วย เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารทางอ้อมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
    ๓. ระหว่างอำนาจของประชาชนกับอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
    ๓.๑ ประชาชนกับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
    มีคำกล่าวหนึ่งซึ่งผู้เขียนเคยได้ยินมานานแล้ว คือ “ตัวแทนคนกลุ่มไหนย่อมสะท้อนถึงพฤติกรรมของคนกลุ่มนั้น ” หากคิดไตร่ตรองดูให้ดี จะเห็นว่ามีมูลความจริงอยู่ไม่น้อย ถ้าสังคมไหนคนส่วนใหญ่เห็นว่า ประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนตน คนที่ได้รับเลือกตั้งก็จะเป็นคนที่เห็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ในทางตรงข้ามหากสังคมไหนคนส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม แน่นอนว่าตัวแทนของเขาก็น่าจะเป็นคนเช่นนั้นเช่นกัน บ่อยครั้งที่ผู้เขียนเคยได้ยินคนบ่นถึงพฤติกรรมของตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งไม่ว่าระดับใดในทางลบ ผู้เขียนก็จะฉุกคิดถึงคำพูดดังกล่าวเสมอ ก็เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมของเราเป็นอย่างนั้น (อาจรวมถึงคนบ่นด้วย) คนอย่างนั้นถึงได้รับเลือกเข้าไป ก็เพราะคนส่วนใหญ่เห็นแก่เงินเห็นแก่พวกพ้อง ตัวแทนที่เลือกเข้าไปจึงจ้องแต่จะหาผลประโยชน์และเล่นพรรคเล่นพวก แล้วเราจะไปโทษใครล่ะ
    เนื่องจากตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะมีที่มาจากประชาชน ดังนั้น หากประชาชนส่วนใหญ่มีคุณภาพ ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร น่าจะมีคุณภาพตามไปด้วย ในทางตรงข้าม หากประชาชนไม่มีคุณภาพ ไม่มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมที่มากพอ ตัวแทนที่เลือกเข้าไปทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ย่อมมีปัญหา ย่อมขาดประสิทธิภาพตามไปด้วยเช่นกัน
    นอกจากนั้น ผู้เขียนยังเห็นว่า ประชาชนทุกหมู่เหล่าต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา คอยสอดส่องดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารอย่างใกล้ชิด หากพบเห็นการกระทำใดที่ไม่ถูกไม่ต้อง ก็ต้องพยายามยื่นมือเข้าไปมีส่วนในการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา อย่างเช่น กรณีประชาชนในกลุ่มที่เป็นข้าราชการ ต้องไม่ยึดถือคำพูดที่ว่า “ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน” เพราะแท้จริงแล้ว คำพูดดังกล่าว เป็นข้ออ้างของคนขี้ขลาด ที่คิดถึงแต่ตัวเอง โดยไม่คิดถึงส่วนรวม ฉันไม่ฆ่าน้องไม่ว่ามันจะชั่วจะเลวจะทำให้ส่วนรวมเสียหายอย่างไรก็ตาม เพราะเดี๋ยวสังคมจะมองว่า ฉันเป็นคนไม่มีน้ำใจ ฉันไม่ฟ้องนาย แม้ว่า ฉันจะเห็นอะไรผิด ๆทำให้ส่วนรวมเสียหายก็ตาม เพราะเดี๋ยวสังคมจะมองว่า ฉันเป็นคนขี้ฟ้อง ชอบให้ร้ายคนอื่น ฉันไม่ขายเพื่อน แม้เพื่อนมันจะชั่วจะเลวยังไงก็ตาม เพราะเดี๋ยวสังคมจะมองว่าฉันเป็นคนที่ทรยศเพื่อนฝูงคบไม่ได้ ผู้เขียนเห็นว่า หากทุกคนคิดอย่างนั้น สังคมเราจะอยู่ได้อย่างไร
    ๓.๒ ประชาชนกับฝ่ายตุลาการ
    มีคนเปรียบเทียบกันว่า การทำหน้าที่ของนักกฎหมายก็เปรียบเสมือนกับการรักษาคนไข้ของแพทย์ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง และสามารถรักษาคนไข้ให้หายได้ ก็ต่อเมื่อได้รู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆเกี่ยวกับอาการป่วยของคนไข้ ดังนั้น จึงเป็นหน้าของคนไข้ที่จะต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ ปวดหัวก็ต้องบอกว่าปวดหัว ไม่ใช่ไปบอกว่าปวดท้อง เคยมีอาการแพ้ยา หรือมีโรคประจำตัวใด ก็ต้องบอกให้แพทย์ได้รับรู้ เพื่อแพทย์จะได้รักษาได้อย่างถูกต้อง งานเกี่ยวกับด้านคดีความก็เช่นกัน หากประชาชนคนใดถูกฟ้องต่อศาล ก็ต้องบอกความจริงกับศาลว่า พฤติการณ์การกระทำความผิดเป็นอย่างไร และเหตุใดตนเองถึงทำผิด เพื่อศาลจะได้วินิจฉัยคดี หรือใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษได้อย่างถูกต้องหรือเหมาะสมกับความผิดที่ทำลงไป อย่างเช่น คดีฆ่าคนตาย ส่วนใหญ่แล้ว หากไม่ใช่มือปืนรับจ้าง จำเลยกับคนตายต้องมีเรื่องทะเลาะขัดแย้งหรือมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน บางครั้งหากพูดความจริงกับศาลก็อาจไม่ต้องรับโทษเลยก็ได้ เพราะเป็นเรื่องของการป้องกันตัวโดยชอบตามกฎหมาย หรืออาจได้รับโทษเพียงเล็กน้อย เพราะเป็นเรื่องของการกระทำโดยบันดาลโทสะ แต่ถ้าจำเลยไม่พูดความจริงต่อศาลและพยายามปกปิดความจริง จำเลยอาจต้องได้รับโทษถึงขั้นประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตเลยก็ได้
    นอกจากนั้น ผู้เขียนยังเห็นว่า สิ่งสำคัญสูงสุดอีกประการหนึ่งที่จะช่วยส่งผลทำให้ฝ่ายตุลาการสามารถตัดสินคดีความได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมก็คือ ข้อเท็จจริงตามคำให้การของพยานที่เคยให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนหรือที่เบิกความต่อศาล หากพยานที่เกี่ยวข้อง พูดความจริง แน่นอนว่า การตัดสินคดีของศาลย่อมถูกต้อง แต่หากพยานให้การเท็จ พยายามปกปิดความจริง ก็แน่นอนเช่นกันว่า ย่อมต้องส่งผลต่อการตัดสินคดีของศาลไม่มากก็น้อย บางครั้งอาจถึงขนาดทำให้การตัดสินคดีของศาลผิดพลาดไปเลยก็เป็นได้
    กล่าวโดยสรุปก็คือ ในการใช้อำนาจอธิปไตยนั้น ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ หรือ ประชาชน ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน หากการใช้อำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีปัญหาย่อมส่งผลกระทบต่ออำนาจของฝ่ายอื่น ๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น การปฏิวัติหรือรัฐประหารที่ผ่านมา จะเห็นว่า มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน คือ ประชาชนมีปัญหาเรื่องการศึกษา เรื่องของความเข้าใจหรือจิตสำนึกในอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์เพื่อส่วนรวม จึงส่งผลให้ตัวแทนของประชาชนที่ได้รับเลือกตั้งไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร มีลักษณะปัญหาในทำนองเดียวกันดังกล่าวด้วย เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารสร้างปัญหาให้กับชาติบ้านเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นวิกฤต ฝ่ายทหารก็จะใช้เป็นข้ออ้างในการเข้าไปยึดอำนาจ ซึ่งก็แน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบถึงฝ่ายตุลาการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่แทบทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจ ฝ่ายบริหารมักจะถูกกล่าวหาว่า ทุจริต หรือประพฤติมิชอบเสมอ จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายตุลาการที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่า เป็นจริงหรือไม่ อย่างไร อย่างไรก็ตาม ในโลกของยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งค่านิยมของคำว่า “ประชาธิปไตย” ได้แผ่ขยายครอบคลุมไปทุกหย่อมหญ้า เมื่อทหารยึดอำนาจได้แล้ว จึงไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้ ท้ายที่สุดก็ต้องจำยอมมอบอำนาจคืนให้กับประชาชน แต่เมื่อประชาชนยังไม่พร้อมและยังมีปัญหาอยู่ ก็จะเลือกตัวแทนที่มีปัญหาอีกเช่นเดิม และสุดท้ายก็เข้าไปสร้างเงื่อนไขให้ฝ่ายทหารใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจอีก จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นวงจรอุบาทก์ของสังคมไทยเลยก็ว่าได้
    ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกสถาบัน ทุกองค์กร ในการที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา ร่วมมือร่วมใจกัน และก้าวเดินไปพร้อม ๆกัน ส่งเสริมสนับสนุน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และขณะเดียวกันก็ต้องคานดุลตรวจสอบซึ่งกันและกันไปด้วย สังคมไทยจึงจะอยู่ด้วยกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข และยั่งยืนตลอดไป

Leave a comment